deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

ลิลิตพระลอ


คำนำ

                                                o เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง                    อันใด พี่เอย

เสียงย่อมยอยศใคร                        ทั่วหล้า

สองเขือพี่หลับใหล                       ลืมตื่น ฤาพี่

สองพี่คิดเองอ้า   อย่าได้ถามเผือ

    o สิ่งนี้น้องแก้วอย่า                  โศกา ณ แม่

เผือจักขออาสา    จุ่งได้

ฉันใดราชจักมา  สมสู่ สองนา

จักสื่อสารถึงไท้หากรู้เปนกล

    o ความคิดผิดรีตได้                  ความอาย พี่เอย

หญิงสื่อชักชวนชาย                     สู่หย้าว

เจ็บเผือว่าแหนงตาย                      ดีกว่า ไส้นา

เผือหากรักท้าวท้าว                        ไป่รู้จักเผือ

    o ไป่ห่อนเหลือคิดข้า             คิดผิด แม่นา

คิดสิ่งเปนกลชิด       ชอบแท้

มดหมอแห่งใดสิทธิ์                      จักสู่ ธแม่

 

 


 

 

 

ตำนานลิลิตพระลอ

ความในลิลิตพระลอเป็นเรื่องซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง ๒ เมือง คือเมืองสรวง กับเมืองสรองที่มีดินแดนใกล้ชิดติดกันเป็นดังเมืองพี่เมืองน้อง ท้าวเมืองแมนสรวงผู้ครองเมืองสรวง  เกิดความมกระหายอำนาจ ทำให้ท้าวแมนสรวงรุกรานเมืองสรอง ก่อสงครามหวังเอาเมืองสรองเป็นเมืองขึ้น การสงครามเป็นผลทำให้ “ท้าวพิมพิสาคร” แห่งเมืองสรอง เสียชีวิตบนหลังช้าง  “ท้าวพิชัยพิษณุกร” ผู้เป็นบุตร กันพระศพของพระบิดาเข้าเมืองและรักษาเมืองไว้ได้ การรุกรานเมืองสรองครั้งนี้ แม้ไม่สำเร็จ แต่ก็ทำให้เจ้าเมืองสรองก็ "ขาดคอช้าง" เป็นเหตุให้สองเมืองมีความบาดหมาง แค้นเคืองต่อกัน

เมืองสรวงมีเจ้าครองชื่อว่า “ท้าวแมนสรวง” ซึ่งชายามีนามว่า “พระนางบุญเหลือ”  ทั้งคู่มีพระโอรสพระองค์หนึ่งรูปงามมากนามว่า “พระลอ”  ส่วนเมืองสรองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสรวง  มีเจ้าเมืองชื่อ “ท้าวพิมพิสาคร”  มีโอรสชื่อ “ท้าวพิชัยพิษณุกร”  อภิเษกกับ “พระนางดาราวดี” ภายหลังท้าวพิชัยพิษณุกรได้ธิดา ๒ พระองค์  คือ “พระเพื่อน”  กับ “พระแพง” ซึ่งปฐมเหตุแห่งรักครั้งนี้เกิดจากกิตติศัพท์ความงามของพระลอร่ำลือไปถึงเมืองสรอง กำเนิดเกิดเป็นตำนานเหตุความรักอมตะที่สะเทือนอารมณ์............

 

ปฐมเหตุแห่งรักสู่เวียงแห่งความรักอมตะ

“กล่าวถึงขุนผู้ห้าว นามท่านท้าวแมนสรวงเป็นพระยาหลวงผ่านเผ้า เจ้าเมืองสรวงมีศักดิ์ธมีอัครเทพีพิลาส ชื่อนางนาฎบุญเหลือล้วนเครือท้าวเครือพญาสาวโสภาพระสนม ถ้วนทุกกรมกำนัล มนตรีคัลคับคั่ง ช้างม้ามั่งมหิมาโยธาเดียรดาษหล้าหมู่ทกล้าทหาร เฝ้าภูบาลนองเนือง เมืองออกมากมียศ ท้าวธมีโอรสราชโปดกชื่อพระลอดิลกล่มฟ้าทิศตะวันตกหล้า แหล่งไล้สีมา ท่านนา”

“มีพระยาหนึ่งใหญ่ ธไสร้ทรงนามกรพิมพิสาครราชพระบาทเจ้าเมืองสรองสมบัติสองราชามีมหิมาเสมอกันทิศตะวันออกไท้ท้าว อะคร้าวครอบครองยศ ท้าวธมีเอารสราชฦๅไกร ชื่อท้าวพิชัยพิษณุกรครั้นลูกภูธรธใหญ่ไซร้ ธก็ให้ไปกล่าวไปถาม นางนามท้าวนามพญา ชื่อเจ้าดาราวดีนางมีศรีโสภา เป็นนางพญาแก่ลูกไท้ ลูกท้าวธได้เมียรัก ลำนักเนตรเสนหาอยู่นานมามีบุตร สุดสวาทกษัตริย์สององค์ ทรงโฉมจันทร์งามเงื่อน ชื่อท้าวเพื่อนท้าวแพงจักแถลงโฉมเลิศล้วน งามถี่พิศงามถ้วน  แห่งต้องติดใจ บารนี”

                         เมืองสรวงมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “พระลอ” พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย ถัดไปทางด้านทิศตะวันตก ยังมีเมืองอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร ซึ่งมีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนามว่า พระเพื่อน พระองค์น้องพระนามว่า พระแพง

กล่าวถึงพระเพื่อนพระแพงหลังจากได้ยินกิตติศัพท์ที่ร่ำลือรูปโฉมพระลอก็ต้องพระทัยในพระลอ เกิดจิตโหยหาจนได้ไข้ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยได้เห็น แต่ด้วยความเป็นหญิงจึงมิอาจเอ่ยปากแพร่งพรายเอิกเกริกพระพี่เลี้ยงทั้งสอง คือนางรื่นและนางโรยจึงวางอุบายโดยจะใช้คนไปขับซอชมโฉมสรรเสริญความงามอันพิลาศล้ำของพระเพื่อนพระแพงให้ยินถึงหูพระลอ  แล้วจึงหาผู้มีอาคม ใช้เวทมนต์ ทำเสน่ห์เรียกพระลอมาสู่สรอง"..ให้ลอบลองท้าวแล้อยู่ได้ฉันใด”  

เมื่อนางรื่นนางโรยได้ทราบข่าวจากช่างซอของตนแล้ว ก็คิดอุบายจะให้พระลอมายังเมืองสรอง จึงคิดจะให้หา

แม่มดหมอผีทำเสน่ห์ ครั้งแรกสองพี่เลี้ยงไปหายายมดผู้มีความรู้เชิงเวทมนต์ให้ทำกลเสน่ห์ แต่ยายมดปฏิเสธว่าบารมีน้อยไม่อาจเอาชนะพระลอซึ่งเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน มีพระบารมีสูงกว่าได้ จึงแนะนำให้ไปหาปู่หมอเฒ่าสิทธิศักดิ์ แต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยงด้วยเหตุผลเดียวกัน และแนะนำว่ามีหมอผู้หนึ่งมีฤทธิ์ยิ่งกว่าใครในใต้หล้า คือปู่เจ้าสมิงพราย        

จากนั้นพระเพื่อนพระแพงบอกความในใจเป็นปริศนาให้สองพี่เลี้ยงทราบเล่ห์กล สองพี่เลี้ยงตีความออกแล้วไปหลอกเจ้าย่าและพระบิดาพระมารดาว่า พระเพื่อนพระแพงเป็นไข้ขวัญหนีเข้าป่าเขา จำต้องตามเข้าไปรับขวัญกลับสู่เกล้าโดยเร็ว

                ได้เบิกช้างต้น ไปรับพ่อปู่หมอใหญ่ออกเดินทางขึ้นเขาเพื่อให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยเหลือ

(เพลงซอ)

สองปี้เลี้ยง(ทำนองซอพระลอ)

สองปี้เลี้ยง  แม่งามสวย  นางรื่นนางโรย  สองคู่สร้าง  ลงจากจ๊าง  ท่องเดินเตียว  หมอแก่คร้าว  นำสองเฉลียว  สามเดินเตียว  เข้าดงป่าไม้   เหลียวผ่อเหนือ  วันต๊กออกใต้  หันเป๋นต้งเป๋นนา  ผ่อภูเขา  เป๋นเงาเมฆฝ้า  ใจ๋มัวมืดคุ้มสว่าง

แลละลิ่ว  ไปสุดเจ่นต๋า  ฝ่าดอยดง  เข้าปงป่าไม้  ตะเคียนสูง  ยางยูงไม้ไล่  เปาดู่แงะ  ขยอมยม  เครือเถาหวัน  เกี่ยวพันเกลี๋ยวกล๋ม  พระพายพรม  พัดดวงดอกไม้  กลิ่นหอมหวน  จื่นจวนใจ๋ใบ้  ยามเมื่อท่องเดินตาง  หอมบุปผาเบ่งบานสวยสร้าง  สองนางจื่น  แต้เนอ

เดินป่าไม้ไปบ่เถิง  เถิงเนินเขา  แลดูสล้าง  แลลิงค่าง  บ่างนางนี  ได้ยินเสียงผี   ฮ้องครางคะข้อย  ผีโพงดง  เสียงโขงบ่หน้อย  ผีอี่ค้อย  ส่งเสียงคราง  เสือโคร่งพุ้ย  ก็ถ่อมตวยหลัง  แฮดควายกว๋าง  กะทิงละโหว้    เสียงจ๊างโขลง  มาฮ้องโอ่มโอ้  หักไม้อยู่  ฮิมตาง  สองปี้นาง  ฮ้องบ่เป๋นไห้  กลั๋วต๋ายในป่าไม้ใหญ่

ไปเถิงน้ำสระหนอง  สองฝั่งคลอง  มีจรเข้  ตั๋วยาวเหล้  อยู่สองฝั่งน้ำ  เลือกเอาคน  วิ่งโยนปลุกปล้ำ  ลอยกลางน้ำ  ต๋าเหลือกโมงโมง  ผีอี่กุ๊ด  ฮ้องอยู่โว้งโว้ง  เต๋มดงพงอี่ค้อยเนอ

งูเห่าปิ๊ด  ก็แล่นมาหา  ผ่านบาทา  สองปี้เอื้อย  เลาะเลี้ยวเลื้อย  ผ่านไปมา  เสือสิงห์สา  ก็ท่าวก ผงกหัว  เยียะเหมือนจะสู้  เหมือนจะไล่  เลยไป  สองคิงฟอง  ฮ้องบ่เป๋นไห้  หัวอ๊กจะแตกม้างเกิ่ง...........

 

ระหว่างที่ทั้งสองพี่เลี้ยงเดินทางไปหาปู่เจ้าฯ  นั้นต่างก็มีความหวาดกลัวอยู่ไม่น้อย เพราะสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ในถ้ำเขาปู่นั้นวังเวงน่ากลัวมาก  เมื่อได้พบปู่เจ้าสมิงพรายแล้ว   ท่านก็เล็งญาณดูจึงรู้ว่าพระลอกับพระเพื่อนพระแพงได้สั่งสมบุญกรรมมาแต่ชาติปางก่อน  ต้องมาชดใช้กันในชาตินี้ด้วยกันอย่างแน่นอน

“ปู่ไป่ผายตอบถ้อย อยู่น่อยหนึ่งบมินาน ปู่ก็ธิญาณเล็งดู กูจะช่วยควรฤๅมิควร รู้ทั้งมวลทุกอัน ด้วยผลกรรม์เขาแต่ก่อน ทำหย่อนหย่อนตึงตึง ส่วนจะถึงบมิหยุด เถ้าว่าจะพลัดสุดพลันม้วย ด้วยผลกรรมเขาเอง แต่เพรงเขาทั้งสอง ทำบุญปองจะไจ้ ขอได้พึ่งบุญตู ปู่ดูเสร็จจึ่งว่า สองนางอย่ากล่าวอ้าง ถึงสินจ้างสินบน ตนกูจักไปสู่ ถึงที่อยู่สองเจ้า เขือเข้าไปก่อนกล่าว ข่าวดั่งนี้ให้ฟัง กูจะไปภายหลังบช้า ผิมิวันนี้อ้า พรุ่งนี้กูถึง”

ร่าย
    o มินานนางโรยนางรื่น ไหว้ปู่ชื่นชมลา กับหมอมาขึ้นช้าง เลียบเดินข้างตีนเขา คืนไต่เต้าตามทาง เหลียวหลังพลางจะไจ้ ชมไม้ไหล้สะอาด เหมือนปราสาทพิศาล คือพิมานมนเทียร อาเกียรณ์แกมดอกแดง แสงดุจปัทมราค ภาคใบเขียวสรด คือมรกตรุ่งเรือง ดอกเหลืองเพียงทองสุก ขาวดุจมุกดาดาษ โอภาสพรรณพิจิตร พิพิธภูมิลำเนา งามเอาใจใช่น้อย คล้อยลงถึงดินต่ำ เลงสบส่ำพฤกษา งามพอตาตาดู เพราะพอหูหูฟัง นกประนังกันร้อง เพราะไพรก้องป่าก้อง เพรียกพื้นพงพี
ร่าย
    o เสียงโนรีสาริกา สัตวาฝูงดุเหว่า แขกเต้าเคล้าคลิ้งโคลง นกเอี้ยงโองคู่เคียง เสียงแซ้งแซวภูรโดก โคกม้าม่ายนางนวล กะสาสรวลกระสันต์ กางเขนขันแผ่แพน แอ่นอกจอกจิบกด ขุนยูงชดขนฟ้อน กระหย้อนหางฟฟาย นางยูงรายรอบเฝ้า ทรายทองเคล้าคู่เคียง ระมั่งเมียงม่ายคู่ เกลื่อนกล่นอยู่คคล่ำ บรู้กี่ส่ำกี่สาร เห็นตระการสรนุก จริวจราวซุกจรจรัล บรู้กี่พรรค์ปูปลา นกหกดาดาษอยู่ หงษ์เหิรสู่สระสรง เป็ดน้ำลงลอยล่อง ทุงทองท่องจรจรัล จากพรากพรรค์ฟุบฟอง คับแคครองคู่หว้าย ดอกบัวผ้ายจับบัว ภมรมัวเมาซราบ อาบลอองเกสร สลอนบุษบาบาน ตระการดอกบัวแดง แฝงบัวขาวคลี่คล้อย สร้อยสัตบรรณบงกช รรวยรสกลิ่นจงกล นิโลตบลโกมุท อุบลบุษบัวเผื่อนฉลับ ป่ากลัวกลับกลายสรนุก สำราญสุขเปรมปรีดิ์ ช้างเร็วรี่ผาดผัง ถึงวังใกล้ปราสาท รับขวัญราชบิดา ขวัญสองมาสมสู่ อยู่กับองค์อ่อนไท้ ไฟแดดอย่ารู้ไหม้ ไข้อย่ารู้ถึง แม่เลย ฯ

ร่าย
    o ส่วนธิดาทั้งสอง ตั้งเตียงทองราชอาสน์ พิดานดาดดัดบนเทียบขนนเขนยตระสักม่านปักแพร้วแพรพรรณ สรรพของหอมหาได้ สรรพดอกไม้หาถ้วนล้วนแก้วต่างข้าวตอกช่อดอกไม้เงินทอง ตระการแกล้มเหล้าเข้า  แต่งไว้รับปู่เจ้าว่าแต่งไว้รับขวัญ




 

“ ขึ้นช้างไปผะผ้าย มาคะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่ หมอเถ้าอยู่แลเห็น แสร้งแปรเปนโฉมมลาก เปนบ่าวภาคบ่าวงาม สองถึงถามหาปู่ ปู่หัวอยู่ยะแย้ม ค่อยว่าสองแสล้ม มาแต่ด้าว แดนใด ฯ”

 

ปู่เจ้าสมิงพรายเหินหาวมาสู่ตำหนักพระเพื่อนพระแพงพลันที่พี่เลี้ยงมาถึง  ปู่เจ้าฯรับปากช่วยแต่กำหนดเวลาที่ พระลอจะมานั้นไม่ได้เนื่องด้วยว่าข้างกระโน้นก็เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินที่ไหนจะไร้บุญญาบารมีแลผู้ทรงฤทธีคอยปกป้อง ปู่เจ้าสมิงพรายก็ได้ทำการเรียกพระลอ  หนแรกปู่เจ้าสมิงพรายทำยันต์เสน่ห์แลใช้กังหันลมติดยอดยางเจ็ดอ้อมกำกับพระลอฝันเห็นพระเพื่อนพระแพง ร่ำร้องจะไปหาแต่ทางเมืองสรวงก็แก้มนต์หนแรกนี้ได้ หนที่ ๒ ใช้ธงสามชายปักปลายตะเคียนเก้าคนโอบส่งยาสั่ง  ทางเมืองสรวงได้ปู่หมอสิทธิชัยช่วยแก้ไข กับทั้งทำการป้องกันไว้ครันครบ   "... บั้นในไว้อารักษ์ กลางไว้ยักษ์บริบาล ทวารนอกไวปีศาจอากาศไว้ภูตคณา..."

ปู่เจ้าฯ รู้ว่าข้างสรวงมีผู้ทรงอาคมแก่กล้าเทียมกันมาช่วยตัดสินใจลงมือสู้ให้เต็มที่  หนที่สามเจ้าสมิงพรายใช้ไม้ตายเรียกพระลอปู่เจ้าสมิงพรายระดมพลสาระพัดผีสั่งให้ไปทะลวงเกราะป้องกันเมืองสรวงที่ปู่หมอสิทธิชัยสร้างไว้การรบพุ่งของผีของปู่เจ้ากับอารักษเทวา ภูติผีแห่งเมืองสรวง  ผีข้างเมืองสรวงพ่ายหนี ปู่เจ้าฯ เจ้าจึงใช้ "สลาเหิน"ลอยขึ้นฟ้าแล้วไปตกลงบนในพานหมากของพระลอ  ครั้นพระลอเสวยหมากมนต์ก็เกิดอาการต้องมนต์ จนปู่หมอสิทธิชัยไม่อาจแก้ไขได้

พระลอคลั่งครวญคร่ำร่ำสู่เมืองสรอง  อ้างปดพระมารดาเพื่อขอไปเที่ยวป่าแต่พระมารดารู้ทันก็ไม่ให้ไป        พระลอก็ได้แต่ทุกข์ถึงคลั่งเพ้อ  เหล่าอำมาตย์มนตรีแนะให้แต่งสารไปสู่ขอพระเพื่อนพระแพงแต่พระลอดึงดื้อจักไปเองรเมื่อพระมารดาไม่สามารถที่จะดึงรั้งพ พระลอได้ จึงได้แต่ครวญคร่ำ พร่ำสอน อวยพรชัย  

โคลง๔

    o จำใจจำจากเจ้า                             จำจร

จำนิราศแรมสมร                                 แม่ร้าง

เพราะเพื่อจักไป รอน                           อริราช แลแม่

จำทุกข์จำเทวศว้าง                               สวาดิว้าหวั่นถวิล ฯ

    o สิ่งใดในโลกล้วน                                       อนิจจัง

คงแต่บาปบุญยัง                                               เที่ยงแท้

คือเงาติดตัวตรัง                                               ตรึงแน่น อยู่นา

ตามแต่บุญบาปแล้                                            ก่อเกื้อรักษา ฯ

    o จากนุชเรียมขุ่นไข้                                     อารมณ์ เรียมนา

จากที่สมไปสม                                                เกลือกแคล้ว

ผิจักอยู่อกกรม                                                 เกรียมสวาท นาแม่

จำพี่จำจากแก้ว                                                ไป่ช้าคืนสม ฯ

    o พระไปแม้พระได้                                     สมสอง

ไหนจะคืนคงครอง                                           ครอบเกล้า

อย่าคิดอย่าจงปอง                                            สองปล่อย มาฤๅ

สองจักลองโลมเล้า                                           อยู่ว้าวังขัง ฯ

    o จำจากใช่จากด้วย                                      ชังสมร แม่นา

จากแม่รักฤๅรอญ                                             ขาดได้

เด็จบัวแม่เด็จอร                                               ยังเยื่อ ใยนา

ไปบ่ลืมน้องไท้                                                อย่าร้อนรนทรวง ฯ

    o สุดทานสุดทัดท้าว                                     สุดบุญ

ทรงโศกพักตรซบซุน                                        ร่ำไห้

เหนือบาทยุคลขุน                                             ครวญคร่ำ ไปนา

สยายเกศเช็ดบาทไท้                                        ธิราชไว้เปนเฉลิม ฯ

    o เห็นโศกเพิ่มโศกท้าว                                 กลอยนาง

พลางพระโลมนุชพลาง                                     ปลอบน้อง

อย่าโศกจะเปนลาง                                           ในพฤกษ์ ไพรนา

ดับทุกข์ดับเทวษข้อง                                         ขุ่นแค้นเสียโฉม ฯ

    o เสร็จโลมเสร็จสั่งเจ้า                                 จอมสนม

สนมอยู่อย่าเกรียมกรม                                     อกไหม้

ปวงนางรับคำคม                                             บัวบาท ท่านนา

ซบสอึกสอื้นไห้                                               แซร่ซร้องแรงโรย ฯ

    o เสียงโหยเสียงไห้มี่                                   เรือนหลวง

ขุนหมื่นมนตรีปวง                                           ป่วยซ้ำ

เรือนราษฎร์ร่ำตีทรวง                                      ทุกข์ทั่ว กันนา

เมืองจะเย็นเปนน้ำ                                           ย่อมน้ำตาครวญ ฯ

    o เห็นไห้ทุกหมู่ถ้วน                                    หญิงชาย

ใจสั่นรันทดกาย                                               ท่านไท้

สูเอยอย่ากรรหาย                                            เหิมโศก นักนา

ทุกข์นักมักเกิดไข้                                             มักไข้พลันตาย ฯ

 

                เมืองสรวง จึงได้จัดแต่กองทัพ เพื่อส่งเสด็จพระลอสู่เมืองสรอง

ร่าย
                o ธงหน้าเดินนำพล ธงโบกบนสัญญา เคลื่อนพลดาโดยด่วน ถ้วนทุกหมู่ทุกหมวด ขุนตำรวจสารวัด จัดแจงเดินคู่เคียง ม้าเดินเรียงเดินราย ขยายระยะโดยควร นายถือทวนหมายมาด ภู่แดงดาษปลิวปลาย สพายแล่งศรมหิมา เครื่องอาชายรรยง งามบรรจงเพริศแพร้ว ล้วนแก้วก่องแกมมาศ อัศวชาติสินธพ แลเลิศลบเผ่นผยอง ลองเชิงร้องเครงครื้น สู้ศึกยืนบ่มิพ่าย นายขี่ขับเข้มแขง ล้วนตำแหน่งยศเจ้าหล้า ขุนม้าหมื่นม้าครัน พันม้านายม้ามาก พิศโสภาคย์โสภา มากดาษดาแต่งแง่ แผ่ตนตามเจ้าหล้า แห่ไปหน้าก็มาก แห่หลังหลากเหลือหลาย แห่ฝ่ายซ้ายดาษดา แห่ฝ่ายขวาดาษเดียร พิศเพียนพร้อมงามสรรพ คณนานับบมิถ้วน ล้วนม้าลักษณ์ม้าเลิศ เฉกโฉมเฉิดแหล่งหล้า พิศยิ่งงามถ้วนหน้า ยิ่งม้าเมืองบน
ร่าย
    o แลพวกพลยรรยง ธงนำพลยยับ ดับกองร้อยกองพัน แห่กองกันกองแล่น แห่แหนแน่นขุนหมื่น ดูระรื่นมหิมา คณนาไปสล้าง พวกพลด้างพลดาบ พลกำซาบธนู ดูพลหอกพลห้าว ดูพลง้าวพลงาม พลเขนตามเสโลห์ โตมรสลอนปืนไฟ ย่อมพลไกรโอ่อ่า งามสง่าพรรณราย ไพร่เดิรนายเดิรดับ สำรับถ้วนขุนหาญ ขี่สารสูงแกล้วกล้า ดาบหน้าสลาบครุฑควร เดิรโดยขบวนแหนแห่ นายแวงแหล่เหลือหลาย นายแวงซ้ายแวงขวา นายแวงหน้าแวงหลัง แวงจัตุลังคบาท รักษาราชนฤบดี นายแวงสี่ตีนช้าง ข้างพระคชกรรกง แวงองครักษ์ตำรวจ กวดขันแหนแห่ห้อม ล้อมพระคชสำหรับ ขับทวิรถรัตนาสน์ พลหน้าดาษดูยง อลงกตกุญชร บวรวิภูษา เครื่องราชาธิราช งามถึงขนาดเพริศพร้อม งามเครื่องงามพลห้อม เสด็จไท้พระบาท ท่านนา ฯ

 

               

ระหว่างที่พระลอเดินทางสู่เวียงสรองนั้นได้ชื่นชมความสวยงามและรื่นรมย์ของป่า และชมนกชมไม้ในป่าแสดงถึงความรอบรู้ในพรรณพฤกษาแลคณาสัตว์ความเชี่ยวชาญอักษรศิลป์อย่างยิ่งของผู้ทรงนิพนธ์มีการเปรียบเปรยแลเล่นคำอย่างวิจิตร สละสลวย

ร่าย
    o คลี่ไคลพลผาดผ้าย แลนา คลับคล้ายถึงทุ่งนา แลนาคลับคลาถึงทุ่งหญ้า แลนา หัวหน้าเข้าพงเลา แลนา พลเทาถึงพงแฝก แลนาพงแขมแทรกคาพงแลนา ถึงป่าดงป่าแดง แลนา เห็นระแหงแหล่งไหล้ แลนา เห็นหมู่ไม้หนั่นหนาแลนา ราชาชมชื่นชี้ แลนา คือไม้หมู่นี้นี้ ชื่อโอ้นามใด แลนา ฯ
โคลง ๒

    o พลจรใจจำหมั้น                            ทูลชื่อไม้นั้นนั้น

แด่ไท้ทุกอัน ฯ                                      

    o ครั้นธรู้ตระหนักแล้ว                       ลอราชชมไม้แก้ว

เหมือนดั่งแก้วกลอยใจ                            พี่นา ฯ


โคลง ๔

    o แอ่นเคล้าเหมือนแม่เคล้า                  คลอคลึง พี่นา

หอมกลิ่นเรียมคิดถึง                               กลิ่นเจ้า

สุกกรมพยอมพึง                                   ใจพี่ พระเอย

เหมือนกลิ่นอรหนุ่มเหน้า                          พี่ต้องติดใจ บารนีฯ

    o นางแย้มเหมือนแม่แย้ม                    ยินดี ร่อนา

ต้องดุจมือเทพี                                     พี่ต้อง

ช้องนางคลี่เกศี                                    นุชคลี่ ลงฤๅ

รักดุจเรียมรักน้อง                                  ร่วมรู้รักเรียม ฯ

    o ยมโดยประดุจเจ้า                          จงโดย

ใบโบกคือนุชโชย                                   เรียกข้า

เรียมเห็นเกดเรียมโหย                             หาเกศ นุชแม่

วัลย์โอบเอวไม้อ้า                                  อ่อนอ้อมเอวเรียม ฯ

    o เล็บมือนางนี้ดั่ง                            เล็บนาง เรียมนา

ชมม่านนางหวังต่าง                              ม่านน้อง

ชมพูสไบบาง                                      นุชคลี่ ลงฤๅ

งามป่านี้ไม้ปล้อง                                  แปลกปล้องคอศรี ฯ


ร่าย
    o พระลอเสด็จลีลา ชมพฤกษาหลายหลาก สองปลากข้างแถวทางยางจับยางชมฝูง ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสาสู่กระสังรังเรียงรังรังนาน ไก่คราญไต่หงอนไก่ ไผ่จับไผ่คู่คลอ ตอดตอจับไม้ตอดตับคาลอดพงคาคล้าคลาจงจับคล้า หว้าจับหว้าลอดแล คับแคจับแคป่า ดอกบัวล่าชมบัวกระเวนวังนัวกระเวนดงช่างทองลงจับทองยั้ว แขกเต้าตั้วเต้าแขก ไต่ไม้แมกไปมา บ่รู้กี่คณาชมผู้ขมพิหคเหิรรู้ เรียกร้องหากัน ฯ

 

โคลง ๔

    o กาจับกาฝากต้น                            ตุมกา

กาลอดกาลากา                                   ร่อนร้อง

เพกาหมู่กามา                                     จับอยู่

กาม่ายมัดกาซร้อง                                กิ่งก้านกาหลง

    o ตาเสือเสือผาดผ้าย                        หนีทาง

กวางแนบหูกวางฟาน                             ฟิดเร้น

ช้างน้าวหมู่บงทราง                               ซอนอยู่

ช้างลอดอ้อยช้างเหล้น                            ป่าลี้ลับดง

    o ลางลิงลิงลอดไม้                           ลางลิง

แลลูกลิงลงชิง                                     ลูกไม้

ลิงลมไล่ลมติง                                    ลิงโลด หนีนา

แลลูกลิงลางไหล้                                  ลอดเลี้ยวลางลิง


ร่าย
    o หวดเหียงหาดแหนหัน จันทน์จวงจันทน์แจงจิก ปริงปรงปริกปรูปรางคุยแคคางค้อเค็ด หมู่ไม้เพล็ดไม้พลอง หมู่ไม้ฟองไม้ไฟ ไม้ไผ่ไพไม้โพไม้ตะโกตะกูไม้ลำภูลำแพง หมู่ไม้แดงไม้ดัน ไม้สมพันสารภี ไม้นนทรีทรบูนคูนกำกูนกำยานไม้พิมานขล้อขลาย ไม้กำจายกจับบก ไม้กทกรกสักสน คณนามีหมู่ไม้กล่าวแต่พอจำได้กว่านั้นยังเหลือ แลนา

โคลง ๒

    o ไม้เครือไม้กุ่มก้อม                          ค้อมเกี้ยวกลลำย้อม

ยอดม้วนใบงาม                                   บารนี

    o ดอกดวงซามช่อช้อย                        หอมตลบอบสร้อย

เร่งน้อยใจถึง                                       แม่ฮา

    o คำนึงหลังห่วงหน้า                         ใจพี่เพี้ยงเปนบ้า

เพื่อร้างแรมสมร                                   มาแล

ถึงเขตแดนเมืองสรองให้ทัพหลวงกลับคงเหลือผู้ติดตาม ๑๐๐ คน กับพี่เลี้ยงทั้งสองปลอมตัวเป็นขุนด่าน

เมืองสรองมาตรวจด่าน เข้าสู่เมืองสรองโดยราบรื่น  เมื่อข้ามแม่กาหลงแล้วลงสรงพระลอบังเกิดจิตคิดถึงพระมารดาขึ้นมาอย่างประหลาด "บาปสิ่งใดจำให้ลูกร้อนใจถึง"   อีกทั้งละล้าละลังหวั่นไหว จะไปต่อหรือคืนหลังดี 

    (เพลง) ลาวครวญ
   "
โอ้พระชนนีศรีแมนสรวงจะโศกทรวงเสียวรู้สึกระลึกถึง
ไหนทุกข์ถึงบิตุรงค์ทรงรำพึง ไหนโศกซึ้งถึงตูคู่หทัย
ร้อยชู้หรือจะสู้เนื้อเมียตน เมียร้อยคนหรือจะสู้พระแม่ได้
พระแม่อยู่เยือกเย็น ไม่เห็นใคร หรือกลับไปสู่นครก่อนจะดี
พี่เลี้ยงตรองพลางสนองพระดำรัส เห็นชอบชัดเชิญคืนบุรีศรี
เฉลิมกรุงบำรุงประชาชี ใหัเป็นที่เกษมสุขสืบไป
โอ้บพิธ ยิ่งคิดยิ่งขัดข้อน ครั้นจะจรก็ห่วงนครใหญ่
ครั้นจะคืนก็เกรงคนไยไพ ว่าท่านไท้คร้านขลาด ประดาษชาย
นายแก้วนายขวัญพลันเสนอ ใครจะเพ้อครหาว่าเสียหาย
หรือไปหน่อยจึ่งค่อยเอื้อนอุบาย หมดฉินยินร้ายทุกทาง
มา กูจะเสี่ยงน้ำลองดู ผิว่ากูรอดฤทธิ์ผีสาง
น้ำใสจงไหลควะควั่งคว้าง กูอับปาง น้ำเฉนียนจงเวียนวน" 

ร่าย
    o ถึงแม่น้ำกาหลง ปลงช้างชิดติดฝั่ง นั่งสำราญรี่กันแล้วธให้ฟันไม้ทำห่วงพ่วงเปนแพสรรพเสร็จ ธก็เสด็จข้าม แม่น้ำแล้วไส้ ให้แผ้วที่ประทับดุจสำหรับขุนด่านแล้วท่านเสด็จสรง สีเผ้าผงชำระ สระพระเกศเสร็จแล้ว ใจราชคิดแคล้วแคล้วถึงท่านไท้มารดา ท่านนา ฯ

โคลง ๒

    o คิดปรานีออกไท้                            รอยราชละห้อยไห้

ถึงลูกแล้ณหัว                                     ลูกเอย

โคลง ๔  

    o เจ็บรักเจ็บจากช้ำ                           เจ็บเยียว ยากนา

เจ็บใคร่คืนหล้งเหลียว                             สู่หย้าว

เจ็บเพราะลูกมาเดียว                              แดนท่าน

เจ็บเร่งเจ็บองค์ท้าว                                ธิราชร้อนใจถึง ลูกฤๅ

    o เจ็บถึงบิตุราชแล้ว                          ถึงกู เล่านา

เจ็บอยู่คนเดียวดู                                   ละห้อย

เจ็บเยียวราชศัตรู                                  ดูหมิ่น แคลนนา

เจ็บเร่งเจ็บค้อยค้อย                                ชอบม้วยเมือมรณ์

    o ร้อยชู้ฤๅเท่าเนื้อ                             เมียตน

เมียแล่พันฤๅดล                                   แม่ได้

ทรงครรภ์คลอดเปนคน                            ฤๅง่าย เลยนา

เลี้ยงยากนักท้าวไท้                                ธิราชผู้มีคุณ

    o อย่าไปพหน้าจัก                             คืนเมือ ฤๅพี่

หาสมเด็จบุญเหลือ                                เลิศไท้

จรทกจรเทอญเขือ                                  วานช่วย ริรา

บาปสิ่งใดจำให้                                    ลูกร้อนใจถึง ฯ

 

 

 

 

พระลอให้นายแก้วนายขวัญสืบเสาะแลตีสนิทติดสินบน จนรู้ตำแหน่งแหล่งที่ถึงอุทยานพระเพื่อนพระแพงแล้วจัดแบ่งผู้ติดตาม
               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ฝ่ายนางรื่นนางโรยร้อนใจเรื่องพระลอ จึงไปเตือนปู่เจ้าฯ ปู่เจ้าฯจึงบอกให้รู้ว่าพระลอเข้ามายังเมืองสรองแล้ว ปู่เจ้าฯจึงคัดเลือกไก่มาทำพิธีเพื่อเสกผีเข้าสิงในไก่ให้ไปล่อพระลอ พระลอหลงตามไก่มาจนถึงเขตหมู่บ้านแล้วไก่ก็บินหายวับไป

(สร้อยแสงแดง)
สร้อยแสงแดงพะพรายขนเขียวลายระยับ ปีกสลับเบ็ญจรงค์ เลื่อมลายยงหงสบาท
ขอบตาชาดพะพริ้ง สิงคลิ้งหงอนพรายพรรณ ขานขันเสียงเอาใจเดือยอ่อนใสสีลำยอง
สองเท้าเทียมนพมาศ ปานฉลุชาดทารงค์ ปู่กระสันให้ผีลง ผีก็ลงแก่ไก่
ไก่แก้วไซร้บ่มิกลัว ขุกผกหัวองอาจ ผาดผันตีปีกป้องร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน
เสียงขันขานแจ้วแจ้ว ปู่สั่งแล้วทุกประการ บ่มินานผาดโผนผยองโลดลำพองคะนองบ่หึง
มุ่งถับถึงพระเลืองลอ ยกคอขันร้องตีปีกป้องผายผันลั่นเรื่อยเจื้อยไจ้ไจ้
แล้วไซ้ปีกไซ้หางโฉมสำอางสำอาจกรีดปีกวาดเวียนเย้าคอยล่อพระลอเจ้าจับต้องดำเนินแลนา"

 

พระลอกับพี่เลี้ยงจึงต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ในสวนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับสวนของพระเพื่อนพระแพง จากนั้นพระลอก็ได้ปลอมเป็นพราหมณ์ชื่อเจ้าศรีเกศ ส่วนนายแก้วนายขวัญเปลี่ยนชื่อเป็นนายรัตน์นายราม ทำทีว่าเป็นนักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสแวะเข้ามาชมเมืองสรอง ระหว่างอยู่ในเมืองคนสนิทของพระลอก็พยายามผูกมิตรกับชาวเมืองบ้าง ติดสินบนบ้าง พระลอจึงได้รับความสะดวกเป็นอันดี จนกระทั่งได้มีโอกาสเข้าไปชมและพักอยู่ในสวนของพระเพื่อนพระแพงคืนหนึ่ง คืนดังกล่าวทั้งสองฝ่ายก็ฝันเป็นนิมิตว่าจะได้คู่ รุ่งเช้านางรื่นนางโรยจึงรีบไปที่สวน  เมื่อพี่เลี้ยงทั้งสี่พบรักกันในสระบัวนางรื่นนางโรยสอบถามชื่อเสียงเรียงนามแลหัวนอนปลายตีนของนายแก้วแลนายขวัญ

                นายแก้ว นายขวัญจึงบอกความจริง  นางรื่น นางโรยเข้าเฝ้าพระลอเพื่อเชิญพระลอเข้าพักยังสวนหลวง  พระลอแสดงคารม ฝากถ้อยคำไปยังสองศรีพระพี่เลี้ยงนำความไปแจ้งพระเพื่อนพระแพง ซึ่งร้อนรุมอยู่รอท่า พระเพื่อนพระแพงรับรู้ความแลถ้อยคำพระลอจากนางรื่นนางโรย แล้วไปขออนุญาตพระย่าเที่ยวเล่นในอุทยานหลวง  พระย่าชื่นชมแลย้ำเตือนครรลองครองตน
                นางโรยนางรื่นจัดแจง พระเพื่อนพระแพงขึ้นพระตำหนักซึ่งพระลอแลพี่เลี้ยงเร้นรอท่าอยู่ !

 พระลอซ่อนตัวและลอบรักกับพระเพื่อนพระแพงอยู่ได้ครึ่งเดือน เรื่องก็รู้ถึงท้าวพิชัยพิษณุกรผู้บิดา ท้าวพิชัยพิษณุกรจึงลอบมาดูเหตุการณ์ แต่เมื่อได้เห็นพระลอก็เกิดความเมตตาจนดับความโกรธที่มีอยู่ได้จึงปรากฏกายให้พระลอเห็น ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงอภัยในความผิดที่เกิดขึ้นและตรัสว่าเมื่อได้ฤกษ์งามยามดีจะทำพิธีอภิเษกให้

                เมื่อเจ้าย่าซึ่งเป็นพระแม่เลี้ยงของท้าวพิชัยพิษณุกรรู้ข่าวดังกล่าวก็ยิ่งแค้น ด้วยยังผูกใจเจ็บเรื่องครั้งเก่าอยู่ จึงขอให้ท้าวพิชัยพิษณุกรย้อนนึกถึงเรื่องครั้งอดีตและอย่าคิดไว้ใจศัตรู แต่ท้าวพิชัยพิษณุกรไม่ฟัง นางจึงออกอุบายทำเป็นว่าท้าวพิชัยพิษณุกรให้สิทธิ์นางสั่งการทหารกำจัดพระลอเสีย โดยให้ดำเนินการทุกอย่างเป็นความลับ ตกดึกก็ให้ทหารเข้าล้อมจับพระลอ นายแก้วนายขวัญนำเรื่องทหารล้อมตำหนักไปบอกพระลอ พระลอคิดสู้ ทุกคนจึงยอมตายตาม พระเพื่อนพระแพงพร้อมทั้งนางรื่นนางโรยจึงเปลื้อง เครื่องแต่งกายที่เป็นสตรีออกจนดูเหมือนชายทั้งหมด แล้วถือดาบเข้ารบกับทหารเหล่านั้นแบบรบพลางหาทางหนีพลางจนสุดกำลัง สุดท้ายมาถึงประตูปราสาทก็ไม่อาจต้านกำลังพลและอาวุธที่ยิงใส่ได้ นายแก้วนายขวัญนางรื่นนางโรยที่นำหน้ามาก็ต้องหน้าไม้นอนตายก่ายกัน ส่วนพระลอพระเพื่อนพระแพงนั้นก็สู้ต่ออย่างอาจหาญ ทหารก็ยิงหน้าไม้อาบยาพิษใส่ไม่ยั้ง จนทั้งสามสิ้นใจไปทั้งๆที่ยังคงยืนอิงกันหันหน้าสู้อยู่ จนดูเหมือนกับว่ายังไม่ตาย

                เมื่อท้าวพิชัยพิษณุกรทรงราบข่าว ก็สั่งให้จับทหารและเจ้าย่าซึ่งเป็นเจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงนั้นไปประหาร แล้วจึงให้จัดการพระศพสามกษัตริย์และพี่เลี้ยง จากนั้นจึงให้ทูตไปแจ้งข่าวแก่พระนางบุญเหลือที่เมืองแมนสรวง พระนางบุญเหลือได้แต่งทูตพร้อมทั้งเครื่องบูชาศพเดินทางไปยังเมืองสรอง เมื่อเสร็จการถวายเพลิงศพแล้ว ก็ให้สร้างสถูปขึ้นสามองค์เพื่อบรรจุอฐิอังคารสามกษัตริย์และพี่เลี้ยง และนับแต่นั้นมาเมืองสรวงและเมืองสรองก็กลับมามีไมตรีต่อกัน

 

 

จากสรองสู่สอง

 

เรื่องพระลอจบคงเหลือเอาไว้แต่ข้อคิด ข้อคำถามมากมายเอาไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เป็นต้นว่า ใครประพันธ์ลิลิตพระลอ  พระลอเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่  มีหลักฐานอะไรที่บ่งชี้ว่าอำเภอสองคือเวียงสรองในลิลิตพระลอ นอกเหนือไปจากนั้น ยังมีคำถามเกี่ยวกับบทบาทของตัวละครเอกของเรื่องซึ่งเป็นเรื่องชู้สาว เรื่องคุณธรรมจริยธรรม และยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากมายทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

ในฐานะที่ผู้เล่าเป็นผู้ที่ได้ศึกษาและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับลิลิตพระลอมาค่อนข้างนาน เคารพในทุกความคิด ทุกเหตุผล ทุกคำพูดที่วิพากย์วิจารณ์ ขอแสดงความคิดเห็นเพื่อตอบโจทย์เล็กน้อย อาจเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการและสร้างทัศนมุมมองในอีกด้านหนึ่งให้แก่ผู้มาเยือนเวียงแห่งความรักอมตะ

โดยผู้เล่ารู้สึกว่า อาจเป็นเพราะผู้ที่เคยวิพากย์วิจารณ์ไม่เชื่อมั่น หรือมีความรู้สึกที่อยู่บนพื้นฐานของวิถีชีวิตในปัจจุบัน และเอาไปกำหนดชี้วัดเรื่องราวในอดีตที่มีระยะเวลาห่างกันเป็นหลายร้อยปี  หรืออาจพิจารณาโดยมีอคติมองโลกทั้งในแง่บวกหรือในแง่ลบอยู่ตลอดเวลา หรือบางท่านก็ฟันธงลงไปชัดๆเลยว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็มี

พูดถึงอำเภอสอง พบว่าในจังหวัดแพร่ไม่ปรากฎว่ามีอำเภอหนึ่งหรืออำเภอสามเลย  ดังนั้นคำว่า สอง จึงไม่น่าจะเป็นการตั้งชื่อโดยอาศัยการเรียงลำดับของอำเภออย่างแน่นอน

ที่อำเภอสองมีชื่อแม่น้ำที่ไหลผ่านใจกลางอำเภอ คือ แม่น้ำสอง เป็นชื่อเรียกกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม ไม่เคยปรากฎว่าตั้งขึ้นใหม่ หรือมีการเปลี่ยนชื่อ ดังนั้นชื่ออำเภอจะมาจากชื่อของแม่น้ำสายหลักนี้หรือไม่

มีชื่อสถานที่ซึ่งถูกเรียกขานทำนองเดียวกับชื่อแม่น้ำ  คือพื้นที่ในป่าแม่สอง  มีคำว่า แม่สองใน    หรือมีการเรียกชื่อก้อนหินลักษณะเหมือนโลงศพคู่กัน  ชาวบ้านเรียกชื่อว่า สองหีดสองแล้ง(หีด =โลงศพ) คำที่ปรากฎไม่เคยมีใครบอกว่าตั้งขึ้นมาแต่เมื่อไหร่

มีสถานที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ ณ อุทยานลิลิตพระลอในปัจจุบัน มีเนินดินที่เชื่อว่าเป็นแนวกำแพงเมือง ๓ ชั้น  มีลักษณะเป็นสองเวียง ติดต่อกัน คือเวียงเหนือกับเวียงใต้ ลักษณะ เฉพาะนี้จะเป็นที่มาของการเรียกชื่อเวียงที่มีสองเวียง เป็น เวียงสอง หรือไม่

เวียงสองมีพระธิดาผู้เลอโฉมคือ พระเพื่อน และ พระแพง สองศรีพี่น้องคือที่มาของชื่อเวียงหรือไม่ โดยมีการเรียกขานเพื่อยกย่องพระธิดาทั้งสององค์

นอกจากนั้นหากพิจารณาตามลักษณะของการเขียนคำในภาษาลานนาพบว่ามีการใช้ ระฯ  = ร(ระโฮง ) มากมาย แต่การออกเสียง คนลานนาไม่ออกเสียง ร เช่น

กรฯาบฯฯ  ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า  กราบ  คนลานนาออกเสียงเป็น  ขาบ

โกรฯ฿ธฯ  ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า  โกรธ  คนลานนาออกเสียงเป็น โขด

พรฯ   ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า  พระ  คนลานนาออกเสียงเป็น  พะ

สรฯ   ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า  สระ  คนลานนาออกเสียงเป็น  สะ  หรือ  สะละ

เป็นไปได้หรือไม่ว่า คำว่า สอง  อาจมาจากคำลานนาโบราณว่า สรฯอฯง ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า สรอง  แต่คนลานนาออกเสียงเป็น  สอง

นอกจากนั้นยังมีชื่อบ้านเมืองที่เขียนทำนองเดียวกัน เช่น อำเภอ แม่สรวย  น่าจะอ่านว่า  แม่สะรวย  แต่กลับออกเสียงเป็น  แม่สวย  หรือ  อำเภอบ่อสร้าง  ออกเสียงเป็น  บ่อส้าง เป็นต้น

อำเภอสองจึงน่าจะมาจาก สอง ที่เป็นการออกเสียงของ สรฯอฯง = สรอง  ของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นชาวลานนามากกว่า

ปุจฉา(ที่ไหนเอ่ย ?)            เป็นดินแดนอมตะแห่งความรัก         มีไม้สักมากมายมหาศาล

                        มีแหล่งน้ำลือนามงามตระการ                      ใครแตกฉานรู้รอบช่วยตอบที

วิสัชนา               เมืองนั้นคือเมืองสองที่ครองรัก         ของพระลอผู้เลอศักดิ์กับสองศรี

                        พระเพื่อนไธ้แพงทองสองนารี                       ตามวจีบอกเล่าเก่าก่อนมา

                        มีดงสักอยู่ตอนเหนือแก่งเสือเต้น      เขาว่าเสือมันเผ่นบนแผ่นผา

                        ยังมีรอยวนกลับประทับตรา                        รอยที่ว่ายังเหลืออยู่คู่แก่งงาม

มีข้อความที่ขออนุญาตคัดลอกจากงานเขียนของ เจริญ จันทรมณีในเอกสารเผยแพร่เชิงวิชาการ ที่จัดพิมพ์ในโอกาสสมโภชศาลเจ้าแม่นางสิบสอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๗  ตอนหนึ่งว่า หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล ได้ทรงเขียนเผยแพร่ในหนังสือ เรื่อง เที่ยวเมืองแพร่-น่าน ไว้ว่า เมืองสอง หรือสรอง นี้อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสองราว ๒ ๓ กิโลเมตร มีกำแพงเป็นเนินดิน ๓ ชั้น เหมือนอย่างเมืองสุโขทัยเก่า  ชั้นนอกต่ำ ชั้นกลางสูงกว่าชั้นนอกเล็กน้อย ชั้นในสูงสุดประมาณ ๖ เมตรเศษ  คูเมืองระหว่างเชิงเทินดินคะเนส่วนกว้างประมาณ ๖ เมตร  ตอนท้องคูของกำแพงกว้างประมาณ ๒ เมตรเศษ  ประตูเมืองแต่ละชั้นทำเหลื่อมล้ำไว้ชั้นเชิงสำหรับทางหนีทีไล่  ลักษณะของตัวเมืองตามคำบอกเล่าของชาวบ้านว่า  เป็นรูปรีๆ ทำนองรูปไข่ กว้างประมาณ ๒๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร มีลำน้ำสรองไหลเข้าทางทิศตะวันออกไหลผ่านใกล้ตัวเมืองนี้ไปบรรจบแม่น้ำยมที่บ้านหนุนใต้  กระแสน้ำแม่น้ำสรองไหลเข้าทำลายกำแพงเมืองพังไปบางตอน เมื่อราว ๓๐ ปีล่วงมา  กระแสน้ำเปลี่นยนทางเดินห่างกำแพงเมืองออกไปบริเวณแถบนั้นจึงเกิดเป็นหมู่บ้านผู้คนขึ้น  เรียกว่า บ้านต้นผึ้ง หมู่ ๑ ห่างตัวเมืองสรองออกไปมีเขาพระเพื่อนพระแพง ชาวพื้นเมืองมักเรียกว่า ผาพี่ผาน้อง

จากซากเมืองร้าง หากพิจารณาสภาพภูมิประเทศของเมืองสรองและเมืองที่ใกล้เคียงที่อาจเกี่ยวข้องในเรื่องพระลอ เช่น แถวจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง ซึ่งมีสภาพเป็นป่าเขา แม่น้ำ ลำห้วย และแถบนี้มักมีเรื่องราวเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ ไสยศาสตร์ลึกลับ ตามคำเล่าขานกันมาแต่กาลก่อน ซึ่งเรื่องเหล่านี้สนับสนุนให้เชื่อว่า เมืองสอง น่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกับคำว่า เมืองสรอง ในลิลิตพระลอ ซึ่งการเรียกขานนานไป ตัว ร อาจเพี้ยนไป ตามภาษาพื้นเมืองเพราะไม่นิยมตัวควบกล้ำ

 

เมืองสรองในอดีตโดยปู่เจ้าสมิงพรายเคยใช้เวทมนต์และกองกำลังอันประกอบด้วยภูติผีปีศาจมากมาย เพื่อเอาชนะอารักษ์ผู้คุ้มครองเมืองสรวงจนสามารถทำให้พระลอหลงไหลเพ้อคลั่ง จนอยากเสด็จมาหาพระเพื่อนพระแพงแห่งเมืองสรองได้นั้น  แสดงให้เห็นว่า

เมืองสรองมีความเชี่ยวชาญในการใช้เวทมนต์  มีหมอผู้ขมังเวทย์และทรงไว้ซึ่งความสามารถมากกมาย นอกจากนั้น แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์และความเคารพนับถือเรื่องภูติผีปีศาจเป็นความเชื่อของคนในสังคมยุคนั้น ดังปรากฎในร่ายบทหนึ่ง ข้อความว่า

ปู่รำพึงถึงเทพดา  หากันมาแต่ป่า  มาแต่ท่าแต่น้ำ  มาแต่ถ้ำคูหา  ทุกทิศมานั่งเฝ้า  พระปู่เจ้าทุกตำบล  ตนบริการทุกหมู่  ปู่แต่งพนัสบดี  ศรีพรหมรักษ์  ยักษ์กุมาร  บริพารภูติปีศาจ  ดาเดียรดาษมหิมา  นายกคนและคน  ตนเทพผู้ห้าวผู้หาญ  เรืองฤทธิ์ชาญเหลือหลาย  ตั้งเป็นนายเป็นหมู่  ตัวขุนให้ขี่ช้างบ้างให้ขี่เสือ  ขี่สีห์  บ้างขี่หมี  บ้างขี่งูขี่เงือก  ขี่ม้าเผืกผันผาย  บ้างขี่ความขี่แรด  แผดร้องก้องหน้ากลัว  ภูมิแปรตัวนายหลาก  แปรเป็นกากภาษา  เป็นหัวกาหัวแร้ง  แสร้งเป็นหัวเสือหัวช้าง  เป็นหัวกวางหัวฉมัน  ตัวต่างกันพิลึก  ละคึกกุมเครื่องจะยุทธยงยิ่ง  เต้นโลดวิ่งระเบง  คุกเครงเสียงคะครื้น  พื้นไม้ไหล้หินผา  ดาษดากันผาดเผ้ง  ระเร้งร้องก้องกู่เกรียง  เสียงสะเทือนธรณี  เทียบพลผีเสร็จสรรพ  ปู่ก็บังคับทุกประการ

กองกำลังดังกล่าวเป็นพลพรรคที่อยู่ในการควบคุมดูแลของปู่เจ้าสมิงพราย เรียกว่าเป็นกองทัพอันเข้มแข็งและน่าสพรึงกลัวทีเดียว  นั่นคือเมืองสรองในอดีต

 

แม้เวลาผันผ่านไปจนทำให้เราลืมอดีตจนแทบหมดสิ้น  แต่เมืองสองหรืออำเภอสองยังมีการสืบทอดประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับภูติผีมากมาย  ผีที่ดีได้แก่ผีที่ปกป้องคุมครองรักษาบ้านเมืองยังได้รับการเคารพนับถือกราบไหว้  มีการสร้างศาลให้เป็นที่สิงสถิต  ยกตัวอย่างเช่น  นางสิบสอง เป็นที่เคารพนับถือมีศาลถาวรเด่นเป็นสง่า ตรงบริเวณทางแยกเข้าสู่เมืองสอง

นางสิบสองเป็นนางไม้ หรือพรายไม้จากจำนวน ๑๐๑ นางซึ่งเป็นกำลังพลของปู่เจ้าสมิงพราย โดยทั้งสิบสองนางได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่ทางเข้าสู่เมืองสอง  ( ไม่ใช่นางสิบสองใน”พระรถ-เมรี”เป็นคนละเรื่องกัน )  โดยทั้งสิบสองนางมีชื่อเรียงตามลำดับดังนี้

๑.  บัวลม                 ๒.  บัวลอย                           ๓.  เกี๋ยงคำ                            ๔.  สีบัวตอง          

๕.  คำเฮียว              ๖.  คำเครือ                          ๗.  บัวเขียว                            ๘.  คำปวน

๙.  จุ๋มป๋าทอง          ๑๐.  จุ๋มป๋าเหลือง   ๑๑.  สีปูเลย                       ๑๒.  สีจมปูคำ

อ่านชื่อก็รู้ว่าเป็นผียุคโบราณแบบไทยเหนือ ๑๐๐ %  ปัจจุบันหากใครจะเดินทางเข้าสู่อำเภอสองจะต้องผ่านศาลนางสิบสอง โปรดให้ความเคารพนับถือกราบไหว้ ในฐานะที่ท่านเหล่านั้นเป็นผีที่ดีของอำเภอสอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                ภาพ ๑๓  ศาลเจ้าแม่นางสิบสอง ตำบลทุ่งน้าว  ทางเข้าสู่ตัวอำเภอสอง

 

มี”ปู่เจ้ากุมภัณฑ์”ซึ่งสิงสถิต ณ บริเวณ ศาลปู่เจ้ากุมภัณฑ์  สวนสาธารณะด้านหลังวัดคุ้มครองธรรม  เป็นผีอารักษ์ที่คุ้มครองบ้านเมืองอีกท่านหนึ่ง  มีคนเคารพนับถือเป็น”ลูกเลี้ยงเอี้ยงคำ” จำนวนมากมาย  เสียงร่ำลือในอิทธิฤทธิ์ของ ปู่เจ้ากุมภัณฑ์นั้นเป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน 

คำว่า”กุมภัณฑ์”  แปลว่า”ยักษ์” ปรากฎชื่อตามร่ายที่หยิบยกจากลิลิตพระลอว่า “ปู่แต่งพนัสบดี  ศรีพรหมรักษ์  ยักษ์กุมาร ฯลฯ”มาให้ผู้อ่านลองช่วยกันศึกษาและตีความ ว่าทำไมชื่อผีก็สอดคล้อง เหมือน กับเพิ่งจะแต่งเรื่องพระลอใหม่ๆว่างั้นเถอะ

ปัจจุบันศาลปู่เจ้ากุมภัณฑ์  ได้รับการสร้างขึ้นใหม่ สวยงามจนไม่เหลือเค้าโครงแบบโบราณ  ทำให้ดูเหมือนว่าทุกอย่างเพิ่งจะเนรมิตขึ้นมา  ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ถ้าจะคงไว้ซึ่งของเก่าก็ผุพังหมด  ก็เลยต้องทำใจ

 

 


  

 

 

 

 

                                ภาพ ๑๔  ศาลปู่เจ้ากุมภัณฑ์  ณ บ้านคุ้ม  ตำบลบ้านกลาง

 

อีกศาลหนึ่งเป็นศาลเก่าแก่ ยังมีลูกเลี้ยงเอี้ยงคำ ปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมา และมีชื่อสอดคล้องกับชื่อสถานที่ในลิลิตพระลอ คือศาลเจ้าแม่กากลง ตั้งอยู่ ณ บ้านเหล่าใต้ ตำบลบ้านกลาง

 
 

 

 

 

                 

 

 

 

 

      ภาพ ๑๖-๑๗   ศาลเจ้าแม่กาหลง ณ บ้านเหล่าใต้  ตำบลบ้านกลาง ปัจจุบันสร้างศาลใหม่แทนหลังเดิม

                                  แต่ยังมีต้นไม้โบราณขนาดใหญ่ด้านหลัง  เห็นแล้วบรรยากาศเยือกเย็น(สังเกตลำต้นและราก)  

                มีศาลสำคัญที่ชาวบ้านรู้จัก  เคารพกราบไหว้และพึ่งพาในรูปแบบต่างๆคู่กับอำเภอสองมานานจนไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าสืบสานกันมานานเท่าไหร่  แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีผู้คนไปพึ่งพาอยู่ไม่ขาดด้วยศรัทธาความเชื่อไม่เคยขาด ก็คือ ศาลปู่เจ้าสมิงพราย  แต่เดิมก็ไม่ได้ก่อสร้างใหญ่โตอะไร และด้วยสภาพที่ผุพังไปตามกาลเวลา ในปัจจุบันจึงมีผู้สร้างศาลใหม่ขึ้นมาทดแทน

                ศาลปู่เจ้าสมิงพรายมีหลายศาลและตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นเวียงสรองในอดีต คืออุทยานลิลิตพระลอและวัดพระธาตุพระลอ  คงจะมีเหตุผลจากผู้ที่ปฏิบัติว่าให้ใกล้และสะดวกเอาไว้ก่อน และเชื่อว่าไม่ว่าจะกราบกรานไหว้สา ณ ศาลใด  ปู่เจ้าสมิงพรายต้องทราบด้วยญาณด้วยอิทธิฤทธิ์ของท่านเสมอ

 

 

 

 

 

  

 

 

                ภาพ ๑๘    ศาลปู่เจ้าสมิงพราย ณ บริเวณใกล้วัดพระธาตุพระลอเป็นหนึ่งในจำนวนหลายศาลซึ่งมีผู้ไปไหว้สาไม่เคยขาด    

 

                ยังมีผีที่ชาวบ้านเคารพนับถืออีกมากมายตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งผีที่ประจำเขตพื้นที่และผีบริวารซึ่งเป็นผีที่ดี ขอนำมาบอกเล่าเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย  เช่น  เจ้าพ่อพญาอ้น  เจ้าพ่อพญาแก้ว  เจ้าพ่อมหานิล  เจ้าพ่อผาด่าน ฯลฯ  ผีแต่ละท่านได้รับมอบหมายให้ปกปักรักษาเป็นหมวดหมู่ราวกับการวางกำลังพลในตำราพิชัยสงครามเลยทีเดียวเหมือนดังปรากฎในร่ายว่า “บริพารภูติปีศาจ  ดาเดียรดาษมหิมา  นายกคนและคน  ตนเทพผู้ห้าวผู้หาญ  เรืองฤทธิ์ชาญเหลือหลาย  ตั้งเป็นนายเป็นหมู่  นอกจากนั้นยังมีผีบริวารแทบ ทุกพื้นที่ของเมืองสองดังรูปภาพที่ปรากฎ  มีผีเมืองก็ต้องมีผีบ้าน จึงเรียกรวมกันว่า “ ผีบ้านผีเมือง” 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                ภาพ ๑๙  ศาลที่ตั้งเอาไว้เพื่อไหว้ผีในต้นเดือนสี่(เหนือ) มีให้เห็นทั่วไป

 

สิ่งยืนยันถึงความเป็นดินแดนแห่งเวทมนต์ และความเชื่ออันศักดิ์สิทธิ์ของเมืองสองหรืออำเภอสองคงจะเชื่อมโยงมาจากอดีต และด้วยความสอดคล้องในชื่อต่างๆ จึงอดไม่ได้ที่จะคล้อยตามความเชื่อว่า เมืองสองคือเมืองสรองในอดีต  แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือในทางโบราณคดีที่ชัดเจน  สามารถพิสูจน์ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ 

 

อำเภอสองหรืองเมืองสองในปัจจุบัน

อำเภอสองตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดแพร่  ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ๔๙ กิโลเมตร  เป็นอำเภอเล็กๆ มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๙๐ ตารางกิโลเมตร  โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่อื่นดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับกับอำเภอดอกคำใต้  อำเภอเชียงม่วนจังหวัดพะเยา และอำเภอนาหลวง จังหวัดน่าน

ทิศใต้  ติดต่อกับอำเภอหนองม่วงไข่ และอำเภอลอง จังหวัดแพร่

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับอำเภองาว จังหวัดลำปาง

อำเภอสอง แบ่งการปกครองเป็น ๘ ตำบล ๖๓ และมีชาวไทยภูเขา ๒ เผ่า  ได้แก่  เผ่าอาข่า  และ  เผ่าม้ง

วิถีชีวิตของคนอำเภอสอง เป็นวิถีแบบเกษตร  พึ่งพาแม่น้ำสายหลัก ๒ สาย คือ แม่น้ำยม และแม่น้ำสอง  เป็นชีวิตที่สงบ เรียบง่าย  โดยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก  แม้ว่าจะมีการนับถือศาสนาอื่นอยู่บ้างเป็นจำนวนน้อย  ส่วนการนับถือผียังคงมีอยู่ทั่วไปตามอัตลักษณ์ของคนลานนาโดยทั่งไป คือ “ ไหว้พระ  แต่ถือผี  มีรอยสัก  และมักข้าวนึ่ง “  ( ปัจจุบันอัตลักษณ์นี้อาจเปลี่ยนไป )

 

 

 

 

 

 

 

 

                               

ภาพ ๒๐  พวงมาลัยไหว้ผีอาจพบเห็นทั่วไปแม้ในพื้นที่ซึ่งเป็นป่าเขาแสดงให้เห็นถึงการเคารพนับถือผี

                                               

หลายคนมีมุมมองตามจินตนาการหรือความคาดหวังของตนเองต่ออำเภอสองไม่เหมือนกัน อาจเป็นเพราะ วัย ประสบการณ์  ศรัทธา  ความเชื่อ หรือมีวุฒิภาวะต่างๆไม่เหมือนกัน  บางคนอาจประทับใจในความรักของสามกษัตริย์ ในวรรณกรรมลิลิตพระลอ  บางคนสนใจในอิทธิฤทธิ์ เวทย์มนต์ที่ชวนให้ตื่นเต้น  บางคนสนใจในความไพเราะสละสลวยของบทกวีนิพนธ์  บางคนอาจสนใจในแง่ของข้อเท็จจริง และบางคนยอาจสนใจในแง่การศึกษา เป็นต้น  จากมุมมองต่างๆ เหล่านั้นนำไปสู่การสนทนาที่ออกมาทั้งเชิงบวกและเชิงลบมากมาย

ผู้เขียนเองเป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจศึกษาเรื่องราวจากวรรณกรรมลิลิตพระลอ ได้รับฟังข้อคิดเห็นจากหลายๆคนตามมุมมองต่างๆเหล่านั้นด้วยความเคารพ  และมีมุมมองของตนเองอีกแบบหนึ่งว่า

กวีที่นำเสนอเรื่องราวในลิลิตพระลอ มีความสามารถเชิงภาษาเป็นพิเศษ จึงมีความไพเราะสละสลวย จนเป็นที่ยอมรับและบางบทถูกนำมาใช้เป็นแม่แบบในการเขียนฉันทลักษณ์ในภาษาไทยเช่น

    o เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง                       อันใด พี่เอย

เสียงย่อมยอยศใคร                                ทั่วหล้า

สองเขือพี่หลับใหล                                ลืมตื่น ฤาพี่

สองพี่คิดเองอ้า                                    อย่าได้ถามเผือ ฯ

 

 

 

 

และคำสอนที่ยอมรับจนไม่มีข้อโต้แย้งติติง เช่น

    o สิ่งใดในโลกล้วน                           อนิจจัง

   คงแต่บาปบุญยัง                                เที่ยงแท้

คือเงาติดตัวตรัง                                  ตรึงแน่น อยู่นา

ตามแต่บุญบาปแล้                               ก่อเกื้อรักษา ฯ

จึงสมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดลิลิต ตามที่วรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการประกาศยกย่องเอาไว้นับเป็นความภาคภูมิใจในฐานะที่เราเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเมืองสรองในลิลิตพระลอ  สมควรช่วยกันเผยแพร่คุณค่าดังกล่าวให้คนที่มาศึกษาเรียนรู้เรื่องลิลิตพระลอช่วยกันสืบสานต่อไป

อีกประการหนึ่งผู้เขียนมองว่าลิลิตพระลอเป็นดั่งคำสอน ที่สอดแทรกมากับเรื่องราวเหมือนกับคำสอนที่ปรากฎในคัมภีร์ใบลาน หรือเรียกว่า “ธรรมใบลาน”  ในการเทศน์ธรรมวัตรพื้นเมืองของชาวลานนา ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันการฟังธรรมมหาวัตรของชาวลานนาจึงเป็นการฟังเรื่องราวในชาดก  ที่ฟังแล้วเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวที่แฝงเอาไว้ด้วยธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างผสมกลม กลืน 

ลิลิตพระลอจึงเป็นคำสอนที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราว โดยไม่ได้เจาะจงว่าจะสอนใคร  อาจใช้เป็นคำสอนทั่วไป  สอนบทเรียนความรักโดยไม่ไตร่ตรองเหมือนรักของวัยรุ่น  สอนความรักระหว่างแม่ลูก  ความรักภรรยาที่มีต่อสามี  สอนเรื่องการปกครองคน  สอนเรื่องกรรมที่สร้างสมไว้จากรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แล้วผลแห่งกรรมกลับไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง  สอนเรื่องการพยาบาทจองเวรที่กลายเป็นโศกนาฏกรรมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลที่เรารัก  การสอนให้อภัยต่อกันจนนำไปสู่สันติสุขร่วมกัน  สอนจนกระทั่งชี้ให้เห็นว่า ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงตามหลักธรรมในพระพุทธสาสนา

มุมมองนี้เป็นมุมมองที่มีคุณค่ามากมาย  “ ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง “ ใช้สอนตัวเราเองได้  และพัฒนาตนเองได้  ในลิลิตพระลอมีคำสอนมากมาย หากใครสนใจมากกว่านี้ หากท่านตามรอยความรักเข้าสู่เวียงสรองแล้ว  ขอฝากท่านตามรอยคำสอนในลิลิตพระลอด้วย

 

ค่าวก้อมแสดงแง่คิด

ในลิลิตพระลอ

        เปนเภียงรูปนาม

           คำซอยอยศ  พระลอเล่าขาน  ต๋ามไนต๋ำนาน  ท่านว่าเหมือนแสร้ง  เกิดเปนรูปนาม  เลางามกล้องแกล้ง  ดั่งอินทร์แตล๋ง  มานั้น  เพื่อนไธ้แพงธอง  สองศรีเชื้อชั้น  จิตไจ๋สอดดั้น  แอบชม  บ่ได้พินิจ  ฅิดเพียงสุขสม  ฅ้อยต๋ามอารมณ์  จึงทรมหมองไหม้

 

       ฅวามรักของแม่

                                บุญเหลือแม่ไธ้  เพิ่นได้สั่งสอน  ทึงไหว้ทึงวอน  อ้อนพระลอเจ้า  ด้วยฅวามพันผูก  ย้อนฮักลูกเต้า  บ่หื้หูเบาเชื่อนัก  คำซอนออื่อ  เปนสื่อชวนชัก  ลองเปรียบฅวามฮัก  แม่มี  ต่อพระลอเจ้า  เที่ยงเท้าดีหลี  ยิ่งกว่าชีวี  แม่นี้ว่าอั้น

 

      รสแห่งฅวามรัก

           รสแห่งฅวามรัก  มักเจื๋อด้วยขม  ไผหลงชื่นชม  ช่างล้มป่วยไข้  ไนหัวอก  ตรอมตรมบ่มไหม้  หาสุขทางได  บ่พบ  เหมือนรักองค์ลอ  พอต๋ายท่าวทบ  ซบอิงเพื่อนไธ้  แพงธอง  สองศรีแว่นแฅว้น  ดินแดนเมืองสรอง  ควรจักไตร่ตรอง  ฟั่งลองเน้อเจ้า

 

    คนเชื้อเจ้ามีเมียหลาย

                                เปนฮีตโบราณ  เมินนานแต่เค้า  ว่าฅนเชื้อเจ้า  มักมีเมียหลาย  เหมือนพระลอนั้น  ผูกพันธ์หมั้นหมาย  มีเมียเนอนาย  ลักษณาวดีเจ้า  คำซอนอแต่ง  เพื่อนแพงหน่อเหน้า  ว่าสองนงเยาว์  งามล้ำ  เยียะหื้อพระลอ  บ่กิ๋นเข้าน้ำ  ไคร่หันไคร่อยั้ม  ทึงวัน  ไคร่ได้นาฏน้อง  มาครองคู่กั๋น  เปนเรื่องอึงนัน  บ่หวั่นไผฆ่า

 

 


 

คุณค่าของลิลิตพระลอ

                1. ในด้านอักษรศาสตร์นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๆ มากอย่างบทเสียงลือเสียงเล่าอ้างที่ว่า

“เสียงลือเสียงเล่าอ้าง       อันใด พี่เอย

   เสียงย่อมยอยศใคร                   ทั่วหล้า

   สองเขือพี่หลับใหล                   ลืมตื่น ฤาพี่

   สองพี่คิดเองอ้า                         อย่าได้ถามเผือ”

แปลความว่า     มีเสียงร่ำลืออ้างถึงอะไรกัน เสียงนั้นยกย่องเกียรติของใครทั่วทั้งพื้นหล้าแผ่นดิน พี่ทั้งสองนอนหลับใหล จนลืมตื่นหรือพี่ พี่ทั้งสองจงคิดเอาเองเถิด อย่าได้ถามน้องเลย    บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็นแบบอย่าง

 

           

                                                                                                                                                           

               2. ในด้านพระศาสนา    ได้ให้แง่คิดทางศาสนาอย่างเช่นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตซึ่งเป็นของแน่ยิ่งกว่าแน่เสียอีก อย่างบทที่ว่า

สิ่งใดในโลกล้วน         อนิจจัง

  คงแต่บาปบุญยัง                          เที่ยงแท้
  คือเงาติดตัวตรังตรึง                   แน่นอยู่นา

  ตามแต่บุญบาปแล                     ก่อเกื้อรักษา

 

หรือบทที่ว่าด้วยกฎแห่งกรรม

             ถึงกรรมจักอยู่ได้           ฉันใด พระเอย

     กรรมบ่มีมีใคร                        ฆ่าเข้า

     กุศลส่งสนองไป                      ถึงที่ สุขนา

     บาปส่งจำตกช้า                       ช่วยได้ฉันใด

 

                3. ในด้านการปกครอง   จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้น ต่างเมืองต่างก็เป็นอิสระ  เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สามารถมีสัมพันธไมตรีกันได้

               4.  ในด้านประวัติศาสตร์  ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและเมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่

                   5. ในด้านวิถีชีวิต   ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มากมีการนับถือผีสางนางไม้ แม้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่

ร่าย

   รอย รูปอินทร์หยาด ฟ้า  มา อ่า องค์ ในหล้า     แหล่งให้ คน ชม

ร่าย งาม สม ขุนลอท้าว น้ำพระทัย ณ หัวเจ้า       ยิ่งแม่ กาหลง             

ร่าย ยาม พระทรง คชสาร  พระยิ่งหาญ ยิ่งกล้า    เกินพระยา สีหราช ท้าว  กลาง ศึก

พระบาทเจ้า ล้าน         โลกใครบ่เท่า               พ่อขุน แมน-สรวง

 

 

 

 

 

 

แนะนำตัวละคร

 

พระลอ เป็นพระยุพราชของเมืองสรวงมีรูปงาม มีมเหสีอยู่หนึ่งองค์ชื่อว่า นางลักษณาวดี แต่ลุ่มหลงในความงามของสตรี จึงต้องออกตามหา พระเพื่อนและพระแพง

 

 

พระเพื่อนพระแพงเป็นตัวละครหญิงที่ทำให้ลิลิตพระลอเป็นโศกนาฏกรรมรักที่ตรึงใจผู้อ่านไม่รู้ลืมโดยในโครงเรื่องของลิลิตพระลอกำหนดว่าราชตระกูลของพระลอและพระเพื่อนพระแพงเป็นศัตรูกันแต่ความงามของทั้งสองฝ่ายกลับก่อให้เกิดนิยายรักที่เศร้าสลดโดยเนื้อเรื่องกำหนดให้พระเพื่อนพระแพงหลงไหลในความงามของพระลอและหลงรักพระองค์จากเพลงขับซอยอโฉมพระนางทั้งสองจึงตั้งใจมั่นที่จะได้พระลอเป็นสวามีดังปรากฏในคำกราบทูลพระลอเมื่อทั้งสามพบกันเป็นครั้งแรกว่า ทั้งสองเสวยไม่ได้บรรทมไม่หลับ นับแต่เกิดความลุ่มหลงในตัวพระลอ นางรอคอยฟังข่าวจากพระองค์ตลอดเวลาทั้งยังขอให้เทพยดาทุกหนทุกแห่งช่วยเหลือให้พระองค์เสด็จมาหานางยินดีเสียเงินทองทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลและหากไม่ได้ครองคู่กับพระลอก็จะไม่ขอมีสวามีเลย

 


 

 

 

ปู่เจ้าสมิงพรายเป็นบรมครูผู้มีวิชาอาคมแก่กล้า และได้คอยช่วยเหลือให้แก่พระเพื่อน พระแพง ในการทำเสน่ห์หลอกล่อให้พระลอตามมาถึงเมืองสรอง

 

 

นางรื่น นางโรย เป็นพระพี่เลี้ยงของ พระเพื่อน พระแพง เป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ ให้พระเพื่อนพระแพง ได้พบกับพระลอ โดยการขับซอชมความของพระเพื่อน พระแพง เพื่อให้พระลอหลงใหล

 

นายแก้ว  นายขวัญ สองพี่เลี้ยงของพระลอ ซึ่งได้เดินทางมาพร้อมกับพระลอ เพื่อตามหาพระเพื่อน   พระแพง  และได้พบรักกับนางรื่น นางโรย ในเวลาต่อไป

 

 

 

คำนำ

                                                o เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง                    อันใด พี่เอย

เสียงย่อมยอยศใคร                        ทั่วหล้า

สองเขือพี่หลับใหล                       ลืมตื่น ฤาพี่

สองพี่คิดเองอ้า   อย่าได้ถามเผือ

    o สิ่งนี้น้องแก้วอย่า                  โศกา ณ แม่

เผือจักขออาสา    จุ่งได้

ฉันใดราชจักมา  สมสู่ สองนา

จักสื่อสารถึงไท้หากรู้เปนกล

    o ความคิดผิดรีตได้                  ความอาย พี่เอย

หญิงสื่อชักชวนชาย                     สู่หย้าว

เจ็บเผือว่าแหนงตาย                      ดีกว่า ไส้นา

เผือหากรักท้าวท้าว                        ไป่รู้จักเผือ

    o ไป่ห่อนเหลือคิดข้า             คิดผิด แม่นา

คิดสิ่งเปนกลชิด       ชอบแท้

มดหมอแห่งใดสิทธิ์                      จักสู่ ธแม่

 

 


 

 

 

ตำนานลิลิตพระลอ

ความในลิลิตพระลอเป็นเรื่องซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง ๒ เมือง คือเมืองสรวง กับเมืองสรองที่มีดินแดนใกล้ชิดติดกันเป็นดังเมืองพี่เมืองน้อง ท้าวเมืองแมนสรวงผู้ครองเมืองสรวง  เกิดความมกระหายอำนาจ ทำให้ท้าวแมนสรวงรุกรานเมืองสรอง ก่อสงครามหวังเอาเมืองสรองเป็นเมืองขึ้น การสงครามเป็นผลทำให้ “ท้าวพิมพิสาคร” แห่งเมืองสรอง เสียชีวิตบนหลังช้าง  “ท้าวพิชัยพิษณุกร” ผู้เป็นบุตร กันพระศพของพระบิดาเข้าเมืองและรักษาเมืองไว้ได้ การรุกรานเมืองสรองครั้งนี้ แม้ไม่สำเร็จ แต่ก็ทำให้เจ้าเมืองสรองก็ "ขาดคอช้าง" เป็นเหตุให้สองเมืองมีความบาดหมาง แค้นเคืองต่อกัน

เมืองสรวงมีเจ้าครองชื่อว่า “ท้าวแมนสรวง” ซึ่งชายามีนามว่า “พระนางบุญเหลือ”  ทั้งคู่มีพระโอรสพระองค์หนึ่งรูปงามมากนามว่า “พระลอ”  ส่วนเมืองสรองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสรวง  มีเจ้าเมืองชื่อ “ท้าวพิมพิสาคร”  มีโอรสชื่อ “ท้าวพิชัยพิษณุกร”  อภิเษกกับ “พระนางดาราวดี” ภายหลังท้าวพิชัยพิษณุกรได้ธิดา ๒ พระองค์  คือ “พระเพื่อน”  กับ “พระแพง” ซึ่งปฐมเหตุแห่งรักครั้งนี้เกิดจากกิตติศัพท์ความงามของพระลอร่ำลือไปถึงเมืองสรอง กำเนิดเกิดเป็นตำนานเหตุความรักอมตะที่สะเทือนอารมณ์............

 

ปฐมเหตุแห่งรักสู่เวียงแห่งความรักอมตะ

“กล่าวถึงขุนผู้ห้าว นามท่านท้าวแมนสรวงเป็นพระยาหลวงผ่านเผ้า เจ้าเมืองสรวงมีศักดิ์ธมีอัครเทพีพิลาส ชื่อนางนาฎบุญเหลือล้วนเครือท้าวเครือพญาสาวโสภาพระสนม ถ้วนทุกกรมกำนัล มนตรีคัลคับคั่ง ช้างม้ามั่งมหิมาโยธาเดียรดาษหล้าหมู่ทกล้าทหาร เฝ้าภูบาลนองเนือง เมืองออกมากมียศ ท้าวธมีโอรสราชโปดกชื่อพระลอดิลกล่มฟ้าทิศตะวันตกหล้า แหล่งไล้สีมา ท่านนา”

“มีพระยาหนึ่งใหญ่ ธไสร้ทรงนามกรพิมพิสาครราชพระบาทเจ้าเมืองสรองสมบัติสองราชามีมหิมาเสมอกันทิศตะวันออกไท้ท้าว อะคร้าวครอบครองยศ ท้าวธมีเอารสราชฦๅไกร ชื่อท้าวพิชัยพิษณุกรครั้นลูกภูธรธใหญ่ไซร้ ธก็ให้ไปกล่าวไปถาม นางนามท้าวนามพญา ชื่อเจ้าดาราวดีนางมีศรีโสภา เป็นนางพญาแก่ลูกไท้ ลูกท้าวธได้เมียรัก ลำนักเนตรเสนหาอยู่นานมามีบุตร สุดสวาทกษัตริย์สององค์ ทรงโฉมจันทร์งามเงื่อน ชื่อท้าวเพื่อนท้าวแพงจักแถลงโฉมเลิศล้วน งามถี่พิศงามถ้วน  แห่งต้องติดใจ บารนี”

                         เมืองสรวงมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “พระลอ” พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย ถัดไปทางด้านทิศตะวันตก ยังมีเมืองอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร ซึ่งมีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนามว่า พระเพื่อน พระองค์น้องพระนามว่า พระแพง

กล่าวถึงพระเพื่อนพระแพงหลังจากได้ยินกิตติศัพท์ที่ร่ำลือรูปโฉมพระลอก็ต้องพระทัยในพระลอ เกิดจิตโหยหาจนได้ไข้ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยได้เห็น แต่ด้วยความเป็นหญิงจึงมิอาจเอ่ยปากแพร่งพรายเอิกเกริกพระพี่เลี้ยงทั้งสอง คือนางรื่นและนางโรยจึงวางอุบายโดยจะใช้คนไปขับซอชมโฉมสรรเสริญความงามอันพิลาศล้ำของพระเพื่อนพระแพงให้ยินถึงหูพระลอ  แล้วจึงหาผู้มีอาคม ใช้เวทมนต์ ทำเสน่ห์เรียกพระลอมาสู่สรอง"..ให้ลอบลองท้าวแล้อยู่ได้ฉันใด”  

เมื่อนางรื่นนางโรยได้ทราบข่าวจากช่างซอของตนแล้ว ก็คิดอุบายจะให้พระลอมายังเมืองสรอง จึงคิดจะให้หา

แม่มดหมอผีทำเสน่ห์ ครั้งแรกสองพี่เลี้ยงไปหายายมดผู้มีความรู้เชิงเวทมนต์ให้ทำกลเสน่ห์ แต่ยายมดปฏิเสธว่าบารมีน้อยไม่อาจเอาชนะพระลอซึ่งเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน มีพระบารมีสูงกว่าได้ จึงแนะนำให้ไปหาปู่หมอเฒ่าสิทธิศักดิ์ แต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยงด้วยเหตุผลเดียวกัน และแนะนำว่ามีหมอผู้หนึ่งมีฤทธิ์ยิ่งกว่าใครในใต้หล้า คือปู่เจ้าสมิงพราย        

จากนั้นพระเพื่อนพระแพงบอกความในใจเป็นปริศนาให้สองพี่เลี้ยงทราบเล่ห์กล สองพี่เลี้ยงตีความออกแล้วไปหลอกเจ้าย่าและพระบิดาพระมารดาว่า พระเพื่อนพระแพงเป็นไข้ขวัญหนีเข้าป่าเขา จำต้องตามเข้าไปรับขวัญกลับสู่เกล้าโดยเร็ว

                ได้เบิกช้างต้น ไปรับพ่อปู่หมอใหญ่ออกเดินทางขึ้นเขาเพื่อให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยเหลือ

(เพลงซอ)

สองปี้เลี้ยง(ทำนองซอพระลอ)

สองปี้เลี้ยง  แม่งามสวย  นางรื่นนางโรย  สองคู่สร้าง  ลงจากจ๊าง  ท่องเดินเตียว  หมอแก่คร้าว  นำสองเฉลียว  สามเดินเตียว  เข้าดงป่าไม้   เหลียวผ่อเหนือ  วันต๊กออกใต้  หันเป๋นต้งเป๋นนา  ผ่อภูเขา  เป๋นเงาเมฆฝ้า  ใจ๋มัวมืดคุ้มสว่าง

แลละลิ่ว  ไปสุดเจ่นต๋า  ฝ่าดอยดง  เข้าปงป่าไม้  ตะเคียนสูง  ยางยูงไม้ไล่  เปาดู่แงะ  ขยอมยม  เครือเถาหวัน  เกี่ยวพันเกลี๋ยวกล๋ม  พระพายพรม  พัดดวงดอกไม้  กลิ่นหอมหวน  จื่นจวนใจ๋ใบ้  ยามเมื่อท่องเดินตาง  หอมบุปผาเบ่งบานสวยสร้าง  สองนางจื่น  แต้เนอ

เดินป่าไม้ไปบ่เถิง  เถิงเนินเขา  แลดูสล้าง  แลลิงค่าง  บ่างนางนี  ได้ยินเสียงผี   ฮ้องครางคะข้อย  ผีโพงดง  เสียงโขงบ่หน้อย  ผีอี่ค้อย  ส่งเสียงคราง  เสือโคร่งพุ้ย  ก็ถ่อมตวยหลัง  แฮดควายกว๋าง  กะทิงละโหว้    เสียงจ๊างโขลง  มาฮ้องโอ่มโอ้  หักไม้อยู่  ฮิมตาง  สองปี้นาง  ฮ้องบ่เป๋นไห้  กลั๋วต๋ายในป่าไม้ใหญ่

ไปเถิงน้ำสระหนอง  สองฝั่งคลอง  มีจรเข้  ตั๋วยาวเหล้  อยู่สองฝั่งน้ำ  เลือกเอาคน  วิ่งโยนปลุกปล้ำ  ลอยกลางน้ำ  ต๋าเหลือกโมงโมง  ผีอี่กุ๊ด  ฮ้องอยู่โว้งโว้ง  เต๋มดงพงอี่ค้อยเนอ

งูเห่าปิ๊ด  ก็แล่นมาหา  ผ่านบาทา  สองปี้เอื้อย  เลาะเลี้ยวเลื้อย  ผ่านไปมา  เสือสิงห์สา  ก็ท่าวก ผงกหัว  เยียะเหมือนจะสู้  เหมือนจะไล่  เลยไป  สองคิงฟอง  ฮ้องบ่เป๋นไห้  หัวอ๊กจะแตกม้างเกิ่ง...........

 

ระหว่างที่ทั้งสองพี่เลี้ยงเดินทางไปหาปู่เจ้าฯ  นั้นต่างก็มีความหวาดกลัวอยู่ไม่น้อย เพราะสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ในถ้ำเขาปู่นั้นวังเวงน่ากลัวมาก  เมื่อได้พบปู่เจ้าสมิงพรายแล้ว   ท่านก็เล็งญาณดูจึงรู้ว่าพระลอกับพระเพื่อนพระแพงได้สั่งสมบุญกรรมมาแต่ชาติปางก่อน  ต้องมาชดใช้กันในชาตินี้ด้วยกันอย่างแน่นอน

“ปู่ไป่ผายตอบถ้อย อยู่น่อยหนึ่งบมินาน ปู่ก็ธิญาณเล็งดู กูจะช่วยควรฤๅมิควร รู้ทั้งมวลทุกอัน ด้วยผลกรรม์เขาแต่ก่อน ทำหย่อนหย่อนตึงตึง ส่วนจะถึงบมิหยุด เถ้าว่าจะพลัดสุดพลันม้วย ด้วยผลกรรมเขาเอง แต่เพรงเขาทั้งสอง ทำบุญปองจะไจ้ ขอได้พึ่งบุญตู ปู่ดูเสร็จจึ่งว่า สองนางอย่ากล่าวอ้าง ถึงสินจ้างสินบน ตนกูจักไปสู่ ถึงที่อยู่สองเจ้า เขือเข้าไปก่อนกล่าว ข่าวดั่งนี้ให้ฟัง กูจะไปภายหลังบช้า ผิมิวันนี้อ้า พรุ่งนี้กูถึง”

ร่าย
    o มินานนางโรยนางรื่น ไหว้ปู่ชื่นชมลา กับหมอมาขึ้นช้าง เลียบเดินข้างตีนเขา คืนไต่เต้าตามทาง เหลียวหลังพลางจะไจ้ ชมไม้ไหล้สะอาด เหมือนปราสาทพิศาล คือพิมานมนเทียร อาเกียรณ์แกมดอกแดง แสงดุจปัทมราค ภาคใบเขียวสรด คือมรกตรุ่งเรือง ดอกเหลืองเพียงทองสุก ขาวดุจมุกดาดาษ โอภาสพรรณพิจิตร พิพิธภูมิลำเนา งามเอาใจใช่น้อย คล้อยลงถึงดินต่ำ เลงสบส่ำพฤกษา งามพอตาตาดู เพราะพอหูหูฟัง นกประนังกันร้อง เพราะไพรก้องป่าก้อง เพรียกพื้นพงพี
ร่าย
    o เสียงโนรีสาริกา สัตวาฝูงดุเหว่า แขกเต้าเคล้าคลิ้งโคลง นกเอี้ยงโองคู่เคียง เสียงแซ้งแซวภูรโดก โคกม้าม่ายนางนวล กะสาสรวลกระสันต์ กางเขนขันแผ่แพน แอ่นอกจอกจิบกด ขุนยูงชดขนฟ้อน กระหย้อนหางฟฟาย นางยูงรายรอบเฝ้า ทรายทองเคล้าคู่เคียง ระมั่งเมียงม่ายคู่ เกลื่อนกล่นอยู่คคล่ำ บรู้กี่ส่ำกี่สาร เห็นตระการสรนุก จริวจราวซุกจรจรัล บรู้กี่พรรค์ปูปลา นกหกดาดาษอยู่ หงษ์เหิรสู่สระสรง เป็ดน้ำลงลอยล่อง ทุงทองท่องจรจรัล จากพรากพรรค์ฟุบฟอง คับแคครองคู่หว้าย ดอกบัวผ้ายจับบัว ภมรมัวเมาซราบ อาบลอองเกสร สลอนบุษบาบาน ตระการดอกบัวแดง แฝงบัวขาวคลี่คล้อย สร้อยสัตบรรณบงกช รรวยรสกลิ่นจงกล นิโลตบลโกมุท อุบลบุษบัวเผื่อนฉลับ ป่ากลัวกลับกลายสรนุก สำราญสุขเปรมปรีดิ์ ช้างเร็วรี่ผาดผัง ถึงวังใกล้ปราสาท รับขวัญราชบิดา ขวัญสองมาสมสู่ อยู่กับองค์อ่อนไท้ ไฟแดดอย่ารู้ไหม้ ไข้อย่ารู้ถึง แม่เลย ฯ

ร่าย
    o ส่วนธิดาทั้งสอง ตั้งเตียงทองราชอาสน์ พิดานดาดดัดบนเทียบขนนเขนยตระสักม่านปักแพร้วแพรพรรณ สรรพของหอมหาได้ สรรพดอกไม้หาถ้วนล้วนแก้วต่างข้าวตอกช่อดอกไม้เงินทอง ตระการแกล้มเหล้าเข้า  แต่งไว้รับปู่เจ้าว่าแต่งไว้รับขวัญ




 

“ ขึ้นช้างไปผะผ้าย มาคะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่ หมอเถ้าอยู่แลเห็น แสร้งแปรเปนโฉมมลาก เปนบ่าวภาคบ่าวงาม สองถึงถามหาปู่ ปู่หัวอยู่ยะแย้ม ค่อยว่าสองแสล้ม มาแต่ด้าว แดนใด ฯ”

 

ปู่เจ้าสมิงพรายเหินหาวมาสู่ตำหนักพระเพื่อนพระแพงพลันที่พี่เลี้ยงมาถึง  ปู่เจ้าฯรับปากช่วยแต่กำหนดเวลาที่ พระลอจะมานั้นไม่ได้เนื่องด้วยว่าข้างกระโน้นก็เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินที่ไหนจะไร้บุญญาบารมีแลผู้ทรงฤทธีคอยปกป้อง ปู่เจ้าสมิงพรายก็ได้ทำการเรียกพระลอ  หนแรกปู่เจ้าสมิงพรายทำยันต์เสน่ห์แลใช้กังหันลมติดยอดยางเจ็ดอ้อมกำกับพระลอฝันเห็นพระเพื่อนพระแพง ร่ำร้องจะไปหาแต่ทางเมืองสรวงก็แก้มนต์หนแรกนี้ได้ หนที่ ๒ ใช้ธงสามชายปักปลายตะเคียนเก้าคนโอบส่งยาสั่ง  ทางเมืองสรวงได้ปู่หมอสิทธิชัยช่วยแก้ไข กับทั้งทำการป้องกันไว้ครันครบ   "... บั้นในไว้อารักษ์ กลางไว้ยักษ์บริบาล ทวารนอกไวปีศาจอากาศไว้ภูตคณา..."

ปู่เจ้าฯ รู้ว่าข้างสรวงมีผู้ทรงอาคมแก่กล้าเทียมกันมาช่วยตัดสินใจลงมือสู้ให้เต็มที่  หนที่สามเจ้าสมิงพรายใช้ไม้ตายเรียกพระลอปู่เจ้าสมิงพรายระดมพลสาระพัดผีสั่งให้ไปทะลวงเกราะป้องกันเมืองสรวงที่ปู่หมอสิทธิชัยสร้างไว้การรบพุ่งของผีของปู่เจ้ากับอารักษเทวา ภูติผีแห่งเมืองสรวง  ผีข้างเมืองสรวงพ่ายหนี ปู่เจ้าฯ เจ้าจึงใช้ "สลาเหิน"ลอยขึ้นฟ้าแล้วไปตกลงบนในพานหมากของพระลอ  ครั้นพระลอเสวยหมากมนต์ก็เกิดอาการต้องมนต์ จนปู่หมอสิทธิชัยไม่อาจแก้ไขได้

พระลอคลั่งครวญคร่ำร่ำสู่เมืองสรอง  อ้างปดพระมารดาเพื่อขอไปเที่ยวป่าแต่พระมารดารู้ทันก็ไม่ให้ไป        พระลอก็ได้แต่ทุกข์ถึงคลั่งเพ้อ  เหล่าอำมาตย์มนตรีแนะให้แต่งสารไปสู่ขอพระเพื่อนพระแพงแต่พระลอดึงดื้อจักไปเองรเมื่อพระมารดาไม่สามารถที่จะดึงรั้งพ พระลอได้ จึงได้แต่ครวญคร่ำ พร่ำสอน อวยพรชัย  

โคลง๔

    o จำใจจำจากเจ้า                             จำจร

จำนิราศแรมสมร                                 แม่ร้าง

เพราะเพื่อจักไป รอน                           อริราช แลแม่

จำทุกข์จำเทวศว้าง                               สวาดิว้าหวั่นถวิล ฯ

    o สิ่งใดในโลกล้วน                                       อนิจจัง

คงแต่บาปบุญยัง                                               เที่ยงแท้

คือเงาติดตัวตรัง                                               ตรึงแน่น อยู่นา

ตามแต่บุญบาปแล้                                            ก่อเกื้อรักษา ฯ

    o จากนุชเรียมขุ่นไข้                                     อารมณ์ เรียมนา

จากที่สมไปสม                                                เกลือกแคล้ว

ผิจักอยู่อกกรม                                                 เกรียมสวาท นาแม่

จำพี่จำจากแก้ว                                                ไป่ช้าคืนสม ฯ

    o พระไปแม้พระได้                                     สมสอง

ไหนจะคืนคงครอง                                           ครอบเกล้า

อย่าคิดอย่าจงปอง                                            สองปล่อย มาฤๅ

สองจักลองโลมเล้า                                           อยู่ว้าวังขัง ฯ

    o จำจากใช่จากด้วย                                      ชังสมร แม่นา

จากแม่รักฤๅรอญ                                             ขาดได้

เด็จบัวแม่เด็จอร                                               ยังเยื่อ ใยนา

ไปบ่ลืมน้องไท้                                                อย่าร้อนรนทรวง ฯ

    o สุดทานสุดทัดท้าว                                     สุดบุญ

ทรงโศกพักตรซบซุน                                        ร่ำไห้

เหนือบาทยุคลขุน                                             ครวญคร่ำ ไปนา

สยายเกศเช็ดบาทไท้                                        ธิราชไว้เปนเฉลิม ฯ

    o เห็นโศกเพิ่มโศกท้าว                                 กลอยนาง

พลางพระโลมนุชพลาง                                     ปลอบน้อง

อย่าโศกจะเปนลาง                                           ในพฤกษ์ ไพรนา

ดับทุกข์ดับเทวษข้อง                                         ขุ่นแค้นเสียโฉม ฯ

    o เสร็จโลมเสร็จสั่งเจ้า                                 จอมสนม

สนมอยู่อย่าเกรียมกรม                                     อกไหม้

ปวงนางรับคำคม                                             บัวบาท ท่านนา

ซบสอึกสอื้นไห้                                               แซร่ซร้องแรงโรย ฯ

    o เสียงโหยเสียงไห้มี่                                   เรือนหลวง

ขุนหมื่นมนตรีปวง                                           ป่วยซ้ำ

เรือนราษฎร์ร่ำตีทรวง                                      ทุกข์ทั่ว กันนา

เมืองจะเย็นเปนน้ำ                                           ย่อมน้ำตาครวญ ฯ

    o เห็นไห้ทุกหมู่ถ้วน                                    หญิงชาย

ใจสั่นรันทดกาย                                               ท่านไท้

สูเอยอย่ากรรหาย                                            เหิมโศก นักนา

ทุกข์นักมักเกิดไข้                                             มักไข้พลันตาย ฯ

 

                เมืองสรวง จึงได้จัดแต่กองทัพ เพื่อส่งเสด็จพระลอสู่เมืองสรอง

ร่าย
                o ธงหน้าเดินนำพล ธงโบกบนสัญญา เคลื่อนพลดาโดยด่วน ถ้วนทุกหมู่ทุกหมวด ขุนตำรวจสารวัด จัดแจงเดินคู่เคียง ม้าเดินเรียงเดินราย ขยายระยะโดยควร นายถือทวนหมายมาด ภู่แดงดาษปลิวปลาย สพายแล่งศรมหิมา เครื่องอาชายรรยง งามบรรจงเพริศแพร้ว ล้วนแก้วก่องแกมมาศ อัศวชาติสินธพ แลเลิศลบเผ่นผยอง ลองเชิงร้องเครงครื้น สู้ศึกยืนบ่มิพ่าย นายขี่ขับเข้มแขง ล้วนตำแหน่งยศเจ้าหล้า ขุนม้าหมื่นม้าครัน พันม้านายม้ามาก พิศโสภาคย์โสภา มากดาษดาแต่งแง่ แผ่ตนตามเจ้าหล้า แห่ไปหน้าก็มาก แห่หลังหลากเหลือหลาย แห่ฝ่ายซ้ายดาษดา แห่ฝ่ายขวาดาษเดียร พิศเพียนพร้อมงามสรรพ คณนานับบมิถ้วน ล้วนม้าลักษณ์ม้าเลิศ เฉกโฉมเฉิดแหล่งหล้า พิศยิ่งงามถ้วนหน้า ยิ่งม้าเมืองบน
ร่าย
    o แลพวกพลยรรยง ธงนำพลยยับ ดับกองร้อยกองพัน แห่กองกันกองแล่น แห่แหนแน่นขุนหมื่น ดูระรื่นมหิมา คณนาไปสล้าง พวกพลด้างพลดาบ พลกำซาบธนู ดูพลหอกพลห้าว ดูพลง้าวพลงาม พลเขนตามเสโลห์ โตมรสลอนปืนไฟ ย่อมพลไกรโอ่อ่า งามสง่าพรรณราย ไพร่เดิรนายเดิรดับ สำรับถ้วนขุนหาญ ขี่สารสูงแกล้วกล้า ดาบหน้าสลาบครุฑควร เดิรโดยขบวนแหนแห่ นายแวงแหล่เหลือหลาย นายแวงซ้ายแวงขวา นายแวงหน้าแวงหลัง แวงจัตุลังคบาท รักษาราชนฤบดี นายแวงสี่ตีนช้าง ข้างพระคชกรรกง แวงองครักษ์ตำรวจ กวดขันแหนแห่ห้อม ล้อมพระคชสำหรับ ขับทวิรถรัตนาสน์ พลหน้าดาษดูยง อลงกตกุญชร บวรวิภูษา เครื่องราชาธิราช งามถึงขนาดเพริศพร้อม งามเครื่องงามพลห้อม เสด็จไท้พระบาท ท่านนา ฯ

 

               

ระหว่างที่พระลอเดินทางสู่เวียงสรองนั้นได้ชื่นชมความสวยงามและรื่นรมย์ของป่า และชมนกชมไม้ในป่าแสดงถึงความรอบรู้ในพรรณพฤกษาแลคณาสัตว์ความเชี่ยวชาญอักษรศิลป์อย่างยิ่งของผู้ทรงนิพนธ์มีการเปรียบเปรยแลเล่นคำอย่างวิจิตร สละสลวย

ร่าย
    o คลี่ไคลพลผาดผ้าย แลนา คลับคล้ายถึงทุ่งนา แลนาคลับคลาถึงทุ่งหญ้า แลนา หัวหน้าเข้าพงเลา แลนา พลเทาถึงพงแฝก แลนาพงแขมแทรกคาพงแลนา ถึงป่าดงป่าแดง แลนา เห็นระแหงแหล่งไหล้ แลนา เห็นหมู่ไม้หนั่นหนาแลนา ราชาชมชื่นชี้ แลนา คือไม้หมู่นี้นี้ ชื่อโอ้นามใด แลนา ฯ
โคลง ๒

    o พลจรใจจำหมั้น                            ทูลชื่อไม้นั้นนั้น

แด่ไท้ทุกอัน ฯ                                      

    o ครั้นธรู้ตระหนักแล้ว                       ลอราชชมไม้แก้ว

เหมือนดั่งแก้วกลอยใจ                            พี่นา ฯ


โคลง ๔

    o แอ่นเคล้าเหมือนแม่เคล้า                  คลอคลึง พี่นา

หอมกลิ่นเรียมคิดถึง                               กลิ่นเจ้า

สุกกรมพยอมพึง                                   ใจพี่ พระเอย

เหมือนกลิ่นอรหนุ่มเหน้า                          พี่ต้องติดใจ บารนีฯ

    o นางแย้มเหมือนแม่แย้ม                    ยินดี ร่อนา

ต้องดุจมือเทพี                                     พี่ต้อง

ช้องนางคลี่เกศี                                    นุชคลี่ ลงฤๅ

รักดุจเรียมรักน้อง                                  ร่วมรู้รักเรียม ฯ

    o ยมโดยประดุจเจ้า                          จงโดย

ใบโบกคือนุชโชย                                   เรียกข้า

เรียมเห็นเกดเรียมโหย                             หาเกศ นุชแม่

วัลย์โอบเอวไม้อ้า                                  อ่อนอ้อมเอวเรียม ฯ

    o เล็บมือนางนี้ดั่ง                            เล็บนาง เรียมนา

ชมม่านนางหวังต่าง                              ม่านน้อง

ชมพูสไบบาง                                      นุชคลี่ ลงฤๅ

งามป่านี้ไม้ปล้อง                                  แปลกปล้องคอศรี ฯ


ร่าย
    o พระลอเสด็จลีลา ชมพฤกษาหลายหลาก สองปลากข้างแถวทางยางจับยางชมฝูง ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสาสู่กระสังรังเรียงรังรังนาน ไก่คราญไต่หงอนไก่ ไผ่จับไผ่คู่คลอ ตอดตอจับไม้ตอดตับคาลอดพงคาคล้าคลาจงจับคล้า หว้าจับหว้าลอดแล คับแคจับแคป่า ดอกบัวล่าชมบัวกระเวนวังนัวกระเวนดงช่างทองลงจับทองยั้ว แขกเต้าตั้วเต้าแขก ไต่ไม้แมกไปมา บ่รู้กี่คณาชมผู้ขมพิหคเหิรรู้ เรียกร้องหากัน ฯ

 

โคลง ๔

    o กาจับกาฝากต้น                            ตุมกา

กาลอดกาลากา                                   ร่อนร้อง

เพกาหมู่กามา                                     จับอยู่

กาม่ายมัดกาซร้อง                                กิ่งก้านกาหลง

    o ตาเสือเสือผาดผ้าย                        หนีทาง

กวางแนบหูกวางฟาน                             ฟิดเร้น

ช้างน้าวหมู่บงทราง                               ซอนอยู่

ช้างลอดอ้อยช้างเหล้น                            ป่าลี้ลับดง

    o ลางลิงลิงลอดไม้                           ลางลิง

แลลูกลิงลงชิง                                     ลูกไม้

ลิงลมไล่ลมติง                                    ลิงโลด หนีนา

แลลูกลิงลางไหล้                                  ลอดเลี้ยวลางลิง


ร่าย
    o หวดเหียงหาดแหนหัน จันทน์จวงจันทน์แจงจิก ปริงปรงปริกปรูปรางคุยแคคางค้อเค็ด หมู่ไม้เพล็ดไม้พลอง หมู่ไม้ฟองไม้ไฟ ไม้ไผ่ไพไม้โพไม้ตะโกตะกูไม้ลำภูลำแพง หมู่ไม้แดงไม้ดัน ไม้สมพันสารภี ไม้นนทรีทรบูนคูนกำกูนกำยานไม้พิมานขล้อขลาย ไม้กำจายกจับบก ไม้กทกรกสักสน คณนามีหมู่ไม้กล่าวแต่พอจำได้กว่านั้นยังเหลือ แลนา

โคลง ๒

    o ไม้เครือไม้กุ่มก้อม                          ค้อมเกี้ยวกลลำย้อม

ยอดม้วนใบงาม                                   บารนี

    o ดอกดวงซามช่อช้อย                        หอมตลบอบสร้อย

เร่งน้อยใจถึง                                       แม่ฮา

    o คำนึงหลังห่วงหน้า                         ใจพี่เพี้ยงเปนบ้า

เพื่อร้างแรมสมร                                   มาแล

ถึงเขตแดนเมืองสรองให้ทัพหลวงกลับคงเหลือผู้ติดตาม ๑๐๐ คน กับพี่เลี้ยงทั้งสองปลอมตัวเป็นขุนด่าน

เมืองสรองมาตรวจด่าน เข้าสู่เมืองสรองโดยราบรื่น  เมื่อข้ามแม่กาหลงแล้วลงสรงพระลอบังเกิดจิตคิดถึงพระมารดาขึ้นมาอย่างประหลาด "บาปสิ่งใดจำให้ลูกร้อนใจถึง"   อีกทั้งละล้าละลังหวั่นไหว จะไปต่อหรือคืนหลังดี 

    (เพลง) ลาวครวญ
   "
โอ้พระชนนีศรีแมนสรวงจะโศกทรวงเสียวรู้สึกระลึกถึง
ไหนทุกข์ถึงบิตุรงค์ทรงรำพึง ไหนโศกซึ้งถึงตูคู่หทัย
ร้อยชู้หรือจะสู้เนื้อเมียตน เมียร้อยคนหรือจะสู้พระแม่ได้
พระแม่อยู่เยือกเย็น ไม่เห็นใคร หรือกลับไปสู่นครก่อนจะดี
พี่เลี้ยงตรองพลางสนองพระดำรัส เห็นชอบชัดเชิญคืนบุรีศรี
เฉลิมกรุงบำรุงประชาชี ใหัเป็นที่เกษมสุขสืบไป
โอ้บพิธ ยิ่งคิดยิ่งขัดข้อน ครั้นจะจรก็ห่วงนครใหญ่
ครั้นจะคืนก็เกรงคนไยไพ ว่าท่านไท้คร้านขลาด ประดาษชาย
นายแก้วนายขวัญพลันเสนอ ใครจะเพ้อครหาว่าเสียหาย
หรือไปหน่อยจึ่งค่อยเอื้อนอุบาย หมดฉินยินร้ายทุกทาง
มา กูจะเสี่ยงน้ำลองดู ผิว่ากูรอดฤทธิ์ผีสาง
น้ำใสจงไหลควะควั่งคว้าง กูอับปาง น้ำเฉนียนจงเวียนวน" 

ร่าย
    o ถึงแม่น้ำกาหลง ปลงช้างชิดติดฝั่ง นั่งสำราญรี่กันแล้วธให้ฟันไม้ทำห่วงพ่วงเปนแพสรรพเสร็จ ธก็เสด็จข้าม แม่น้ำแล้วไส้ ให้แผ้วที่ประทับดุจสำหรับขุนด่านแล้วท่านเสด็จสรง สีเผ้าผงชำระ สระพระเกศเสร็จแล้ว ใจราชคิดแคล้วแคล้วถึงท่านไท้มารดา ท่านนา ฯ

โคลง ๒

    o คิดปรานีออกไท้                            รอยราชละห้อยไห้

ถึงลูกแล้ณหัว                                     ลูกเอย

โคลง ๔  

    o เจ็บรักเจ็บจากช้ำ                           เจ็บเยียว ยากนา

เจ็บใคร่คืนหล้งเหลียว                             สู่หย้าว

เจ็บเพราะลูกมาเดียว                              แดนท่าน

เจ็บเร่งเจ็บองค์ท้าว                                ธิราชร้อนใจถึง ลูกฤๅ

    o เจ็บถึงบิตุราชแล้ว                          ถึงกู เล่านา

เจ็บอยู่คนเดียวดู                                   ละห้อย

เจ็บเยียวราชศัตรู                                  ดูหมิ่น แคลนนา

เจ็บเร่งเจ็บค้อยค้อย                                ชอบม้วยเมือมรณ์

    o ร้อยชู้ฤๅเท่าเนื้อ                             เมียตน

เมียแล่พันฤๅดล                                   แม่ได้

ทรงครรภ์คลอดเปนคน                            ฤๅง่าย เลยนา

เลี้ยงยากนักท้าวไท้                                ธิราชผู้มีคุณ

    o อย่าไปพหน้าจัก                             คืนเมือ ฤๅพี่

หาสมเด็จบุญเหลือ                                เลิศไท้

จรทกจรเทอญเขือ                                  วานช่วย ริรา

บาปสิ่งใดจำให้                                    ลูกร้อนใจถึง ฯ

 

 

 

 

พระลอให้นายแก้วนายขวัญสืบเสาะแลตีสนิทติดสินบน จนรู้ตำแหน่งแหล่งที่ถึงอุทยานพระเพื่อนพระแพงแล้วจัดแบ่งผู้ติดตาม
               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ฝ่ายนางรื่นนางโรยร้อนใจเรื่องพระลอ จึงไปเตือนปู่เจ้าฯ ปู่เจ้าฯจึงบอกให้รู้ว่าพระลอเข้ามายังเมืองสรองแล้ว ปู่เจ้าฯจึงคัดเลือกไก่มาทำพิธีเพื่อเสกผีเข้าสิงในไก่ให้ไปล่อพระลอ พระลอหลงตามไก่มาจนถึงเขตหมู่บ้านแล้วไก่ก็บินหายวับไป

(สร้อยแสงแดง)
สร้อยแสงแดงพะพรายขนเขียวลายระยับ ปีกสลับเบ็ญจรงค์ เลื่อมลายยงหงสบาท
ขอบตาชาดพะพริ้ง สิงคลิ้งหงอนพรายพรรณ ขานขันเสียงเอาใจเดือยอ่อนใสสีลำยอง
สองเท้าเทียมนพมาศ ปานฉลุชาดทารงค์ ปู่กระสันให้ผีลง ผีก็ลงแก่ไก่
ไก่แก้วไซร้บ่มิกลัว ขุกผกหัวองอาจ ผาดผันตีปีกป้องร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน
เสียงขันขานแจ้วแจ้ว ปู่สั่งแล้วทุกประการ บ่มินานผาดโผนผยองโลดลำพองคะนองบ่หึง
มุ่งถับถึงพระเลืองลอ ยกคอขันร้องตีปีกป้องผายผันลั่นเรื่อยเจื้อยไจ้ไจ้
แล้วไซ้ปีกไซ้หางโฉมสำอางสำอาจกรีดปีกวาดเวียนเย้าคอยล่อพระลอเจ้าจับต้องดำเนินแลนา"

 

พระลอกับพี่เลี้ยงจึงต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ในสวนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับสวนของพระเพื่อนพระแพง จากนั้นพระลอก็ได้ปลอมเป็นพราหมณ์ชื่อเจ้าศรีเกศ ส่วนนายแก้วนายขวัญเปลี่ยนชื่อเป็นนายรัตน์นายราม ทำทีว่าเป็นนักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสแวะเข้ามาชมเมืองสรอง ระหว่างอยู่ในเมืองคนสนิทของพระลอก็พยายามผูกมิตรกับชาวเมืองบ้าง ติดสินบนบ้าง พระลอจึงได้รับความสะดวกเป็นอันดี จนกระทั่งได้มีโอกาสเข้าไปชมและพักอยู่ในสวนของพระเพื่อนพระแพงคืนหนึ่ง คืนดังกล่าวทั้งสองฝ่ายก็ฝันเป็นนิมิตว่าจะได้คู่ รุ่งเช้านางรื่นนางโรยจึงรีบไปที่สวน  เมื่อพี่เลี้ยงทั้งสี่พบรักกันในสระบัวนางรื่นนางโรยสอบถามชื่อเสียงเรียงนามแลหัวนอนปลายตีนของนายแก้วแลนายขวัญ

                นายแก้ว นายขวัญจึงบอกความจริง  นางรื่น นางโรยเข้าเฝ้าพระลอเพื่อเชิญพระลอเข้าพักยังสวนหลวง  พระลอแสดงคารม ฝากถ้อยคำไปยังสองศรีพระพี่เลี้ยงนำความไปแจ้งพระเพื่อนพระแพง ซึ่งร้อนรุมอยู่รอท่า พระเพื่อนพระแพงรับรู้ความแลถ้อยคำพระลอจากนางรื่นนางโรย แล้วไปขออนุญาตพระย่าเที่ยวเล่นในอุทยานหลวง  พระย่าชื่นชมแลย้ำเตือนครรลองครองตน
                นางโรยนางรื่นจัดแจง พระเพื่อนพระแพงขึ้นพระตำหนักซึ่งพระลอแลพี่เลี้ยงเร้นรอท่าอยู่ !

 พระลอซ่อนตัวและลอบรักกับพระเพื่อนพระแพงอยู่ได้ครึ่งเดือน เรื่องก็รู้ถึงท้าวพิชัยพิษณุกรผู้บิดา ท้าวพิชัยพิษณุกรจึงลอบมาดูเหตุการณ์ แต่เมื่อได้เห็นพระลอก็เกิดความเมตตาจนดับความโกรธที่มีอยู่ได้จึงปรากฏกายให้พระลอเห็น ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงอภัยในความผิดที่เกิดขึ้นและตรัสว่าเมื่อได้ฤกษ์งามยามดีจะทำพิธีอภิเษกให้

                เมื่อเจ้าย่าซึ่งเป็นพระแม่เลี้ยงของท้าวพิชัยพิษณุกรรู้ข่าวดังกล่าวก็ยิ่งแค้น ด้วยยังผูกใจเจ็บเรื่องครั้งเก่าอยู่ จึงขอให้ท้าวพิชัยพิษณุกรย้อนนึกถึงเรื่องครั้งอดีตและอย่าคิดไว้ใจศัตรู แต่ท้าวพิชัยพิษณุกรไม่ฟัง นางจึงออกอุบายทำเป็นว่าท้าวพิชัยพิษณุกรให้สิทธิ์นางสั่งการทหารกำจัดพระลอเสีย โดยให้ดำเนินการทุกอย่างเป็นความลับ ตกดึกก็ให้ทหารเข้าล้อมจับพระลอ นายแก้วนายขวัญนำเรื่องทหารล้อมตำหนักไปบอกพระลอ พระลอคิดสู้ ทุกคนจึงยอมตายตาม พระเพื่อนพระแพงพร้อมทั้งนางรื่นนางโรยจึงเปลื้อง เครื่องแต่งกายที่เป็นสตรีออกจนดูเหมือนชายทั้งหมด แล้วถือดาบเข้ารบกับทหารเหล่านั้นแบบรบพลางหาทางหนีพลางจนสุดกำลัง สุดท้ายมาถึงประตูปราสาทก็ไม่อาจต้านกำลังพลและอาวุธที่ยิงใส่ได้ นายแก้วนายขวัญนางรื่นนางโรยที่นำหน้ามาก็ต้องหน้าไม้นอนตายก่ายกัน ส่วนพระลอพระเพื่อนพระแพงนั้นก็สู้ต่ออย่างอาจหาญ ทหารก็ยิงหน้าไม้อาบยาพิษใส่ไม่ยั้ง จนทั้งสามสิ้นใจไปทั้งๆที่ยังคงยืนอิงกันหันหน้าสู้อยู่ จนดูเหมือนกับว่ายังไม่ตาย

                เมื่อท้าวพิชัยพิษณุกรทรงราบข่าว ก็สั่งให้จับทหารและเจ้าย่าซึ่งเป็นเจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงนั้นไปประหาร แล้วจึงให้จัดการพระศพสามกษัตริย์และพี่เลี้ยง จากนั้นจึงให้ทูตไปแจ้งข่าวแก่พระนางบุญเหลือที่เมืองแมนสรวง พระนางบุญเหลือได้แต่งทูตพร้อมทั้งเครื่องบูชาศพเดินทางไปยังเมืองสรอง เมื่อเสร็จการถวายเพลิงศพแล้ว ก็ให้สร้างสถูปขึ้นสามองค์เพื่อบรรจุอฐิอังคารสามกษัตริย์และพี่เลี้ยง และนับแต่นั้นมาเมืองสรวงและเมืองสรองก็กลับมามีไมตรีต่อกัน

 

 

จากสรองสู่สอง

 

เรื่องพระลอจบคงเหลือเอาไว้แต่ข้อคิด ข้อคำถามมากมายเอาไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เป็นต้นว่า ใครประพันธ์ลิลิตพระลอ  พระลอเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่  มีหลักฐานอะไรที่บ่งชี้ว่าอำเภอสองคือเวียงสรองในลิลิตพระลอ นอกเหนือไปจากนั้น ยังมีคำถามเกี่ยวกับบทบาทของตัวละครเอกของเรื่องซึ่งเป็นเรื่องชู้สาว เรื่องคุณธรรมจริยธรรม และยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากมายทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

ในฐานะที่ผู้เล่าเป็นผู้ที่ได้ศึกษาและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับลิลิตพระลอมาค่อนข้างนาน เคารพในทุกความคิด ทุกเหตุผล ทุกคำพูดที่วิพากย์วิจารณ์ ขอแสดงความคิดเห็นเพื่อตอบโจทย์เล็กน้อย อาจเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการและสร้างทัศนมุมมองในอีกด้านหนึ่งให้แก่ผู้มาเยือนเวียงแห่งความรักอมตะ

โดยผู้เล่ารู้สึกว่า อาจเป็นเพราะผู้ที่เคยวิพากย์วิจารณ์ไม่เชื่อมั่น หรือมีความรู้สึกที่อยู่บนพื้นฐานของวิถีชีวิตในปัจจุบัน และเอาไปกำหนดชี้วัดเรื่องราวในอดีตที่มีระยะเวลาห่างกันเป็นหลายร้อยปี  หรืออาจพิจารณาโดยมีอคติมองโลกทั้งในแง่บวกหรือในแง่ลบอยู่ตลอดเวลา หรือบางท่านก็ฟันธงลงไปชัดๆเลยว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็มี

พูดถึงอำเภอสอง พบว่าในจังหวัดแพร่ไม่ปรากฎว่ามีอำเภอหนึ่งหรืออำเภอสามเลย  ดังนั้นคำว่า สอง จึงไม่น่าจะเป็นการตั้งชื่อโดยอาศัยการเรียงลำดับของอำเภออย่างแน่นอน

ที่อำเภอสองมีชื่อแม่น้ำที่ไหลผ่านใจกลางอำเภอ คือ แม่น้ำสอง เป็นชื่อเรียกกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม ไม่เคยปรากฎว่าตั้งขึ้นใหม่ หรือมีการเปลี่ยนชื่อ ดังนั้นชื่ออำเภอจะมาจากชื่อของแม่น้ำสายหลักนี้หรือไม่

มีชื่อสถานที่ซึ่งถูกเรียกขานทำนองเดียวกับชื่อแม่น้ำ  คือพื้นที่ในป่าแม่สอง  มีคำว่า แม่สองใน    หรือมีการเรียกชื่อก้อนหินลักษณะเหมือนโลงศพคู่กัน  ชาวบ้านเรียกชื่อว่า สองหีดสองแล้ง(หีด =โลงศพ) คำที่ปรากฎไม่เคยมีใครบอกว่าตั้งขึ้นมาแต่เมื่อไหร่

มีสถานที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ ณ อุทยานลิลิตพระลอในปัจจุบัน มีเนินดินที่เชื่อว่าเป็นแนวกำแพงเมือง ๓ ชั้น  มีลักษณะเป็นสองเวียง ติดต่อกัน คือเวียงเหนือกับเวียงใต้ ลักษณะ เฉพาะนี้จะเป็นที่มาของการเรียกชื่อเวียงที่มีสองเวียง เป็น เวียงสอง หรือไม่

เวียงสองมีพระธิดาผู้เลอโฉมคือ พระเพื่อน และ พระแพง สองศรีพี่น้องคือที่มาของชื่อเวียงหรือไม่ โดยมีการเรียกขานเพื่อยกย่องพระธิดาทั้งสององค์

นอกจากนั้นหากพิจารณาตามลักษณะของการเขียนคำในภาษาลานนาพบว่ามีการใช้ ระฯ  = ร(ระโฮง ) มากมาย แต่การออกเสียง คนลานนาไม่ออกเสียง ร เช่น

กรฯาบฯฯ  ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า  กราบ  คนลานนาออกเสียงเป็น  ขาบ

โกรฯ฿ธฯ  ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า  โกรธ  คนลานนาออกเสียงเป็น โขด

พรฯ   ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า  พระ  คนลานนาออกเสียงเป็น  พะ

สรฯ   ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า  สระ  คนลานนาออกเสียงเป็น  สะ  หรือ  สะละ

เป็นไปได้หรือไม่ว่า คำว่า สอง  อาจมาจากคำลานนาโบราณว่า สรฯอฯง ตามอักขระ น่าจะอ่านว่า สรอง  แต่คนลานนาออกเสียงเป็น  สอง

นอกจากนั้นยังมีชื่อบ้านเมืองที่เขียนทำนองเดียวกัน เช่น อำเภอ แม่สรวย  น่าจะอ่านว่า  แม่สะรวย  แต่กลับออกเสียงเป็น  แม่สวย  หรือ  อำเภอบ่อสร้าง  ออกเสียงเป็น  บ่อส้าง เป็นต้น

อำเภอสองจึงน่าจะมาจาก สอง ที่เป็นการออกเสียงของ สรฯอฯง = สรอง  ของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นชาวลานนามากกว่า

ปุจฉา(ที่ไหนเอ่ย ?)            เป็นดินแดนอมตะแห่งความรัก         มีไม้สักมากมายมหาศาล

                        มีแหล่งน้ำลือนามงามตระการ                      ใครแตกฉานรู้รอบช่วยตอบที

วิสัชนา               เมืองนั้นคือเมืองสองที่ครองรัก         ของพระลอผู้เลอศักดิ์กับสองศรี

                        พระเพื่อนไธ้แพงทองสองนารี                       ตามวจีบอกเล่าเก่าก่อนมา

                        มีดงสักอยู่ตอนเหนือแก่งเสือเต้น      เขาว่าเสือมันเผ่นบนแผ่นผา

                        ยังมีรอยวนกลับประทับตรา                        รอยที่ว่ายังเหลืออยู่คู่แก่งงาม

มีข้อความที่ขออนุญาตคัดลอกจากงานเขียนของ เจริญ จันทรมณีในเอกสารเผยแพร่เชิงวิชาการ ที่จัดพิมพ์ในโอกาสสมโภชศาลเจ้าแม่นางสิบสอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๗  ตอนหนึ่งว่า หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล ได้ทรงเขียนเผยแพร่ในหนังสือ เรื่อง เที่ยวเมืองแพร่-น่าน ไว้ว่า เมืองสอง หรือสรอง นี้อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสองราว ๒ ๓ กิโลเมตร มีกำแพงเป็นเนินดิน ๓ ชั้น เหมือนอย่างเมืองสุโขทัยเก่า  ชั้นนอกต่ำ ชั้นกลางสูงกว่าชั้นนอกเล็กน้อย ชั้นในสูงสุดประมาณ ๖ เมตรเศษ  คูเมืองระหว่างเชิงเทินดินคะเนส่วนกว้างประมาณ ๖ เมตร  ตอนท้องคูของกำแพงกว้างประมาณ ๒ เมตรเศษ  ประตูเมืองแต่ละชั้นทำเหลื่อมล้ำไว้ชั้นเชิงสำหรับทางหนีทีไล่  ลักษณะของตัวเมืองตามคำบอกเล่าของชาวบ้านว่า  เป็นรูปรีๆ ทำนองรูปไข่ กว้างประมาณ ๒๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร มีลำน้ำสรองไหลเข้าทางทิศตะวันออกไหลผ่านใกล้ตัวเมืองนี้ไปบรรจบแม่น้ำยมที่บ้านหนุนใต้  กระแสน้ำแม่น้ำสรองไหลเข้าทำลายกำแพงเมืองพังไปบางตอน เมื่อราว ๓๐ ปีล่วงมา  กระแสน้ำเปลี่นยนทางเดินห่างกำแพงเมืองออกไปบริเวณแถบนั้นจึงเกิดเป็นหมู่บ้านผู้คนขึ้น  เรียกว่า บ้านต้นผึ้ง หมู่ ๑ ห่างตัวเมืองสรองออกไปมีเขาพระเพื่อนพระแพง ชาวพื้นเมืองมักเรียกว่า ผาพี่ผาน้อง

จากซากเมืองร้าง หากพิจารณาสภาพภูมิประเทศของเมืองสรองและเมืองที่ใกล้เคียงที่อาจเกี่ยวข้องในเรื่องพระลอ เช่น แถวจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง ซึ่งมีสภาพเป็นป่าเขา แม่น้ำ ลำห้วย และแถบนี้มักมีเรื่องราวเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ ไสยศาสตร์ลึกลับ ตามคำเล่าขานกันมาแต่กาลก่อน ซึ่งเรื่องเหล่านี้สนับสนุนให้เชื่อว่า เมืองสอง น่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกับคำว่า เมืองสรอง ในลิลิตพระลอ ซึ่งการเรียกขานนานไป ตัว ร อาจเพี้ยนไป ตามภาษาพื้นเมืองเพราะไม่นิยมตัวควบกล้ำ

 

เมืองสรองในอดีตโดยปู่เจ้าสมิงพรายเคยใช้เวทมนต์และกองกำลังอันประกอบด้วยภูติผีปีศาจมากมาย เพื่อเอาชนะอารักษ์ผู้คุ้มครองเมืองสรวงจนสามารถทำให้พระลอหลงไหลเพ้อคลั่ง จนอยากเสด็จมาหาพระเพื่อนพระแพงแห่งเมืองสรองได้นั้น  แสดงให้เห็นว่า

เมืองสรองมีความเชี่ยวชาญในการใช้เวทมนต์  มีหมอผู้ขมังเวทย์และทรงไว้ซึ่งความสามารถมากกมาย นอกจากนั้น แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์และความเคารพนับถือเรื่องภูติผีปีศาจเป็นความเชื่อของคนในสังคมยุคนั้น ดังปรากฎในร่ายบทหนึ่ง ข้อความว่า

ปู่รำพึงถึงเทพดา  หากันมาแต่ป่า  มาแต่ท่าแต่น้ำ  มาแต่ถ้ำคูหา  ทุกทิศมานั่งเฝ้า  พระปู่เจ้าทุกตำบล  ตนบริการทุกหมู่  ปู่แต่งพนัสบดี  ศรีพรหมรักษ์  ยักษ์กุมาร  บริพารภูติปีศาจ  ดาเดียรดาษมหิมา  นายกคนและคน  ตนเทพผู้ห้าวผู้หาญ  เรืองฤทธิ์ชาญเหลือหลาย  ตั้งเป็นนายเป็นหมู่  ตัวขุนให้ขี่ช้างบ้างให้ขี่เสือ  ขี่สีห์  บ้างขี่หมี  บ้างขี่งูขี่เงือก  ขี่ม้าเผืกผันผาย  บ้างขี่ความขี่แรด  แผดร้องก้องหน้ากลัว  ภูมิแปรตัวนายหลาก  แปรเป็นกากภาษา  เป็นหัวกาหัวแร้ง  แสร้งเป็นหัวเสือหัวช้าง  เป็นหัวกวางหัวฉมัน  ตัวต่างกันพิลึก  ละคึกกุมเครื่องจะยุทธยงยิ่ง  เต้นโลดวิ่งระเบง  คุกเครงเสียงคะครื้น  พื้นไม้ไหล้หินผา  ดาษดากันผาดเผ้ง  ระเร้งร้องก้องกู่เกรียง  เสียงสะเทือนธรณี  เทียบพลผีเสร็จสรรพ  ปู่ก็บังคับทุกประการ

กองกำลังดังกล่าวเป็นพลพรรคที่อยู่ในการควบคุมดูแลของปู่เจ้าสมิงพราย เรียกว่าเป็นกองทัพอันเข้มแข็งและน่าสพรึงกลัวทีเดียว  นั่นคือเมืองสรองในอดีต

 

แม้เวลาผันผ่านไปจนทำให้เราลืมอดีตจนแทบหมดสิ้น  แต่เมืองสองหรืออำเภอสองยังมีการสืบทอดประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับภูติผีมากมาย  ผีที่ดีได้แก่ผีที่ปกป้องคุมครองรักษาบ้านเมืองยังได้รับการเคารพนับถือกราบไหว้  มีการสร้างศาลให้เป็นที่สิงสถิต  ยกตัวอย่างเช่น  นางสิบสอง เป็นที่เคารพนับถือมีศาลถาวรเด่นเป็นสง่า ตรงบริเวณทางแยกเข้าสู่เมืองสอง

นางสิบสองเป็นนางไม้ หรือพรายไม้จากจำนวน ๑๐๑ นางซึ่งเป็นกำลังพลของปู่เจ้าสมิงพราย โดยทั้งสิบสองนางได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่ทางเข้าสู่เมืองสอง  ( ไม่ใช่นางสิบสองใน”พระรถ-เมรี”เป็นคนละเรื่องกัน )  โดยทั้งสิบสองนางมีชื่อเรียงตามลำดับดังนี้

๑.  บัวลม                 ๒.  บัวลอย                           ๓.  เกี๋ยงคำ                            ๔.  สีบัวตอง          

๕.  คำเฮียว              ๖.  คำเครือ                          ๗.  บัวเขียว                            ๘.  คำปวน

๙.  จุ๋มป๋าทอง          ๑๐.  จุ๋มป๋าเหลือง   ๑๑.  สีปูเลย                       ๑๒.  สีจมปูคำ

อ่านชื่อก็รู้ว่าเป็นผียุคโบราณแบบไทยเหนือ ๑๐๐ %  ปัจจุบันหากใครจะเดินทางเข้าสู่อำเภอสองจะต้องผ่านศาลนางสิบสอง โปรดให้ความเคารพนับถือกราบไหว้ ในฐานะที่ท่านเหล่านั้นเป็นผีที่ดีของอำเภอสอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                ภาพ ๑๓  ศาลเจ้าแม่นางสิบสอง ตำบลทุ่งน้าว  ทางเข้าสู่ตัวอำเภอสอง

 

มี”ปู่เจ้ากุมภัณฑ์”ซึ่งสิงสถิต ณ บริเวณ ศาลปู่เจ้ากุมภัณฑ์  สวนสาธารณะด้านหลังวัดคุ้มครองธรรม  เป็นผีอารักษ์ที่คุ้มครองบ้านเมืองอีกท่านหนึ่ง  มีคนเคารพนับถือเป็น”ลูกเลี้ยงเอี้ยงคำ” จำนวนมากมาย  เสียงร่ำลือในอิทธิฤทธิ์ของ ปู่เจ้ากุมภัณฑ์นั้นเป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน 

คำว่า”กุมภัณฑ์”  แปลว่า”ยักษ์” ปรากฎชื่อตามร่ายที่หยิบยกจากลิลิตพระลอว่า “ปู่แต่งพนัสบดี  ศรีพรหมรักษ์  ยักษ์กุมาร ฯลฯ”มาให้ผู้อ่านลองช่วยกันศึกษาและตีความ ว่าทำไมชื่อผีก็สอดคล้อง เหมือน กับเพิ่งจะแต่งเรื่องพระลอใหม่ๆว่างั้นเถอะ

ปัจจุบันศาลปู่เจ้ากุมภัณฑ์  ได้รับการสร้างขึ้นใหม่ สวยงามจนไม่เหลือเค้าโครงแบบโบราณ  ทำให้ดูเหมือนว่าทุกอย่างเพิ่งจะเนรมิตขึ้นมา  ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ถ้าจะคงไว้ซึ่งของเก่าก็ผุพังหมด  ก็เลยต้องทำใจ

 

 


  

 

 

 

 

                                ภาพ ๑๔  ศาลปู่เจ้ากุมภัณฑ์  ณ บ้านคุ้ม  ตำบลบ้านกลาง

 

อีกศาลหนึ่งเป็นศาลเก่าแก่ ยังมีลูกเลี้ยงเอี้ยงคำ ปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมา และมีชื่อสอดคล้องกับชื่อสถานที่ในลิลิตพระลอ คือศาลเจ้าแม่กากลง ตั้งอยู่ ณ บ้านเหล่าใต้ ตำบลบ้านกลาง

 
 

 

 

 

                 

 

 

 

 

      ภาพ ๑๖-๑๗   ศาลเจ้าแม่กาหลง ณ บ้านเหล่าใต้  ตำบลบ้านกลาง ปัจจุบันสร้างศาลใหม่แทนหลังเดิม

                                  แต่ยังมีต้นไม้โบราณขนาดใหญ่ด้านหลัง  เห็นแล้วบรรยากาศเยือกเย็น(สังเกตลำต้นและราก)  

                มีศาลสำคัญที่ชาวบ้านรู้จัก  เคารพกราบไหว้และพึ่งพาในรูปแบบต่างๆคู่กับอำเภอสองมานานจนไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าสืบสานกันมานานเท่าไหร่  แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีผู้คนไปพึ่งพาอยู่ไม่ขาดด้วยศรัทธาความเชื่อไม่เคยขาด ก็คือ ศาลปู่เจ้าสมิงพราย  แต่เดิมก็ไม่ได้ก่อสร้างใหญ่โตอะไร และด้วยสภาพที่ผุพังไปตามกาลเวลา ในปัจจุบันจึงมีผู้สร้างศาลใหม่ขึ้นมาทดแทน

                ศาลปู่เจ้าสมิงพรายมีหลายศาลและตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นเวียงสรองในอดีต คืออุทยานลิลิตพระลอและวัดพระธาตุพระลอ  คงจะมีเหตุผลจากผู้ที่ปฏิบัติว่าให้ใกล้และสะดวกเอาไว้ก่อน และเชื่อว่าไม่ว่าจะกราบกรานไหว้สา ณ ศาลใด  ปู่เจ้าสมิงพรายต้องทราบด้วยญาณด้วยอิทธิฤทธิ์ของท่านเสมอ

 

 

 

 

 

  

 

 

                ภาพ ๑๘    ศาลปู่เจ้าสมิงพราย ณ บริเวณใกล้วัดพระธาตุพระลอเป็นหนึ่งในจำนวนหลายศาลซึ่งมีผู้ไปไหว้สาไม่เคยขาด    

 

                ยังมีผีที่ชาวบ้านเคารพนับถืออีกมากมายตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งผีที่ประจำเขตพื้นที่และผีบริวารซึ่งเป็นผีที่ดี ขอนำมาบอกเล่าเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย  เช่น  เจ้าพ่อพญาอ้น  เจ้าพ่อพญาแก้ว  เจ้าพ่อมหานิล  เจ้าพ่อผาด่าน ฯลฯ  ผีแต่ละท่านได้รับมอบหมายให้ปกปักรักษาเป็นหมวดหมู่ราวกับการวางกำลังพลในตำราพิชัยสงครามเลยทีเดียวเหมือนดังปรากฎในร่ายว่า “บริพารภูติปีศาจ  ดาเดียรดาษมหิมา  นายกคนและคน  ตนเทพผู้ห้าวผู้หาญ  เรืองฤทธิ์ชาญเหลือหลาย  ตั้งเป็นนายเป็นหมู่  นอกจากนั้นยังมีผีบริวารแทบ ทุกพื้นที่ของเมืองสองดังรูปภาพที่ปรากฎ  มีผีเมืองก็ต้องมีผีบ้าน จึงเรียกรวมกันว่า “ ผีบ้านผีเมือง” 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                ภาพ ๑๙  ศาลที่ตั้งเอาไว้เพื่อไหว้ผีในต้นเดือนสี่(เหนือ) มีให้เห็นทั่วไป

 

สิ่งยืนยันถึงความเป็นดินแดนแห่งเวทมนต์ และความเชื่ออันศักดิ์สิทธิ์ของเมืองสองหรืออำเภอสองคงจะเชื่อมโยงมาจากอดีต และด้วยความสอดคล้องในชื่อต่างๆ จึงอดไม่ได้ที่จะคล้อยตามความเชื่อว่า เมืองสองคือเมืองสรองในอดีต  แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือในทางโบราณคดีที่ชัดเจน  สามารถพิสูจน์ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ 

 

อำเภอสองหรืองเมืองสองในปัจจุบัน

อำเภอสองตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดแพร่  ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ๔๙ กิโลเมตร  เป็นอำเภอเล็กๆ มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๙๐ ตารางกิโลเมตร  โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่อื่นดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับกับอำเภอดอกคำใต้  อำเภอเชียงม่วนจังหวัดพะเยา และอำเภอนาหลวง จังหวัดน่าน

ทิศใต้  ติดต่อกับอำเภอหนองม่วงไข่ และอำเภอลอง จังหวัดแพร่

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับอำเภองาว จังหวัดลำปาง

อำเภอสอง แบ่งการปกครองเป็น ๘ ตำบล ๖๓ และมีชาวไทยภูเขา ๒ เผ่า  ได้แก่  เผ่าอาข่า  และ  เผ่าม้ง

วิถีชีวิตของคนอำเภอสอง เป็นวิถีแบบเกษตร  พึ่งพาแม่น้ำสายหลัก ๒ สาย คือ แม่น้ำยม และแม่น้ำสอง  เป็นชีวิตที่สงบ เรียบง่าย  โดยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก  แม้ว่าจะมีการนับถือศาสนาอื่นอยู่บ้างเป็นจำนวนน้อย  ส่วนการนับถือผียังคงมีอยู่ทั่วไปตามอัตลักษณ์ของคนลานนาโดยทั่งไป คือ “ ไหว้พระ  แต่ถือผี  มีรอยสัก  และมักข้าวนึ่ง “  ( ปัจจุบันอัตลักษณ์นี้อาจเปลี่ยนไป )

 

 

 

 

 

 

 

 

                               

ภาพ ๒๐  พวงมาลัยไหว้ผีอาจพบเห็นทั่วไปแม้ในพื้นที่ซึ่งเป็นป่าเขาแสดงให้เห็นถึงการเคารพนับถือผี

                                               

หลายคนมีมุมมองตามจินตนาการหรือความคาดหวังของตนเองต่ออำเภอสองไม่เหมือนกัน อาจเป็นเพราะ วัย ประสบการณ์  ศรัทธา  ความเชื่อ หรือมีวุฒิภาวะต่างๆไม่เหมือนกัน  บางคนอาจประทับใจในความรักของสามกษัตริย์ ในวรรณกรรมลิลิตพระลอ  บางคนสนใจในอิทธิฤทธิ์ เวทย์มนต์ที่ชวนให้ตื่นเต้น  บางคนสนใจในความไพเราะสละสลวยของบทกวีนิพนธ์  บางคนอาจสนใจในแง่ของข้อเท็จจริง และบางคนยอาจสนใจในแง่การศึกษา เป็นต้น  จากมุมมองต่างๆ เหล่านั้นนำไปสู่การสนทนาที่ออกมาทั้งเชิงบวกและเชิงลบมากมาย

ผู้เขียนเองเป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจศึกษาเรื่องราวจากวรรณกรรมลิลิตพระลอ ได้รับฟังข้อคิดเห็นจากหลายๆคนตามมุมมองต่างๆเหล่านั้นด้วยความเคารพ  และมีมุมมองของตนเองอีกแบบหนึ่งว่า

กวีที่นำเสนอเรื่องราวในลิลิตพระลอ มีความสามารถเชิงภาษาเป็นพิเศษ จึงมีความไพเราะสละสลวย จนเป็นที่ยอมรับและบางบทถูกนำมาใช้เป็นแม่แบบในการเขียนฉันทลักษณ์ในภาษาไทยเช่น

    o เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง                       อันใด พี่เอย

เสียงย่อมยอยศใคร                                ทั่วหล้า

สองเขือพี่หลับใหล                                ลืมตื่น ฤาพี่

สองพี่คิดเองอ้า                                    อย่าได้ถามเผือ ฯ

 

 

 

 

และคำสอนที่ยอมรับจนไม่มีข้อโต้แย้งติติง เช่น

    o สิ่งใดในโลกล้วน                           อนิจจัง

   คงแต่บาปบุญยัง                                เที่ยงแท้

คือเงาติดตัวตรัง                                  ตรึงแน่น อยู่นา

ตามแต่บุญบาปแล้                               ก่อเกื้อรักษา ฯ

จึงสมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดลิลิต ตามที่วรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการประกาศยกย่องเอาไว้นับเป็นความภาคภูมิใจในฐานะที่เราเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเมืองสรองในลิลิตพระลอ  สมควรช่วยกันเผยแพร่คุณค่าดังกล่าวให้คนที่มาศึกษาเรียนรู้เรื่องลิลิตพระลอช่วยกันสืบสานต่อไป

อีกประการหนึ่งผู้เขียนมองว่าลิลิตพระลอเป็นดั่งคำสอน ที่สอดแทรกมากับเรื่องราวเหมือนกับคำสอนที่ปรากฎในคัมภีร์ใบลาน หรือเรียกว่า “ธรรมใบลาน”  ในการเทศน์ธรรมวัตรพื้นเมืองของชาวลานนา ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันการฟังธรรมมหาวัตรของชาวลานนาจึงเป็นการฟังเรื่องราวในชาดก  ที่ฟังแล้วเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวที่แฝงเอาไว้ด้วยธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างผสมกลม กลืน 

ลิลิตพระลอจึงเป็นคำสอนที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราว โดยไม่ได้เจาะจงว่าจะสอนใคร  อาจใช้เป็นคำสอนทั่วไป  สอนบทเรียนความรักโดยไม่ไตร่ตรองเหมือนรักของวัยรุ่น  สอนความรักระหว่างแม่ลูก  ความรักภรรยาที่มีต่อสามี  สอนเรื่องการปกครองคน  สอนเรื่องกรรมที่สร้างสมไว้จากรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แล้วผลแห่งกรรมกลับไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง  สอนเรื่องการพยาบาทจองเวรที่กลายเป็นโศกนาฏกรรมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลที่เรารัก  การสอนให้อภัยต่อกันจนนำไปสู่สันติสุขร่วมกัน  สอนจนกระทั่งชี้ให้เห็นว่า ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงตามหลักธรรมในพระพุทธสาสนา

มุมมองนี้เป็นมุมมองที่มีคุณค่ามากมาย  “ ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง “ ใช้สอนตัวเราเองได้  และพัฒนาตนเองได้  ในลิลิตพระลอมีคำสอนมากมาย หากใครสนใจมากกว่านี้ หากท่านตามรอยความรักเข้าสู่เวียงสรองแล้ว  ขอฝากท่านตามรอยคำสอนในลิลิตพระลอด้วย

 

ค่าวก้อมแสดงแง่คิด

ในลิลิตพระลอ

        เปนเภียงรูปนาม

           คำซอยอยศ  พระลอเล่าขาน  ต๋ามไนต๋ำนาน  ท่านว่าเหมือนแสร้ง  เกิดเปนรูปนาม  เลางามกล้องแกล้ง  ดั่งอินทร์แตล๋ง  มานั้น  เพื่อนไธ้แพงธอง  สองศรีเชื้อชั้น  จิตไจ๋สอดดั้น  แอบชม  บ่ได้พินิจ  ฅิดเพียงสุขสม  ฅ้อยต๋ามอารมณ์  จึงทรมหมองไหม้

 

       ฅวามรักของแม่

                                บุญเหลือแม่ไธ้  เพิ่นได้สั่งสอน  ทึงไหว้ทึงวอน  อ้อนพระลอเจ้า  ด้วยฅวามพันผูก  ย้อนฮักลูกเต้า  บ่หื้หูเบาเชื่อนัก  คำซอนออื่อ  เปนสื่อชวนชัก  ลองเปรียบฅวามฮัก  แม่มี  ต่อพระลอเจ้า  เที่ยงเท้าดีหลี  ยิ่งกว่าชีวี  แม่นี้ว่าอั้น

 

      รสแห่งฅวามรัก

           รสแห่งฅวามรัก  มักเจื๋อด้วยขม  ไผหลงชื่นชม  ช่างล้มป่วยไข้  ไนหัวอก  ตรอมตรมบ่มไหม้  หาสุขทางได  บ่พบ  เหมือนรักองค์ลอ  พอต๋ายท่าวทบ  ซบอิงเพื่อนไธ้  แพงธอง  สองศรีแว่นแฅว้น  ดินแดนเมืองสรอง  ควรจักไตร่ตรอง  ฟั่งลองเน้อเจ้า

 

    คนเชื้อเจ้ามีเมียหลาย

                                เปนฮีตโบราณ  เมินนานแต่เค้า  ว่าฅนเชื้อเจ้า  มักมีเมียหลาย  เหมือนพระลอนั้น  ผูกพันธ์หมั้นหมาย  มีเมียเนอนาย  ลักษณาวดีเจ้า  คำซอนอแต่ง  เพื่อนแพงหน่อเหน้า  ว่าสองนงเยาว์  งามล้ำ  เยียะหื้อพระลอ  บ่กิ๋นเข้าน้ำ  ไคร่หันไคร่อยั้ม  ทึงวัน  ไคร่ได้นาฏน้อง  มาครองคู่กั๋น  เปนเรื่องอึงนัน  บ่หวั่นไผฆ่า

 

 


 

คุณค่าของลิลิตพระลอ

                1. ในด้านอักษรศาสตร์นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๆ มากอย่างบทเสียงลือเสียงเล่าอ้างที่ว่า

“เสียงลือเสียงเล่าอ้าง       อันใด พี่เอย

   เสียงย่อมยอยศใคร                   ทั่วหล้า

   สองเขือพี่หลับใหล                   ลืมตื่น ฤาพี่

   สองพี่คิดเองอ้า                         อย่าได้ถามเผือ”

แปลความว่า     มีเสียงร่ำลืออ้างถึงอะไรกัน เสียงนั้นยกย่องเกียรติของใครทั่วทั้งพื้นหล้าแผ่นดิน พี่ทั้งสองนอนหลับใหล จนลืมตื่นหรือพี่ พี่ทั้งสองจงคิดเอาเองเถิด อย่าได้ถามน้องเลย    บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็นแบบอย่าง

 

           

                                                                                                                                                           

               2. ในด้านพระศาสนา    ได้ให้แง่คิดทางศาสนาอย่างเช่นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตซึ่งเป็นของแน่ยิ่งกว่าแน่เสียอีก อย่างบทที่ว่า

สิ่งใดในโลกล้วน         อนิจจัง

  คงแต่บาปบุญยัง                          เที่ยงแท้
  คือเงาติดตัวตรังตรึง                   แน่นอยู่นา

  ตามแต่บุญบาปแล                     ก่อเกื้อรักษา

 

หรือบทที่ว่าด้วยกฎแห่งกรรม

             ถึงกรรมจักอยู่ได้           ฉันใด พระเอย

     กรรมบ่มีมีใคร                        ฆ่าเข้า

     กุศลส่งสนองไป                      ถึงที่ สุขนา

     บาปส่งจำตกช้า                       ช่วยได้ฉันใด

 

                3. ในด้านการปกครอง   จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้น ต่างเมืองต่างก็เป็นอิสระ  เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สามารถมีสัมพันธไมตรีกันได้

               4.  ในด้านประวัติศาสตร์  ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและเมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่

                   5. ในด้านวิถีชีวิต   ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มากมีการนับถือผีสางนางไม้ แม้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่

ร่าย

   รอย รูปอินทร์หยาด ฟ้า  มา อ่า องค์ ในหล้า     แหล่งให้ คน ชม

ร่าย งาม สม ขุนลอท้าว น้ำพระทัย ณ หัวเจ้า       ยิ่งแม่ กาหลง             

ร่าย ยาม พระทรง คชสาร  พระยิ่งหาญ ยิ่งกล้า    เกินพระยา สีหราช ท้าว  กลาง ศึก

พระบาทเจ้า ล้าน         โลกใครบ่เท่า               พ่อขุน แมน-สรวง

 

 

 

 

 

 

แนะนำตัวละคร

 

พระลอ เป็นพระยุพราชของเมืองสรวงมีรูปงาม มีมเหสีอยู่หนึ่งองค์ชื่อว่า นางลักษณาวดี แต่ลุ่มหลงในความงามของสตรี จึงต้องออกตามหา พระเพื่อนและพระแพง

 

 

พระเพื่อนพระแพงเป็นตัวละครหญิงที่ทำให้ลิลิตพระลอเป็นโศกนาฏกรรมรักที่ตรึงใจผู้อ่านไม่รู้ลืมโดยในโครงเรื่องของลิลิตพระลอกำหนดว่าราชตระกูลของพระลอและพระเพื่อนพระแพงเป็นศัตรูกันแต่ความงามของทั้งสองฝ่ายกลับก่อให้เกิดนิยายรักที่เศร้าสลดโดยเนื้อเรื่องกำหนดให้พระเพื่อนพระแพงหลงไหลในความงามของพระลอและหลงรักพระองค์จากเพลงขับซอยอโฉมพระนางทั้งสองจึงตั้งใจมั่นที่จะได้พระลอเป็นสวามีดังปรากฏในคำกราบทูลพระลอเมื่อทั้งสามพบกันเป็นครั้งแรกว่า ทั้งสองเสวยไม่ได้บรรทมไม่หลับ นับแต่เกิดความลุ่มหลงในตัวพระลอ นางรอคอยฟังข่าวจากพระองค์ตลอดเวลาทั้งยังขอให้เทพยดาทุกหนทุกแห่งช่วยเหลือให้พระองค์เสด็จมาหานางยินดีเสียเงินทองทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลและหากไม่ได้ครองคู่กับพระลอก็จะไม่ขอมีสวามีเลย

 


 

 

 

ปู่เจ้าสมิงพรายเป็นบรมครูผู้มีวิชาอาคมแก่กล้า และได้คอยช่วยเหลือให้แก่พระเพื่อน พระแพง ในการทำเสน่ห์หลอกล่อให้พระลอตามมาถึงเมืองสรอง

 

 

นางรื่น นางโรย เป็นพระพี่เลี้ยงของ พระเพื่อน พระแพง เป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ ให้พระเพื่อนพระแพง ได้พบกับพระลอ โดยการขับซอชมความของพระเพื่อน พระแพง เพื่อให้พระลอหลงใหล

 

นายแก้ว  นายขวัญ สองพี่เลี้ยงของพระลอ ซึ่งได้เดินทางมาพร้อมกับพระลอ เพื่อตามหาพระเพื่อน   พระแพง  และได้พบรักกับนางรื่น นางโรย ในเวลาต่อไป

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                                                          


 

 

 

 

 

 

               

 

 

 

 

                                                                                                                                                                          


 

 

 

 

 

 

               

 

หมายเลขบันทึก: 564295เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2014 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2014 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบครับ จะกลับมาอ่าน เพราะบันทึกยาวมาก...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท