ภัททิยา สุริวงค์ (สิทธิมนุษยชน)


ประเทศไทยแม้จะเป็นประเทศที่มีการให้การรับรองปริญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2491 แต่เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยตั้งแต่ช่วงเวลานั้นจนกระทั่งปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลามหาวิปโยคเหตุการณ์ 6 ตุลามหาโหดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬและอีกหลายๆเหตุการณ์ก็แสดงให้เห็นว่าแม้จะได้มีการรับรองสิทธิมนุษยชนในปริญญาสากลแล้วแต่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวในความคิดของข้าพเจ้าเรียกได้ว่ายังไม่ครบถ้วนไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริงกล่าวคือประชาชนในประเทศไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ใต้การปกครองหรือผู้ปกครองยังไม่มีความเข้าใจในคำว่า "สิทธิมนุษยชน" หรืออาจเข้าใจแต่ไม่พยายามที่จะรับรองสิทธิดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นนอกจากตนเองซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่เลวร้ายอย่างยิ่ง

 

     ด้วยสาเหตุนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นการรู้การเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจึงนับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากและยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าที่ผู้รู้และเข้าใจแล้วควรจะต้องตระหนักว่าสิทธิมนุษยชนนั้นมีความสำคัญเพียงใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่เราเป็นประชาชนในระบอบประชาธิปไตยทุกคนจำต้องให้ความสำคัญมีความเข้าใจและสามารถใช้สิทธิจากการรับรองสิทธิดังกล่าวนี้เพื่อปกป้องตนเองและเพื่อนร่วมประเทศได้

 

     ข้าพเจ้าในฐานะนักศึกษากฎหมายคนหนึ่งแม้จะมีความรู้ในเรื่องสิทธิมนุษยชนมาบ้างจากศึกษา "สิทธิมนุษยชนเบื้องต้น" ข้าพเจ้ารู้สึกว่าความรู้นั้นยังน้อยนิดและไม่เพียงพอให้สามารถนำไปต่อยอดและประกอบการศึกษาในวิชากฎหมายแขนงต่างๆที่ข้าพเจ้าสนใจได้สำหรับข้าพเจ้าข้าพเจ้ามองเห็นว่ากฎหมายไม่ว่าจะเเขนงหรือสาขาใดก็ตามเป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวพันธ์กับมนุษย์ในแทบทุกด้านดังคำกล่าวที่ว่า "ที่ใดมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย" หรือก็คือกฎหมายมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายมีความสำคัญในการมีอยู่ของสังคมและเมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์การทำความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพราะหากการศึกษากฎหมายไม่สามารถนำพามาซึ่งความเข้าใจในสิทธิของมนุษย์อย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ตลอดจนไม่สามารถนำพามาซึ่งการตระหนักรู้ถึงความสำคัญและการนำมาปฏิบัติใช้ข้าพเจ้าคงไม่อาจเป็นนักศึกษากฎหมายที่ประสบความสำเร็จได้การรู้แต่ตัวบทกฎหมายแต่ไม่รู้จักมนุษย์และสังคมหรือหากจะกล่าวง่ายๆคือการมีความรู้อยู่แค่ตัวอักษรที่ถูกบัญญัติไว้โดยมีคำเรียกว่าเป็นกฎหมายไม่ใช่การศึกษากฎหมายที่แท้จริง

 

     สุดท้ายนี้ในส่วนของการเมืองการปกครองในประเทศไทย 'สิทธิมนุษยชน' นับเป็นสิ่งที่สร้าง "ประชาธิปไตย" สิทธิมนุษยชนสำหรับข้าพเจ้าจึงเป็นเสมือนเสาหลักหนึ่งอันเป็นส่ิงที่ช่วยค้ำถ่อให้ระบอบการปกครองของเรานี้ดำรงอยู่ได้หากไม่มีรากฐานที่มั่นคงแล้วบ้านเมืองของเราคงไม่อาจยืนหยัดได้อย่างตระหง่านและแข็งแกร่งเป็นแน่ดังนั้นการจะศึกษากฎหมายในแขนงต่างๆและการจะเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเมืองการปกครองให้กับตนเองนั้นคำว่า 'เข้าใจ'สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงคือเหตุผลที่ข้าพเจ้าสนใจและต้องการเรียนรู้จากวิชา 'สิทธิมนุษยชน' นี้

หมายเลขบันทึก: 565065เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2014 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท