เเกนนำ ปศพพ.(๒)


เเล้วเราก็เดินต่อไปด้วย ครูเเกนนำ เเละนักเรียนเเกนนำ ...

ประชุมขับเคลื่อน ปศพพ.

        หลังจากที่การดูงานผ่านมาได้สักพักหนึ่ง คระครูได้ไปอบรมการนำ ปศพพ.เข้าสู่สถานศึกษา เเล้วคณะครูเเกนนำเเละผู้บริหารก็ได้กำหนดทิศทางออกมาเป็น "จักรยานโมเดล" ที่เราจะใช้ 3PBL ในการขับเคลื่องาน อันได้เเก่ Pattern-based Learning  Project-based Learning เเละ Problem-based Learning นำมาเคลื่อ ปศพพ.ทั้งโรงเรียน ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้เป็นของนักเรียน ส่วนของครู คือ การสอนเเบบโครงงาน การเป็นโคช เเละการใช้ใจมองเด็ก ของผู้บริหาร คือ การคอยพยุงครูให้เป็นโคชให้นักเรียน ในการประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อเดือน พฤษภาคม 2556 ณ ห้องประชุมวิชาการ โดยมีผู้เข้าร่วมก็เป็นคนกันเองด้วยกันทั้งสิ้น คือ ท่านรอง ครูเเกนนำ เเละฮักนะเชียงยืน ทำไมต้องเป็นฮักนะเชียงยืน เพราะว่าฮักนะเชียงยืนนั้นทำงานมา 1 ปีเเล้วรู้หลัการทำงานเป็นอย่างดี เมื่อมาดำเนินงานร่วมกันเเล้วนั้นอาจทำให้ง่ายขึ้น การประชุมในครั้งนี้เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนเเละเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการประเมิน ปศพพ ของเราชาวดงทอง

       ครูเป็นโคชส่วนนักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ เเต่โจทย์หลัก คือ ครูจะเป็นโคชได้อย่างไร ซึ่งโจทย์นี้เองจึงนำมาซึ่งกิจกรรมฝึกครูให้เป็นโคชเด็กในเวลาต่อมา ในโรงเรียนนี้มี 3 เหลี่ยมเคลื่อนภูเขา คือ คณะผู้บริหาร  ครู  เเละนักเรียน  ถ้าคณะผู้บริหารระเบิดออกมาจากด้านในจะทำให้งานการขับเคลื่อนมีพลังสูง ถ้าครูหลายๆท่านมาร่วมเป็นโคชเด็กการศึกษานั้นก็คงจะไปได้สวยพร้อมกับการเรียนรู้บนฐานชีวิตจริง  ถ้านักเรียนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนเเต่ฝ่ายเดียวพลังจะน้อยมาก  เดินมาในก้าวนี้ถึงการประชุมก็พบปัญหา หลายอย่าง เเล้วที่สำคัญ คือ ผู้บริหารไม่ระเบิดออกจากภายใน ทำให้งานขับเคลื่อนยากมาก เเล้วปัญอีกประการที่สำคัญ คือ ครูเราบางส่วนสนใจการนำ ปศพพ.เข้าสู่สถานศึกษาน้อยมาก โเดลจักรยานที่เเต่งตั้งขึ้นมานี้จึงต้องขับไปพร้อมด้วยกันเพราะเรา คือ ดงทองเหมือนกัน จะถีบจักรยานคันนี้โดยมองผู้รู้(โรงเรียนพี่เลี้ยง)เป็นเเสงสว่าง จะพาโรงเรียนเครือข่ายไปด้วยกัน  จะพาครูเเละนักเรียน ซ้อนท้ายไปด้วยกัน ผู้ควบคุมทิศทาง คือ คระผู้บริหาร เเละองค์กรภายนอกเข้ามาหนุนเสริม เเล้วมุงหน้าสู่หลักกิโล ศูนย์ปศพพ. ที่เป็นภาพฝันเอาไว้ 

        เราจะเคลื่อนด้วยโครงงาน ที่เราทำมานานเเล้วเเต่เรายังไม่ได้ให้เด็กถอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงงานของตนเอง ด้วยรูปเเบบของหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ฝึกให้เด็กถอดองค์ความรู้จากงานของเด็กเอง คนที่ได้ทำจริงๆ จะถอดออกมาได้ง่าย ส่วนคนที่ไม่ได้ทำอะไรกับเพื่อนจะไม่สามารถถอดออกมาได้เลย  เด็กมีโครงงาน บางส่วนมีโครงการ เเละมีการถอดองค์ความรู้  เส้นทางของเด็กเริ่มตั้งนานเเล้ว เเต่เส้นทางการเป็นโคชของครูจำต้องเริ่มต้นขึ้นเพื่อศิษย์ 

        ประการชุมในครั้งนี้เป็นการกำหนดว่า เราจะเคลื่อนอย่างไร ให้ทุกคนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด มีการกำนดว่าต้องดูที่ครูก่อนว่าครูเข้าใจคำว่า พอเพียงนั้นมากน้อยเพียงใด ในการประชุมที่จะจัดขึ้นในอีกไม่นานนัก เมื่อให้ครูกรอกความเห็นลงไปเเล้ว ก็มีการพูดคุยกันว่าเราเคลื่อนมาได้เท่าใดเเล้วในเรื่องของพอเพียงเข้าสู่โรงเรียน ครูก็มีการพุดคุยถกเถียงกันเป็นการใหญ่ (ตามประสาผู้ใหญ่) เเล้วเราก็เดินต่อไปด้วย ครูเเกนนำ เเละนักเรียนเเกนนำ ...

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 563468เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2014 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2014 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท