หักแล้วหักอีก


เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักหนึ่งข้าง จากโรคกระดูกพรุน ( อายุ 70 ปี ) หลังทำผ่าตัดใส่ข้อเทียม ก็สามารถเดินได้เองโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน แต่ก็ไม่ได้เน้นเรื่องการป้องกันไม่ให้หักซ้ำ

                      

5 ปีต่อมา หกล้มหักอีกข้างหนึ่ง ดีที่กระดูกแขนไม่หักด้วย ผู้ป่วยได้รับการทำผ่าตัดใส่ข้อเทียมอีกข้างหนึ่ง แต่รอบนี้ต้องเดินใช้ walker ไปตลอดแล้ว ไม่สามารถเดินแองได้ ออกนอกบ้านต้องใช้รถเข็น เดินไกลไม่ไหวแล้ว ลุกจากเก้าอี้ก็ลำบาก วิถีชีวิตเปลี่ยนไปมาก ผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก แม้เพียงข้างเดียวส่วนใหญ่จะอยู่ไม่เกิน 10 ปี เห็นจะเป็นจริงตามนั้น

                      

การแพทย์ปัจจุบันพยายามหาวิธีเพิ่มคุณภาพชีวิตและอายุขัย ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก และป้องกันการหักซ้ำโดย

1. รักษาโรคกระดูกพรุน

2. ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงขึ้น

3. ฝึกการทรงตัวป้องกันการหกล้ม

4. รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงและวิตามินดีเพียงพอ

5. ผู้สูงอายุควรได้รับอาหารที่มีโปรตีนเพียงพอ 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน

   เช่นถ้าหนัก 60 กิโลกรัม ควรรับประทานโปรตีน 60 กรัมต่อวัน เป็นต้น

 

หวังว่าในอนาคตจะพบผู้สูงอายุมีกระดูกสะโพกหักน้อยลงไป

หมายเลขบันทึก: 565265เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2014 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2014 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผู้สูงอายุที่มีปัญหากระดูกหัก แม้รักษาแล้่วก็มักไม่ยอมเดิม เพราะขาดการฝึก และการออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สุดท้ายก็จบด้วยการนั่งนอนบนเตียง คุณภาพชีวิตหายไป เจอแล้วน่าเสียดาย

คนไทยอายุยืนขึ้น แต่คุณภาพชีวิตน่าจะแย่ลงนะ

คุณ Nui คะ อย่าเพิ่งถอดใจค่ะ เรามาช่วยกันทำให้คุณภาพชีวิตคนไทยดีขึ้นดีกว่านะ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท