ออกกำลังกาย vs โรคมะเร็ง


 ภาพ- google

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันส่งเสริมการรักษาและฟื้นฟูจากโรคมะเร็ง 

ใช้แนวทางเดียวกับการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยทั่วไปซึ่งมีหลักการคือ คนทั่วไปทุกคนควรมีการออกแรงกายในระดับปานกลาง เช่น การเดินเร็วๆอย่างน้อยวันละ 30 นาทีหรือมากกว่าเกือบทุกวันต่อสัปดาห์ รวมถึงการฝึกยกน้ำหนักด้วย

ผู้ที่ออกกำลังเช่นนี้เป็นประจำอย่างน้อยวันละ 30 นาทีจะเป็นมะเร็งน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติถึงครึ่งต่อครึ่ง 

มะเร็งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับจิตใจร่างกายและจิตวิญญาณ ผู้ป่วยควรเรียนรู้ที่จะมีความรักและจิตวิญญาณแห่งการให้อภัย เรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและมีความสุขกับชีวิต

หมายเหตุ- ก่อนออกกำลังกายต้องวอร์มอัพอย่างช้าๆก่อนอย่างน้อย 15 นาที

          - ข้อมูลเหล่านี้มีงานวิจัยรองรับทั่วโลก ต่างกับของสสส.ที่แนะนำให้แกว่งแขนแทนซึ่งไม่มีงานวิจัยรับรอง จึงอาจไม่สามารถช่วยป้องกันส่งเสริมการรักษาและฟื้นฟูโรคมะเร็งได้จริง ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย 

ที่มาของข้อมูล- http://www.greenlifefitness.net/health-articles/178-2013-07-07-04-15-19.html

หมายเลขบันทึก: 565020เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2014 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมได้เคยติดต่อไปที่สสส.แล้วเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยในการที่แนะนำให้แกว่งแขนแทนการออกกำลังกายในระดับมาตรฐานคือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ (สสส.อ้างว่ากลัวว่าคนไทยจะทำไม่ถึง 150 นาที) เพราะนอกจากจะไม่มีงานวิจัยรับรองแล้วยังทำให้คนไทยที่หลงเชื่อแล้วปฏิบัติตามแต่ไม่ได้รับผลดีดังคำโฆษณาชวนเชื่อตามสื่อต่างๆของสสส. นั่นเท่ากับว่าพวกเขาเหล่านั้นสูญเสียโอกาสและเวลาที่เหลือที่จะป้องกัน-ฟื้นฟู-รักษาให้หายจากโรคเรื้อรังหรือมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ด้วย และนั่นเป็นความเสียหายที่ใหญ่หลวง

การเขียนของผมมีเจตนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลทุกด้านทั้งด้านบวกและด้านลบประกอบตามความคิดเห็น และหวังจะกระตุ้นให้คิดและค้นคว้า แทนที่จะเชื่อกันง่ายๆ แม้จะมาจากองค์กรที่น่าเชื่อถือก็ตามครับ

ขออนุญาตสรุปสั้นๆว่า หลักการออกกำลังกายที่มาตรฐานย่อมต้องมีงานวิจัยรองรับเสมอ ที่ได้กำหนดเอาไว้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์สำหรับบุคคลทั่วไปรวมทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง (โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนที่แตกต่างกันบ้าง-ผู้เขียน)ซึ่งสนับสนุนโดยเวบลิงค์ ดังต่อไปนี้-

1.http://www.who.int/dietphysicalactivity/factsheet_adults/en/

2.http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2992225/

3.http://acsm.org/about-acsm/media-room/news-releases/2011/08/01/acsm-issues-new-recommendations-on-quantity-and-quality-of-exercise

4.http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/PhysicalActivity/American-Heart-Association-Recommendations-for-Physical-Activity-in-Adults_UCM_307976_Article.jsp

5.http://www.endocrine-abstracts.org/ea/0011/ea0011p299.htm

6. http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/prevention/physicalactivity

ซึ่งไม่พบว่าการแกว่งแขนสามารถสร้างความแตกต่างได้มากพอทั้งในเรื่องของสัดส่วนของร่างกาย ไขมันสะสม การตอบสนองต่อน้ำตาลในร่างกาย และอื่นๆ ในขณะที่มีงานวิจัยเพียงชิ้นเดียวของม.จุฬาฯในไทยซึ่งสนับสนุนแต่ก็ไม่มีรายละเอียดในการวัดผลของการทำวิจัย ดังเวบลิงค์นี้-

http://www.spsc.chula.ac.th/web_older/main2007/journal/journal/13-1/8.pdf

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท