แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices)


       เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชน และประชาคมอาเซียน” ระดับอุดมศึกษา ซึ่งคณะกรรมการบริหารเครือข่ายการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และสถาบันการพลศึกษาร่วมกันสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2 ณ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากรระหว่างเครือข่ายการจัดการความรู้ และผู้สนใจ โดยการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี และปัจจัยแห่งความสำเร็จ เพื่อเตรียมเข้าสูการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน  เผยแพร่องค์ความรู้ของเครือข่ายการจัดการความรู้สู่สังคม และเป็นแนวทางส่งเสริมการพัฒนาสถาบันในเครือข่ายมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สำคัญเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานภายในระบบและกลไกประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเวทีเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานคุณภาพของหน่วยงานระดับอุดมศึกษา

       ผลงานที่นำเสนอมีลักษณะเป็นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบูรณาการ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย/งานสร้างสรรค์  การบริการทางวิชาการแก่สังคม การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมสู่ชุมชน และประชาคมอาเซียน ที่แสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาคุณภาพ โดยการสร้างสรรค์และบูรณาการการจัดการความรู้ วิธีการทำงานใหม่สามารถลดเวลา และขั้นตอนการทำงาน หรือเป็นนวัตกรรมสู่ชุมชนและประชาคมอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม  กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีจำนวน  10 คน เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2554 ถึง 10 พฤศจิกายน 2554  ดำเนินการวิจัยตั้งแต่วางแผนดำเนินการโดยสำรวจ วิเคราะห์ปัญหาของหญิงตั้งครรภ์ร่วมกันในทีมสุขภาพ สรุปปัญหาความต้องการของหญิงตั้งครรภ์ โดยสอบถามลำดับความสำคัญของปัญหาที่พบกับหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ร่วมกันวางแผนดำเนินการแก้ปัญหาระหว่างหญิงตั้งครรภ์ และทีมสุขภาพ ดำเนินการตามแผนแก้ปัญหาที่กำหนด สังเกตและจดบันทึก ผลที่เกิดขึ้นเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้แบบวัดความพึงพอใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ขั้นสุดท้ายการสะท้อนผล ทำการตรวจสอบการแก้ปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้น ในขั้นตอนการปฏิบัติ มีการจัดทำบัตรคิวพูดได้ภาษาพม่าเพื่อรองรับผู้รับบริการชาวพม่า ผลการวิจัย พบว่าปัญหา และความไม่สุขสบายของหญิงตั้งครรภ์ ได้รับการแก้ไขได้ตรงจุด ผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและพึงพอใจในบริการที่ได้รับระดับดีมาก นักศึกษาผู้ให้บริการมีอัตลักษณ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท โดยมีการบริการด้วยหัวใจ ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จ ทั้งปัจจัยภายในได้แก่ผู้อำนวยการวิทยาลัยเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ อาจารย์มีการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับพันธกิจอื่นอย่างเหมาะสมตลอดจนนักศึกษาเป็นผู้สนใจใฝ่รู้ สามารถประยุกต์ความรู้ที่มีได้เหมาะสมกับสถานการณ์ และปัจจัยภายนอก คือมีนโยบายและกลยุทธ์ที่ชัดเจน นำสู่แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม  

การนำไปใช้

           การจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1ที่ผ่านมามีการจัดการเรียนการสอน ในภาคทฤษฎีหลังจบการศึกษาแล้วจึงแล้วจึงศึกษาภาคปฏิบัติ ฝึกดูแลให้การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์มีการซักประวัติ และให้รอรับการตรวจครรภ์ด้วยการแจกบัตรคิว เป็นตัวเลข เมื่อหญิงตั้งครรภ์มีจำนวนมากพอให้ความรู้เป็นรายกลุ่มตามทฤษฎีและเรียกตรวจครรภ์ตามคิว มีการให้ความรู้เป็นรายบุคคลเมื่อตรวจครรภ์แล้วเสร็จเหมือนกันทุกคน โดยอธิบายความรู้ที่นักศึกษามีทั้งหมดให้หญิงตั้งครรภ์ฟัง ผลการดำเนินการผู้รับบริการพึงพอใจในบริการ ระดับดี แต่การติดตามแก้ปัญหาให้หญิงตั้งครรภ์ ยังไม่ชัดเจน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท จึงต้องปรับการเรียนการสอนใหม่ โดยบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการและงานวิจัย เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์นักศึกษาให้มีการบริการด้วยหัวใจ

           การบูรณาการการเรียนการสอนสู่แนวปฏิบัติที่ดีในการดูแลมารดาทารกด้วยหัวใจสู่ประชาคมอาเซียนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการและงานวิจัย โดยยังผลให้เกิดการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษา และส่งผลลัพธ์การบริการวิชาการสู่คุณภาพชีวิตของมารดาและทารกผลกระทบที่เกิดตามมาคือ องค์กรได้รูปแบบการบริการด้วยหัวใจทำให้ผู้รับบริการการฝากครรภ์พึงพอใจในบริการที่ได้รับในระดับดีมาก

หมายเลขบันทึก: 563234เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2014 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2014 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท