การรวบรวมและจัดเก็บและแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคลากรกรมการพัฒนาชุมชนทั่วทั้งองค์กร


 

จากการที่กรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเจ้าหน้าที่ทุกระดับทุกคน รวมทั้งแกนนำชุมชน(คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชน/ผู้นำ อช./ศอช.ฯลฯ)ได้ดำเนินการจัดการความรู้มาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบนับแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบันโดยมีวิธีการรวบรวม จัดเก็บความรู้ ดังนี้

  1. หน่วยงานในระดับสำนัก ศูนย์ กอง และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนทุกหน่วยมีการดำเนินการวางระบบการบริหารจัดการองค์ความรู้ โดยใช้ตัวแบบ KM PROCESS ตามกรอบการดำเนินงานของ กพร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และกำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาองค์กรของผู้บริหารระดับหน่วยทุกหน่วย
  2. สร้างการเรียนรู้การใช้เครื่องมือการจัดเก็บความรู้รายบุคคลของบุคลากรทุกคนทุกหน่วยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกความรู้รายบุคคล ปัจจุบันมีมากกว่า 3,000 เทคนิค(เรื่อง) เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์ของสถาบันการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนัก ศูนย์ กอง ต่างๆ และใช้เวทีเสมือนแลกเปลี่ยนบทเรียนที่ดีเหล่านั้นร่วมกัน คือ KM BLOG ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2554 ปัจจุบันมีสถิติผู้เข้าใช้งานและมาเรียนรู้แล้ว จำนวน 147,976 ครั้ง
  3. กำหนดภารกิจด้านการจัดการความรู้ให้เป็นพันธกิจหนึ่งในบทบาทของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศในการสนับสนุนจังหวัดทั้ง76 จังหวัดในพื้นที่บริการ จัดการความรู้เพื่อใช้ความรู้ในการพัฒนางาน
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการจัดการความรู้ในระดับชุมชน โดยมีคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแกนนำชุมชน มีพัฒนากรเป็นที่ปรึกษาในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ได้มีกิจกรรมตามแผนปฎิบัติราชการทุกปีในการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชนในการพัฒนาทักษะการเป็นนักจัดการความรู้ชุมชน ปัจจุบันมีศูนย์เรียนรู้ 904 แห่ง เป็นแหล่งในการจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้ของคนในชุมชน เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว กลุ่มองค์กรและชุมชน ปัจจุบันมีองค์ความรู้ชุมชน เผยแพร่ในศูนย์เรียนรู้ชุมชนทั่วประเทศ มากกว่า 10,000 เรื่อง
  5. กำหนดกิจกรรมการจัดการความรู้ให้เป็นหนึ่งในกระบวนงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยทุกกิจกรรมต้องดำเนินการถอดบทเรียน จัดการความรู้หลังการปฏิบัติเพื่อทบทวนและนำบทเรียนที่ดีหรือข้อพึงระวังมาพัฒนาและปรับปรุงงาน รวมทั้งจัดการความรู้เป็นกรณีศึกษาชุมชนต้นแบบ เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซด์ สื่อสารคดี และเอกสารสรุปบทเรียนและในงานเชิดชูเกียรติหรืองานแสดงผลสำเร็จของการพัฒนาชุมชน เช่น งาน CD DAY/OTOP CITY เป็นต้น
  6. ส่งเสริมการจัดการความรู้ในพื้นที่ในลักษณะภาคีเชิงบูรณการระหว่างหน่วยงานภายในจังหวัดทุกจังหวัดเพื่อร่วมกันหนุนเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP  ประกอบด้วย สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานต่างๆในการจัดการองค์ความรู้ด้าน OTOP ในรูปคณะกรรมการที่เรียกว่า เครือข่ายองค์ความรู้ KBO:KNOWLEDGE BASE OTOP
  7. จัดกิจกรรมประกวดหน่วยงานจัดการความรู้ดีเด่นและตลาดนัดความรู้ในวันที่ 24 กันยายน 2556

การนำความรู้ของบุคลากรและองค์ความรู้ชุมชนไปใช้ในการพัฒนางานทั่วทั้งองค์กร

  1. เจ้าหน้าที่
  • นำเทคนิคการปฏิบัติงานของบุคลากรที่จัดเก็บได้และจังหวัดคัดเลือกส่งให้กรมรวบรวมและเผยแพร่ในรูปแบบ KM DELIVERY  โดยออกแบบและคัดกรองเนื้อหาให้น่าสนใจและส่งผ่านระบบ OA ถึงบุคลากรทุกคนในองค์กร
  • รวบรวมความรู้และประสบการณ์เจ้าหน้าที่จากทั่วประเทศ จัดประชุมคณะทำงานกลั่นกรองความรู้ที่ได้มาตรฐานการเขียนตามเกณฑ์ที่คณะทำงานจัดการความรู้กรมฯกำหนด ได้ 45 เรื่องจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นคู่มือการปฎิบัติงานของคนหน้างานพัฒนาชุมชน 1,600 เล่มและเผยแพร่ผ่านเว็บไซด์ WWW.CDD.GO.TH พร้อมประสานผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและผู้นำชุมชนดาวโหลดเพื่อใช้งานและรายงานผลการใช้ประโยชน์ให้กรมทราบ
  • จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานจากฐานความรู้ให้บุคลากรนำไปใช้ในการทำงาน เช่น คู่มือวิทยากรกระบวนการในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ชุดคู่มือการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ฯเป็นต้น
  • จัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นหรือเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและจัดเก็บความรู้เพื่อเป็นความรู้ขององค์กรพร้อมนำเผยแพร่เรียนรู้ร่วมกันทั้งองค์กร
  • พัฒนาความรู้จากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่โดยสังเคราะห์เป็นกระบวนงานที่มีมาตรฐานงาน โดยกำหนดรูปแบบเช่นเดียวกับคู่มือการปฎิบัติงาน(หมวด 6)สำหรับนำไปประยุกต์ใช้
  • นำกระบวนงานที่ผ่านการสังเคราะห์ความรู้ส่งต่อให้หมวด 6 เป็นสารสนเทศในการปรับปรุงกระบวนงานสำคัญของกรม
  • ส่งเสริมการใช้ความรู้ในการพัฒนางานโดยจัดประกวดนวัตกรรมดีเด่นในการพัฒนางานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมฯ ทั่วทั้งองค์กร(ส่วนกลางและภูมิภาค)

 

  1. ผู้รับบริการในพื้นที่ชุมชน
  • ใช้กลไกการเผยแพร่ความรู้ชุมชนให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้ผ่านศูนย์เรียนรู้ชุมชนทั่วประเทศในรูปแบบสื่อ กิจกรรม การศึกษาดูงาน การสาธิต เป็นต้น
  • เผยแพร่และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผ่านการฝึกอบรม การจัดเวทีเรียนรู้ และการจัดการความรู้รายประเด็นที่เป็นนโยบายเร่งด่วน เช่น การจัดทำยุทธศาสตร์ OTOP การปรับปรุงกระบวนการแผนชุมชน การจัดทำคู่มือศูนย์เรียนรู้ งานเชิดชูเกียรติกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น หรืองานแสดงผลสำเร็จในแนวทางการนำเสนอ BEST PRACTICE เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้ชุมชนต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้และจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
  • จัดทำ WWW.หมู่บ้าน/ภูมิปัญญา/ OTOP เป็นช่องทางเผยแพร่เรียนรู้
  • ศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน(CD Excellence Center) เป็นคลังความรู้ที่สำคัญโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่องทางในการสื่อสารและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ได้แก่ KM  Delivery/TV พช./ระบบพี่เลี้ยง/TV CONFE./ E-Learning/KM Blog/เวที COP/จุลสาร/www./หลักสูตรฝึกอบรม/คู่มือการปฏิบัติงานต่างๆ เป็นต้น

ความโดดเด่นการจัดการความรู้กรมฯ

  • - มีระบบการขับเคลื่อน KM ที่ต่อเนื่องทุกระดับ ทุกหน่วย ทุกปี
  • - ความหลากหลายของการวางระบบ KM ของทุกหน่วยที่เป็นอิสระ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน
  • - มีการจัดกิจกรรม หรือเวทีนำเสนอผลความสำเร็จต่อสาธารณชนในลักษณะ Event และงานเชิดชูเกียรติอย่างสม่ำเสมอทุกปี
  • - มีองค์ความรู้ครอบคลุมทั้งของชุมชนและของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
  • - เป็นองค์ความรู้ฝังลึกของบุคคลที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนในเชิงพื้นที่

 

  1. ทิศทางและแนวโน้มการจัดการความรู้ในอนาคต

 

  • - พัฒนาระบบการจัดการความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกรมฯ
  • - สังเคราะห์องค์ความรู้ที่ผ่านมาให้เป็นองค์ความรู้ในเชิงสากล
  • - สร้างนวัตกรรมจากองค์ความรู้
  • - สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนางานในภาวการณ์เปลี่ยนแปลง
  • - สร้างและพัฒนานักจัดการความรู้รุ่นใหม่
  • - เสริมระบบ IT ให้ทันสมัย และรองรับงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 

คำสำคัญ (Tags): #km พช.
หมายเลขบันทึก: 564658เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2014 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2014 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท