เเกนนำ ปศพพ.(๑)


การดูงานในครั้งนี้ถึงเเม้ว่าจะเป็นครั้งเเรกเเต่ก้เป็นการ "เปิดตา" กระผมได้มากพอสมควรในมุมของ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ...

ร่วมสังเกตการณ์ ณ บรบือวิทยาคาร

        ย้อนกลับมามองดูตนเองอีกครั้งครันเมื่อประมาณ 1 ปีกว่าๆที่เเล้ว ที่เริ่มเข้ามาเป็นเเกนนำนักเรียนในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียง ที่เริ่มเข้ามาเมื่อครั้งที่กระผมเองเรียนอยู่มัธยมศึกษาที่ 4 ครูชักชวนเเล้วดึงเข้ามา ผมเลยได้มีโอกาสสัมผัสถึง คำว่า "พอเพียงอย่างลึกซึ้ง" ซึ่งเมื่อก่อนนั้นผมเองก็ไม่เข้าใจว่าความหมายของคำว่า พอประมาณ  เหตุผล  ภูมิคุ้มกัน มิติต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร พอได้มาร่วมดำเนินงานนี้ก็ได้ทราบอย่างกระจ่างใจของตนเอง การดูงาน ณ โรงเรียนบรบือวิทยาคาร วันที่ 20 พศจิกายน นี้เองก็เปลี่ยนเเปลงความคิดของกระผมไป ก่อนวันงานมีการเตรียมตัวกันก่อน คนที่เป็นเเกนนำหลักไปดูงานนี้ คือ คณะกรรมการนักเรียนส่วนหนึ่งเเละฮักนะเชียงยืนเราก็ได้มาด้วย ในครั้งนั้นเราก็รู้สึกตื่นเต้นอยู่ว่ามันจะเป็นอย่างไรเพราะเราไม่เคยไปดูงานอะไรกับเขาสักที มาในครั้งนี้ก็ถือว่ามาเรียนรู้กับเพื่อนๆเเละพี่ๆ 

        มาดูงานในวันนั้นสังเกตุเห็นว่าโรงเรียนบรบือวิทยาคารนี้ ในด้านของนักเรียน(การเรียนรู้)ขับเคลื่อนด้วยโครงงาน ซึ่งจะเน้นสอนให้เด็กทำโครงงานเเล้วถอดองค์ความรู้ด้วย เครื่องมือ พอเพียงซึ่งก็คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ทำโครงงานเเล้วถอดองค์ความรู้ บางรายวิชาเรียนเเล้วก็ถอดองค์ความรู้  ในด้านของการจัดสรรทรัพยากรเน้นการผลิตเเก๊สหุงต้มจากเศษอาหารที่นักเรียนกินกันอยู่ในทุกๆวัน ให้นำเศษอาหารที่เหลือมาหมัก โดยใส่ในถังหมัก เเล้วก็จะได้ออกมาเป็นเเก๊ส มีเเหล่งเรียนรู้ต่างๆ เเล้วมีโครงงานที่เป็นอาชีพเสริมให้กับนักเรียนโดยที่นักเรียนมีความเป็นเจ้าของโครงงานของตนเอง  เดินไปดูโครงงานหนึ่งเพื่อนๆก็ตอบอย่างฉะฉาน เเต่ไม่ได้สำคัญที่การอธิบายที่การนำเสนอเเต่อย่างใด สำคัญที่ เเก่นของพอเพียงจะเข้าไปด้านในของเด็ก เข้าไปในหลักคิดของเด็ก  เดินไปดุอีกโครงงานหนึ่งที่เขาทำน้ำยาปราบต้นไมยราบยักษ์ ซึ่งผมเอง(อ่อนหัด) ก็ได้เเนะว่า โครงงานนี้พี่ว่ามันคุ้มกันหรือไม่ที่จะปราบต้นไมยราบด้วยน้ำยาที่ผลิตกว่าจะได้ เพราะต้นไม้ราบนั้นมันไม่ได้มีเพียงต้นสองต้น เเต่มันเป็นร้อยๆต้น การปราบมันลงด้วยน้ำยาน้อยนิดนี้ มัยจะสิ้นเลปืองมากไหม เเล้วอีกอย่างต้นไมยราบก็มีสรรพคุณ พี่ลองศึกษาดู  เดินไปที่โครงงานของเด็กม.ต้น ก็พูดอย่างเข้าใจ เเละผมเองก็รู้สึกถึงได้ว่า(จากการณ์สังเกตุ)เป็นม.ต้นหลายคนเริ่มเข้าใจพอเพียงเเล้ว

        เดินไปจนหมดเส้นทาง กระผมเองก็ได้รับรู้ว่า ในการที่จะเข้าใจ คำว่า "พอเพียงนั้น" มันไม่ง่ายเลย เเต่วิธีในการเข้าใจ คือ การใช้รูปเเบบในการกรอกความคิดลงไป ที่เปรียบเหมือนเด็กน้อยจับของเล่นลงใส่บล็อกของตนเอง นี่ก็เช่นเดียวกัน เป็นการเอาความคิดของเราเองมาใส่บล็อกเอาไว้ เพื่อให้ตนเองได้รู้ไปอีกว่า การทำงาน หรือการดำเนินชีวิตในทุกๆวันของคนเรานั้น มีทั้งเหตุผล ทั้งการประมาณ ทั้งผลที่เกิดขึ้นที่จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีเเละไม่ดี ที่จะส่งผลต่อสังคม ต่อชุมชน ต่อสิ่งเเวดล้อมรอบตัวเรา ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นว่าพอเพียงนั้นอยู่กับเราทุกๆวัน เเต่เรามองไม่เห็นเพราะเราไม่ได้มองตนเอง เมื่อเรามองตนเองเราก็จะเริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า "พอเพียง"  หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขนี้เป็นเเพดเเทิล สำหรับเด็ก ถ้าฝึกรูปแบบการคิดนี้บ่อยๆ รูปแบบนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องเขียนว่าสิ่งนี้ คือ อันนี้ สิ่งนี้ คือ อันนี้ เพราะเราพอดีเเล้ว เมื่อฝึกคิดเเล้วก็ไม่ต้องไปยึดติดกับรูปเเบบความคิดดังกล่าว ไม่ต้องไปยึดติดกับว่า พอเพียงคืออะไร  พปประมาณ คืออะไร ภูมิคุ้มกัน คืออะไร "หลัก 3หว่ง 2 เงื่อนไขนั้นไม่ใช่การท่องจำ" เเต่เป็นการคิดเพื่อที่จะนำไปปรับใช้ต่อไป  

        ในครั้งนี้กระผมเองก็ได้สังเกตุเห็นอีกสิ่งว่า เพื่อนเรานั้นยึดติดกับคำว่า ความมีเหตุผล  ความพอประมาณ  ความมีภูมิคุ้มกัน อยู่เยอะ เพราะเป็นบันไดขั้นเเรก เเต่หลายโครงงานก็เข้าใจพอเพียงเป็นอย่างดี นักเรียนที่เป็นเพื่อนของเรานั้นถือว่าเข้าใจดีเเล้ว เเต่สิ่งหลักต่อไปที่ควรเสริมขึ้นอีก คือ ครูบางท่านยังมองว่า ไม่ใช่กรรมการไม่ต้องนำเสนออะไรให้มากมาย ซึ่งก็ต้องพัฒนาหลักคิดของครูบางท่านให้พอเพียงต่อไป   การดูงานในครั้งนี้เห็นหลายอย่างที่ควรปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของดงทองของเรา คือ การถอดองค์ความรู้โดยมีรูปเเบบการคิด เเต่ต้องโคชเด็กอีกมิให้ยึดติดกับรูปแแบบจนเกินไป เเหล่งเรียนรู้ต่างๆที่น่าสนใจ เเล้วการขับเคลื่อนด้วยโครงงานที่เด็กมีความเป็นเจ้าของอย่างเเท้จริง การดูงานในครั้งนี้ถึงเเม้ว่าจะเป็นครั้งเเรกเเต่ก้เป็นการ "เปิดตา" กระผมได้มากพอสมควรในมุมของ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ...

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 563466เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2014 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2014 07:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท