การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก


การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based learning : PBL)

              พระราชบัญญัติการศึกษา 2542 และฉบับปรับปรุง 2545 กำหนดให้มีการศึกษาแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญจัดการเรียนรู้ ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการเรียนแบบบูรณาการ เพื่อให้ได้ผู้เรียนที่พึงประสงค์ คือ มีความเก่ง : มีสมรรถภาพสูงในการดำเนินชีวิต มีภาวะผู้นำ รู้จักตนเอง ควบคุมตนเองได้ มีความรู้ทันสมัย เป็นคนดี : ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ จิตใจดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติสุข ตลอดจน เป็นผู้ที่มีความสุข : สุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ หลักการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบ Student center ได้แก่ให้ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองมีการได้รับการพัฒนาให้รู้กระบวนการเรียนรู้ สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ลึกซึ้งและจดจำได้ดี ให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในปัจจุบันที่เป็น Generation Y ที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างปกป้อง มีครอบครัวเป็นเพื่อน มั่นใจตนเองมองอนาคตในแง่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบทำสิ่งที่ไม่เหมือนใคร ชอบปรับปรุงเกณฑ์ใหม่ ใช้ Internet คล่องแคล่ว เชื่อมั่นในเทคโนโลยี ทำงานหลายอย่างได้อย่างรวดเร็ว มักทักษะการประสานงาน ความสำเร็จเกิดจากแรงบันดาลใจภายนอกมากกว่าแรงจูงใจภายใน และมองว่าการศึกษาเป็นหนทางสู่อาชีพที่ต้องการมากกว่า การทำให้เกิดปัญญา หรือปฏิรูปตนเอง จากคุณลักษณะ

             ในส่วนรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนตามที่พระราชบัญญัติการศึกษา 2542 และฉบับปรับปรุง 2545 กำหนดให้สถาบันการศึกษามีการจัดการเรียนการสอนแบบ Student centered มีหลายรูปเช่น CIPPA, Storyline approach, CATS หรือ Problem-based learning จะเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนแบบ Problem-based learning เป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

             Problem-based learning หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ใช้ “ปัญหา” เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะแสวงกาความรู้ความเข้าใจ เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหา โดยที่มิได้มีการศึกษาหรือเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวมาก่อน เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหา และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน

 กลยุทธ์ทางการศึกษาที่ใช้ใน PBL

  1. มีการบูรณาการของสาขาวิชา (Integration)
  2. มีกระบวนการแก้ปัญหา (Problem solving process)
  3. มีการเรียนรู้โดยนักศึกษาเป็นศูนย์กลางหรือการเรียนรู้ โดยการกำกับตนเอง (Student –centered learning หรือ Seft-directed learning)
  4. มีการเรียนกลุ่มย่อย (Small group tutorial) กลุ่มที่เหมาะสมคือ 5-8 คน และไม่ควรเกิน 12 คน

 กระบวนการแก้ปัญหา

  1. ลักษณะปัญหาที่ควรนำมาใช้ในการเรียนแบบ PBL ควรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวิชาชีพ เช่น ปัญหาของคนไข้ ปัญหาของชุมชน โดยนำมาตกแต่ง ดัดแปลงให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ที่ต้องการ
  2. กระบวนการแก้ปัญหา ควรใช้ความคิดแบบนิรนัย (Deductive thinking) คือการพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน หรือลบล้างสมมติฐานของปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไข
  3. การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง (Self Directed Learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง โดยเป็นผู้สร้าง เป้าหมายการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ แสวงหาแหล่งให้ความรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง ตลอดจนการประเมินตนเองโดยอาจอาศัยหรือไม่อาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  4. การเรียนกลุ่มย่อย มีแนวทางการเรียนดังนี้

        4.1   สามารถกระตุ้นให้ทุกคนได้อภิปรายใกล้เคียงกันในกลุ่ม

        4.2   เรียนรู้ การดำเนินงานของกลุ่ม รู้ว่าสิ่งใดขัดขวาง สิ่งใดส่งเสริม รู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไร จึงทำให้บรรยากาศ เหมาะสมกับการเรียน เป็นการฝึกการไปทำงานร่วมกับผู้อื่นในอนาคต

        4.3   ฝึกทักษะในการเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม

        4.4   สนุกในการเรียน ไม่น่าเบื่อ

        4.5   ครูสามารถให้ข้อติชมนักศึกษาได้ทันที บทบาทครู คือ ผู้เสริมการทำงานของกลุ่ม คอยแนะนำ ประคับประคองให้กลุ่มดำเนินงานด้วยดีไม่ออกนอกลู่นองทางจนเกินไป

 กระบวนการและขั้นตอนใน PBL

           มี 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

           -ระยะที่ 1 เปิดโจทย์ปัญหา มี 5 ขั้นตอน คือ

           1. Clarify terms and concepts นักศึกษาทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์/สถานการณ์ทำความเข้าใจกับ

                 ศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

           2. Identify the problem ระบุปัญหาของโจทย์/สถานการณ์

           3. Analyse problem ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะต้องวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

           4. Formulate hypotheses ตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหา จัดลำดับความสำคัญ

           5. Formulate learning objectives ตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหา

           -ระยะที่ 2 ศึกษาหาความรู้ มีขั้นตอนอังนี้

           6. Collect additional information outside the group รวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม โดยแยกย้ายกัน

               ศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้

         -ระยะที่ 3 ปิดโจทย์ปัญหา

          7. Synthesige and test the newly acquired and indentify information generaligation and

               principles derived from studying this peoblem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่ สังเคราะห์ข้อมูลที่

               ได้มาเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน และสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

 ประเด็นสำคัญในการเรียนแบบ PBL

  1. ผู้เรียนต้องเผชิญกับโจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์โดยที่มิได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้า หรือเรียนเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโจทย์นั้น ๆ มาก่อน
  2. โจทย์ปัญหา หรือสถานการณ์ จะต้องสร้างให้คล้ายคลึงกับปัญหาหรือสถานการณ์จริงที่ผู้เรียนจะต้องไปเผชิญในอนาคต
  3. ผู้เรียนจะต้องศึกษาโจทย์ดังกล่าวในลักษณะของการใช้เหตุ ใช้ผล และการประยุกต์ใช้ความรู้อย่างเหมาะสมกับระดับความรู้ของตน
  4. โจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์นั้น จะต้องใช้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในระหว่างการอภิปรายในกระบวนการกลุ่ม          
  5. ความรู้และทักษะที่ได้จากการศึกษาหาความรู้จะต้องถูกนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการแก้ปัญหาเพื่อจะได้สามารถประเมินประสิทธิภาพการเรียนรู้
  6. เครื่องมือที่ใช้วัดผลต้องสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้โดยต้องวัดทั้งเนื้อกาความรู้ การแก้ปัญหาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประสิทธิภาพของกระบวนการกลุ่ม

 ภาพรวมของ PBL จะเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนมีจุดเด่นคือ

  1. ใช้กรณีศึกษาในวิชาชีพมาเป็นตัวกระตุ้นในการเรียนวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ทำให้มีความเชื่อมโยง ระหว่างเนื้อหาวิชาช่วยตัดเนื้อหาวิชาพื้นฐานที่ไม่เกี่ยวข้องและล้าสมัย
  2. มีการบูรณาการระหว่างสาขาวิชา ทำให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงทางวิชาชีพและมีการรวบรวมคัดเลือกเนื้อหาสำคัญที่เป็นแกนหลักช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา
  3. ผู้เรียนจะต้องเปลี่ยนจาก Passive learner มาเป็น active learner
  4. เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ เช่น การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร เป็นต้น
  5. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ เพราะใช้ปัญหาจริงมาเป็นตัวกระตุ้น
  6. กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจแทนการท่องจำ เพราะต้องประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา
  7. เป็นการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์ (Constructivism) เพราะต้องใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่มาคิดในการสร้างความรู้ใหม่ที่จำเป็นเพื่อต่อเติมเสริมเข้ากับความรู้เดิม

                 Problem-based learning จึงเป็นวิธีการเรียนการสอนหนึ่งที่น่าสนใจที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ และสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข

หมายเลขบันทึก: 563405เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2014 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2014 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท