อิทธิพลที่มีผลต่อทัศนคติ และความต้องการจัดฟัน


ในปัจจุบันนี้ความต้องการในการจัดฟันของประชาชนมีความต้องการสูง โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น โดยจุดประสงค์ของความต้องการจัดฟันในการจัดฟันแตกต่างกัน บ้างเพื่อการรักษาให้การเรียงตัวของฟันเรียบและสวยงาม สามารถใช้งานและดูแลรักษาได้ดีขึ้น แต่บางส่วนต้องการจัดฟันเพื่อโก้เก๋ดูทันสมัยเป็นที่ยอมรับในสังคมหรือดูมีฐานะเมื่อมีเครื่องมือจัดฟัน

การศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อทัศนคติ และความต้องการจัดฟันของนิสิตชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2552 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)

The Influenced effect to attitude and desire for orthodontic treatment among year    2-undergraduate, 2552 academic year of Srinakarinwirot (Prasarnmit) University.    

พลพิทยา วรชาติ  เพียงโสภิณ ห่วงญาติ  เมธินี ลีลาวัฒนพานิชย์  อัมไพ บุญวรเมธี

Pholpittaya Vorachart, Piangsopin Huangyart, Matinee Lelawattapanit, Ampai Bonvoramatee

E-mail: [email protected]       

 

บทคัดย่อ

ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน  ทำให้วัยรุ่นมีความใส่ใจในภาพลักษณ์ของตนเองมากขึ้น  โดยเฉพาะความสวยงามของใบหน้า ดังนั้นความต้องการจัดฟันจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ทั้งในกลุ่มที่มีความผิดปกติของการสบฟันและกลุ่มที่ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขการสบฟัน แต่ต้องการเข้ารับการจัดฟันเพียงเพราะความสวยงาม ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่นตามมาได้ในอนาคต  งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อทัศนคติและความต้องการจัดฟันของนิสิตชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2552 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) ดำเนินการส่งแบบสอบถามแบบตอบกลับด้วยตัวเองไปยังกลุ่มตัวอย่าง ได้รับการตอบคืนจำนวน 394 ชุด (ร้อยละ 48) เป็นชาย 108 คน (ร้อยละ27.4) เป็นหญิง 208 คน (ร้อยละ 72.6) ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 11.5 พบว่า

ร้อยละ 33.7 เคยได้รับการจัดฟัน โดยเพศ, ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง, ญาติพี่น้องที่เคยได้รับการจัดฟัน และประสบการณ์การเข้ารับบริการทางทันตกรรมอื่นๆ มีอิทธิพลต่อการเข้ารับการจัดฟันอย่างมีนัยสำคัญ

ร้อยละ 39.6 ต้องการเข้ารับการจัดฟันโดยอายุและสายการเรียน มีอิทธิพลผลต่อความต้องการจัดฟันอย่างมีนัยสำคัญ

ในด้านทัศนคติต่อการจัดฟัน พบว่าเพศชายมีทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดฟันมากกว่าเพศหญิง

คำสำคัญ: อิทธิพล ทัศนคติ การจัดฟัน

 

Abstract

Nowadays, massive development in various aspects of life influences on adolescents, inclusive of improvement in facial appearance. The orthodontic treatment not only corrects the teeth to be in good alignment but often develops the impressive smile and face.  The need to be in the treatment is increased for this reason.  The objective for this study was to determine the factors that effect to attitude and desire for orthodontic treatment among year 2- undergraduate, 2552 academic year of Srinakharinwirot University (prasarnmit campus). A self questionnaires were used and were sent back about 394 copy (from 800 copy), totally about 48 percentages, 108 male (27.4%) and 208 female (72.6%). Data analysis was performed using SPSS 11.0 and found that

There is 33.7% of the sample group were used to receive professional orthodontic treatment. The factors that influence significantly are gender, branch of education, parents’ education, their cousins who  used to access this orthodontic treatment and in addition, the persons in this group who have a experience in any kind of the dental treatment.

There is 39.6% of the sample need to receive orthodontic treatment. It showed that the gender and the branch of education significantly influence to the need of the treatment.

Finally, the factor that influence significant to attitude for orthodontic treatment with 95% confidence level was gender, which male have more attitude average score than female.

Keywords: influences, attitude, orthodontic treatment

 

อิทธิพลที่มีผลต่อทัศนคติ และความต้องการจัดฟัน

ในปัจจุบันนี้ความต้องการในการจัดฟันของประชาชนมีความต้องการสูง โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น โดยจุดประสงค์ของความต้องการจัดฟันในการจัดฟันแตกต่างกัน บ้างเพื่อการรักษาให้การเรียงตัวของฟันเรียบและสวยงาม สามารถใช้งานและดูแลรักษาได้ดีขึ้น แต่บางส่วนต้องการจัดฟันเพื่อโก้เก๋ดูทันสมัยเป็นที่ยอมรับในสังคมหรือดูมีฐานะเมื่อมีเครื่องมือจัดฟัน

 

การนำความรู้จากผลการศึกษาวิจัยไปประยุกต์ใช้

การเรียงตัวของฟันย่อมมีผลต่อการใช้งานในการบดเคี้ยว การพูดการออกเสียง นอกจากนี้ฟันที่เรียงตัวที่ดีทำให้การดูแลรักษาทำความสะอาดได้ง่าย สุดท้ายยังช่วยส่งเสริมบุคคลิกให้ดูดีขึ้น การที่ผู้ใดจะตัดสินใจในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันนั้นย่อมมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลในการตัดสินใจ ซึ่งจากผลการวิจัยจะเห็นว่าพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งด้านเพศ ฐานะ ระดับความรู้ ครอบครัว และเพื่อนๆที่เคยจัดฟัน ย่อมมีส่วนทำให้ผู้ป่วยอยากจัดฟันหรือยอมรับการจัดฟันมากกว่า

การให้ความรู้ที่ถูกต้องและผลดี ผลเสีย ต่อผู้ป่วยนั้นมีความสำคัญ เพราะอิทธิผลของสังคมบางครั้งทำให้เกิดการเรียนแบบ จึงเป็นที่มาของการจัดฟันแฟชั่น ซึ่งในบางคนนั้นไม่จำเป็นที่ต้องจัดฟัน หรือบางคนที่ยังไม่มีความพร้อมทางฐานะแต่ต้องการที่จะมีความเท่าเทียมหรือยอมรับทางสังคม ก็ไปทำการติดเครื่องมือจัดฟันจากที่ที่มิใช้สถานพยาบาลซึ่งอาจมีผลเสียต่อฟันหรือชีวิต อย่างที่เคยเป็นข่าวได้

คำสำคัญ (Tags): #จัดฟัน#ทัศนคติ
หมายเลขบันทึก: 562887เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท