ใช้ยูเรียทางดินมาละลายน้ำ ฉีดพ่นทางใบ จะได้ผล...ไหมนะ...?????


จะเห็นได้ว่าราคาปุ๋ย ถ้าดูที่น้ำหนัก และราคา จะแตกต่างกันมาก แต่ % ของไนโตรเจนที่ได้รับก็แตกต่างเช่นเดียวกัน

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

สวัสดีค่ะ

วันนี้ มีเกษตรกรท่านหนึ่งในกลุ่ม ลำไยกิ๊บ..กิ้วว...กับสาวน้อยใจดี โพสต์ถามเกี่ยวกับการใช้ยูเรียมา เห็นว่ามีประโยชน์ เลยนำมาเขียน เล่าสู่กันฟัง...ค่ะ

ศศินา จันทร์ตาบุญ

น้องยุ้ยจ๊ะ ที่บ้านพี่ไม่มียูเรียสูตรละลายน้ำขาย พี่จะใช้ยูเรียที่ใช้ทางดินแทนได้ไหม

ตอบ ถ้าไม่มีจริงๆ แต่จำเป็นต้องใช้ ก็สามารถใช้ได้ค่ะ

แต่ว่าจะเหมาะสมเพียงใด หรือไม่ ขอให้อ่านบทความต่อไปนี้...ก่อน

การให้ยูเรียทางดิน และการให้ยูเรียทางใบ

1. ปุ๋ยยูเรียที่มีบรรจุขายอยู่ในท้องตลาด มี 2 รูปแบบ คือแบบเม็ดโฟม และแบบเม็ดสาคู

2. แบบเม็ดโฟมจะมีขนาดใหญ่กว่า แบบสาคูซึ่งมีขนาดเม็ดเล็กกว่า

3. แบบเม็ดโฟมนิยมใช้สำหรับการใส่ทางดิน ใช้กับพืชสวน พืชไร่ แต่แบบเม็ดสาคู นิยมนำไปผสม

ในอาหารสัตว์ หรือละลายน้ำ เพื่อฉีดพ่นทางใบ

4. ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นการนำไนโตรเจนไปบัลค์ปุ๋ย (คลุกปุ๋ย) กับแม่ปุ๋ยชนิดอื่น เช่น แม่ปุ๋ยแดป

(DAP) 18-46-0 แม่ปุ๋ยม็อบ (MOP) 0-0-60 และฟิลเลอร์ ด้วยการคลุกเคล้า เพื่อให้ได้ปุ๋ย

สูตรต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ปุ๋ยสูตร 16-8-8

5. การกำหนดค่ามาตรฐานของไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย ถ้าบริสุทธิ์จะต้องอยู่ในสูตร 46-0-0 ไบยูเร็ต

ต้องไม่เกิน 1% และมีความชื้นได้ไม่เกิน 0.5%

6. ในทางการค้า ปริมาณที่ตรวจสอบปุ๋ย หากพบว่ามีปริมาณไนโตรเจน ต่ำกว่า 44 จะถือว่าเป็น

ปุ๋ยปลอม

7. ปริมาณของไนโตรเจนต่อน้ำหนักของยูเรียแบบเม็ดโฟม จะไม่เท่ากัน จึงทำให้ดูว่าแบบเม็ดโฟม

ได้ปริมาณมากกว่า มีน้ำหนักมากกว่า เมื่อคำนวณต่อกิโลกรัมแล้วราคาถูกกว่า แต่ว่าปริมาณ %

ไนโตรเจนน้อยกว่า

ตัวอย่าง : ยูเรีย ยี่ห้อหนึ่งในตลาดบ้านเรา น้ำหนักกระสอบละ 50 ก.ก. ราคาขาย

800.-บาท เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.- บาท

ในขณะที่ ยูเรียเม็ดสาคู (ยูเรียละลายน้ำ) 46-0-0 บรรจุถุง 1 ถุง

น้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ราคาจำหน่าย 60.- บาท

จะเห็นได้ว่าราคาปุ๋ย ถ้าดูที่น้ำหนัก และราคา จะแตกต่างกันมาก แต่ % ของไนโตรเจนที่ได้รับ

ก็แตกต่างเช่นเดียวกัน

วัตถุประสงค์การใช้งานของปุ๋ยเม็ดโฟมใช้ทางดิน

เมื่อเติมปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟมลงในดินจะเกิดกระบวนการดังนี้

- ปุ๋ยยูเรีย เมื่อละลายน้ำจะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลายจะเปลี่ยนรูปเป็น แอมโมเนีย (NH3)

- แอมโมเนียบางส่วน จะระเหยสูญเสียไปจากดิน - แอมโมเนีย เมื่อโดนความชื้นจะเปลี่ยนรูป

เป็นแอมโมเนียม (NH4+)

- แอมโมเนียม จะจับกับอนุภาคดินที่เป็นประจุลบ เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถ

ดูดซึมไปใช้ได้

- แอมโมเนียมบางส่วน จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น

ไนไตรท์ (NO2-)

- ไนไตรท์ จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนเตรท (NO3-)

- ไนเตรท เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้

- เนื่องจากไนเตรทมีประจุลบไม่จับกับอนุภาคดิน ไนเตรทบางส่วนจะถูกชะล้างสูญเสียไป

จากดิน วัตถุประสงค์การใช้งานของปุ๋ยเม็ดสาคู ใช้ทางใบ และผสมเป็นอาหารสัตว์

- ไนโตรเจนบริสุทธิ์ สามารถละลายน้ำได้รวดเร็วกว่า

- ไม่มีการสูญเสียธาตุอาหารในรูปของแอมโมเนีย ที่เกิดจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์

เหมือนทางดิน

- ไนโตรเจนที่พ่นจะไปรออยู่บริเวณใบโดยตรง พร้อมที่จะแพร่ หรือถูกดูดซึมเข้าสู่ใบได้ทันที

สรุป : การนำยูเรียเม็ดโฟม มาละลายน้ำ เพื่อใช้ฉีดพ่นทางใบ สามารถทำได้

แต่จะมีผลค้างเคียงดังต่อไปนี้..ค่ะ

- หากเกษตรกรนำ ยูเรียเม็ดโฟมมาละลายน้ำ นอกจากจะได้ % ของไนโตรเจนไม่ครบแล้ว

ในน้ำที่ผสมจะมีสารประกอบอย่างอื่นผสมปนมาในน้ำด้วย

- สิ่งเจือปนเหล่านั้น จะก่อปัญหากับอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการพ่นปุ๋ย (คล้ายๆ กับการนำ

เม็ดทรายละเอียดมาผสมเข้าไปในถังน้ำ) ซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันของหัวฉีดพ่นฝอย และ

เกิดตะกอนตกค้างก้นถัง จับตัวแน่น (ต้องเสียเวลามาทำความสะอาด)

อนึ่ง : อย่างไรก็ตามการฉีดพ่นทางใบนั้น เกษตรกรบางรายได้ (ยุ้ยเอง..แหละ) ได้ผสม ''จุลินชีพชีวภาพ'' ลงไปด้วย เนื่องจากใน จุลินชีพชีวภาพ มีจุลินทรีย์ที่ช่วยในกระบวนการปรับเปลี่ยนสภาพไนโตรเจนที่ละลายน้ำให้เหมาะกับการนำไปใช้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับการให้ทางดิน แม้ว่าในระหว่างนั้นอาจสูญเสียไนโตรเจนไปในอากาศ ในรูปของแอมโมเนียไปบ้าง แต่ว่าไม่เหลือตกค้างบนผิวดิน รอวันฝนตก แล้วไหลไปกับน้ำฝน....ค่ะ

หมายเหตุ : ห้ามผสมยากำจัดแมลง หรือยากำจัดเชื้อรา ลงไปด้วย..นะคะ เพราะ จุลินทรีย์ จะตาย...ซะก่อน ไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์อันใดเลย และห้ามนำ จุลินชีพชีวภาพ หรือสารที่่อยู่ในรูปของน้ำตาล ไปพ่นช่อดอก หรือผลลำไย ในช่วงติดผลนะคะ เพราะจะทำให้ผิวลำไยมีเชื้อรา ทำให้ผิวไม่สวย ขายไม่ได้ราคา...ค่ะ

เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และนำเสนอความคิดเห็นในกลุ่มของเราได้..นะคะ

Facebook ของยุ้ย..ค่ะ https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

กลุ่ม ลำไยกิ๊บ..กิ้วว... https://www.facebook.com/groups/604635642964615/

หมายเลขบันทึก: 562937เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2014 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2016 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสาระดีๆมีประโยชน์ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท