นักบริหารงานวิจัย (3)


นักบริหารงานวิจัยจึงจำเป็นต้องทำงานเต็มเวลาซึ่งการทำงานในที่นี้ หมายถึง การทำงานของสมอง ใช้สมองครุ่นคิดหาวิธีการอยู่ตลอดเวลา

         ผมกำลังอ่านทบทวนหนังสือ “การบริหารงานวิจัย และแนวคิดจากประสบการณ์” ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช เพื่อให้ได้แนวคิดไว้พูดคุยกับรองคณบดีฝ่ายวิจัยที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่จากคณะต่าง ๆ ตามที่ผมเคยเล่าให้ฟังแล้ว <Link> และ <Link>

         ยังมีอีก 4 ประเด็นหลัก ๆ ที่ผมอยากจะคุย ด้วย แต่คงต้องอาศัยอ้างอิงจากแนวคิดในหนังสือที่ผมกล่าวข้างต้น

         เรื่องแรก เป็นเรื่องความแตกต่างของภารกิจของนักวิจัยและผู้บริหารงานวิจัย

         เรื่องที่สอง เป็นความแตกต่างของความภาคภูมิใจของนักวิจัยและผู้บริหารงานวิจัย

         เรื่องที่สาม เป็นเรื่องที่ว่านักบริหารงานวิจัยต้องทำงานเต็มเวลา

         เรื่องที่สี่ เป็นเรื่องจรรยาบรรณของนักบริหารงานวิจัย

         สำหรับครั้งนี้เป็นเรื่องที่สามครับ

"นักบริหารงานวิจัยต้องทำงานเต็มเวลา

         นักบริหารงานวิจัยในประเทศไทยต้องทำงานในลักษณะ “เข็นครกขึ้นภูเขา” คือ ทำงานทวนกระแสค่อนข้างมาก จึงต้องใช้ความอดทนไหวพริบ และกุศโลบายต่างๆ เพื่อผลักดันให้งานวิจัยสามารถดำเนินการลุล่วงไปได้

         การทำงานดังกล่าว  จึงต้องใช้ความคิดริเริ่มสูง ต้องทุ่มเทความคิดและทุ่มเทเวลาทำงานร่วมกับ “แนวร่วม” หรือหุ้นส่วน คือ นักวิจัย สถาบันวิจัย “ผู้ใช้” และสาธารณชน นักบริหารงานวิจัยจึงจำเป็นต้องทำงานเต็มเวลาซึ่งการทำงานในที่นี้ หมายถึง การทำงานของสมอง ใช้สมองครุ่นคิดหาวิธีการอยู่ตลอดเวลา

         การจ้างงานนักบริหารงานวิจัยในสถาบันให้ทุนสนับสนุนการวิจัยควรมีเงื่อนไขการทำงานเต็มเวลาดังกล่าว และกำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งผลงานที่คาดหวังตามเงื่อนไขดังกล่าว"

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 5635เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2005 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท