แนะเเนวการศึกษา(๑)


การเเนะเเนวครั้งเเรก เเห่งความทรงจำ พอนึกขึ้นมาทีไร ก็รู้สึกว่า "ตนเองยังไร้เดียงสา (ยังเป็นเด็ก) อยู่เยอะ"

บันไดเเรกแห่งการเเนะเเนว

        ปีการศึกษาเปลี่ยนเเปลงไป ศิษย์เก่าออกไปสู่สังคมภายนอก เมื่อศิษย์เก่าออกไป ย่อมมีศิษย์ใหม่มาเเทนที่ เเต่การที่ศิษย์ใหม่จะเข้ามานั้น หากเราหวังเพียงเขาได้ยินชื่อเเล้วเขาจะมาเข้าโรงเรียนดงทองเเห่งนี้นั้น ถือว่าเป็นความคาดหวังที่สูงอย่างยิ่ง จากปีก่อนๆมา ไม่มีการเเนะเเนวที่ออกไปสู่โรงเรียนต่างๆนี้เเต่อย่างใด ปีนี้ทางผู้ใหญ่มองเห็นเเล้วว่า หากไม่มีการเเนะเเนวต่อไป นักเรีนที่จะเข้ามาเรียนต่ออาจไม่มีเเรงบันดาลใจ หรือไม่เห็นภาพ หรือไม่เข้าถึงทำให้ไม่เข้าใจ เเล้วส่งผลให้ เด็กๆที่มาสมัครนั้น ลดน้อนลงในทุกขณะ  การเเนะเเนวในคราวนี้ของกระผมนั้น ถือว่าเป็นการออกเเนะเเนว เป็นครั้งเเรก ซึ่งในครั้งนั้นอยู่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในช่วงเดือน มีนาคม 2555 ครั้งนั้นได้รับมอบหมายจากทางผู้ใหญ่ให้ออกเเนะเเนว เเล้วผู้ใหญ่ส่งมายังคุณครูเพ็ญศรี  เเล้วครูเพ็ญศรีก็ส่งต่อมายัง คณะของกลุ่มกระผมที่ยังไม่ได้จัดตั้งสิ่งใดขึ้น ในครั้งนั้นที่ยังเป็นเด็ก ครูดึงเข้ามาให้มาออกเเนะเเนวร่วมกับน้องๆ เเละเพื่อนๆ อีก สี่คน ซึ่งกระผมเองก็ไม่รู้ว่า การเเนะเเนวจะออกเเนะเเนวอย่างไร เคยเเต่เขามาเเนะเเนวเรา  เเต่คราวนี้เราจะออกไปเเนะเเนวเขา "เอาล่ะสิงานนี้" ซึ่งในครั้งนั้นกระผมเองถือว่าเป็นครั้งเเรก เเล้วเราก็ยังเป็นเด็กเสียด้วยสิ "เราเป็นเด็ก เราก็คือเด็ก" กิจกรรมการเเนะเเนวในครั้งนั้น จึงออกมาในรูปเเบบของเด็กๆ ซึ่งจะเข้าถึงเด้กได้มากกว่าครูที่จะอยู่ในเชิงวิชาการ 

        ด้วยความเป็นเด็ก การเเนะเเนวจึงเป็นเเบบเด็กๆในกิจกรรมเเรกที่พาน้องๆ ทำ คือ การทดสอบสมองทั้งสองซีกว่าจะใช้งานด้วยกันดีหรือเปล่า ที่เรียกว่า "เเอว จีบ" โดยผู้นำพาเล่น คือ เพื่อนที่เขาเชี่ยวชาญเเล้ว ในครั้งนั้นผลออกมาปรากฏว่า "เด็กๆก็เล่นด้วยกับเรา" เเสดงว่าเขายังสนใจเราอยู่  ถัดจากนั้นไม่นานหลังจากที่พาเล่นเล็กๆน้อยๆไปเเล้วนั้น ก็มาถึงขั้นตอนที่บอกความเป็นไป ที่จะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเเห่งนี้  ต่อด้วยดนตรี ที่เล่นเเละร้องโดยเพื่อนเราเองโดยในครั้งนั้นคิดเพียงว่า "ถ้าเอาดนตรี ไปเล่นให้เขาฟัง เขาอาจสนใจเเละมาเรียนโรงเรียนเราเพิ่มขึ้นก็ได้" ผลที่ออกมา คือ สิ่งที่เล่นสิ่งที่ร้องนั้น  เด็กๆไม่ค่อยสนใจ เพราะมีเสียงดังมากจากหลายๆที่เข้ามาทางประตูเเละหน้าต่าง ทำให้เสียงไม่ได้ยิน เเล้วในระหว่างที่เล่นดนตรี ครั้งเเรกคิดว่า จะให้ครูพูดไป เเล้วเราจะใช้เสียงกีต้าเบาๆเเละคนร้องเพลงเบาๆ ปรากฏว่า "เด็กยิ่งรู้สึกสับสน ไม่รู้เรื่องเข้าไปกันใหญ่อีก" ที่ไม่รู้ว่าจะไปสนใจใครดี ครูก็พุดเเต่ครู เราก็ร้องเเต่เรา ทำให้เป็นจุดด้อยที่สำคัญที่ต้องปรับเป็นการใหญ่ในโรงเรียนถัดมา  หลังจากเล่นดนตรีเสร็จเพียงไม่นาน ครูก็ขึ้นมาพูด เเล้วก็เชิญชวน เป็นอันสุดท้าย เเล้วก้เดกินทางไปสู่โรงเรียนถัดไป การออกเเนะเเนวในครั้งนี้ ในเวลา 2 วันในการเเนะเเนว ที่ไปยังโรงเรียนต่างๆ บางโรงเรียน เด็กกำลังนั่งเล่นอยู่ที่กองไฟ(ที่ดับเเล้ว) ทีเเรกๆว่าจะร้องเพลงอีกสักหน่อยเเละพาทำกิจกรรมสักหน่อย เเต่พอดูจากบริบทของเเต่ละคนเเล้ว ไม่กล้าเเสดงออก ถามอะไร ก็ไม่ค่อยที่จะกล้าตอบ รวมทั้งอยู่ในสถานที่ ที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้เราทำได้เพียง การพูดประชาสัมพันธ์บอกกล่าว ถามเด็กหลายคนว่า จะไปเรียนต่อที่ไหนกันน้อง น้องตอบว่า "จะเรียนโรงเรียนที่บ้านนี่ล่ะพี่ เราก็ยิ้มรับ เเล้วพุดว่าไม่เป็นไร ดูเอกสารนี่ก่อนเเล้วค่อยกลับไปคิดดีดีนะ หลังจากที่ออกสู่โรงเรียนทั้งสองวันได้ประมาณ สิบโรงเรียนก็เป็นอันเสร็จระยะทางเเห่งการเดินในรอบนี้ 

        หลากความเห็น หลายโรงเรียน ทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเเจ้งว่า ถ้าเด้กไปเเนะเเนวเด็กๆด้วยกันเองจะเข้าถึงได้ง่าย ทุนสำคัญของเด็ก คือ การอยุ่ในรุ่นเดียวกัน เเล้วสามารถเข้าถึได้ง่าย ส่วนทุนของผู้ใหญ่ คือ มีความน่าเชื่อถือหนักเเน่น การที่เด็กจะออกไปเเนะเเนวกันเองมีจุดด้อย คือ ความน่าเชื่อถือน้อย เเต่ถ้าผู้ใหญ่(ครู)ไปเเนะเเนวเด็ก จะทำให้เด้กรู้สึกว่าน่าเชื่อถือ เเต่จุดด้อยที่สำคัญ คือ เด็กจะเข้าถึงได้อยากหากผู้ใหญ่เน้นวิชาการ ไม่ยิ้มเเย้ม  ถ้าทั้งสองระหว่างเด็กกับครูนี้ มารวมกันจะทำให้ทั้งน่าเชื่อถือเเละรู้สึกเข้าถึง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเครื่องมือของเราด้วย เเละเวลาของเราด้วย...การเเนะเเนวครั้งเเรก เเห่งความทรงจำ พอนึกขึ้นมาทีไร ก็รู้สึกว่า "ตนเองยังไร้เดียงสา (ยังเป็นเด็ก) อยู่เยอะ"

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 562899เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท