ความผูกพันเพื่อคุณภาพ


จุดเริ่มต้นของคุณภาพ เริ่มต้นที่ตัวเราเอง ก่อน รวมถึงการสร้างองค์กรการเรียนรู้ได้จะต้องก้าวไปหาคนอื่นก่อน และต้องก้าวข้ามการยึดติดของตนเอง

สวัสดีครับ

GotoKnow ร่วมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ "ผูกพัน ผูกใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยสายใย เครือข่าย G2K" ในงาน 15th HA National Forum

จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมานั้น ผมได้ร่วมเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนวิชาการ วิชาคน กับ คณาจารย์ เพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ ลูกศิษย์ ผู้ป่วย รวมถึงคนอื่นๆทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก ซึ่งทำให้เกิดเรื่องเล่าต่างๆมากมาย

วันนี้อยากนำเสนอ เรื่อง ความผูกพันเพื่อคุณภาพ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ช่วยสร้างคน สร้างงานที่มีคุณภาพหลายอย่างในชีวิตผม

 

วันแรกที่ผมมาทำงาน ผมได้เรียนรู้เรื่องคุณภาพจากหัวหน้าคนแรกของผม คือ รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ

 

เรียนรู้อย่างไร?

ทำให้ดู ทำเป็นตัวอย่าง พาทำเรียนคุณภาพ เช่น

มาทำงานก่อน มาเช้า กลับเย็น กลับที่หลัง 

แนะให้ตรวจสอบคุณภาพของงานตนเอง ก่อนส่งงานให้อื่นต่อไป

รู้จักการสรุปภาระงานประจำวันที่ทำ วิเคราะห์ตนเอง วันนี้ทำอะไรดี ทำอะไร ไม่ดี แล้วมานำมาต่อยอดหรือหาทางแก้ไข

 

 

 

เรียนรู้คุณภาพเรื่องอะไร?

 

อาจารย์สอนให้ ผม....

รู้จักการประเมินตนเอง

รู้จักที่จะประเมินคุณภาพงานในด้านต่างๆ

เช้าๆ ก่อนทำงาน มาพูด มาคุยกัน เล่าสู่กันฟัง ทำอะไรดี ทำอะไรไม่ดี อะไรที่ทำดี ก็ให้พัฒนา อะไรทำไม่ได้ ก็หาทางแก้ไข

ตอนแรกๆ ก็ งง.. ทำไม? ต้องทำ รู้แต่การทำงานประจำให้ดีที่สุด

 

 

 

นี่คือ.... จุดเริ่มต้นของคุณภาพ

เริ่มต้นที่ตัวเราเอง ก่อน

 

การสร้างองค์กรการเรียนรู้ได้นั้น จะต้องก้าวไปหาคนอื่นก่อน รับฟังแนวคิดของคนอื่นๆ และต้องก้าวข้ามการยึดติดของตนเอง 

 

 

 

อาจารย์มักจะพาพวกเราไปกินข้าวแบบสหสาขาวิชาชีพ 

ระหว่างกินข้าว คุยโน้น คุยนี่

แล้วตามด้วย... การสอน สอนเรื่องการทำงานให้ดี ทำให้มีคุณภาพ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล เป็นระยะ ทุกคนช่วยองค์กร เรียนรู้จากความผิดพลาดและความสำเร็จจากงานประจำ นำประสบการณ์จาการเรียนรู้ มาปรับปรุง รวมถึงต่อยอดพัฒนา

 

 

สอนให้รู้จัก ฟัง พูด และ คิด จากเพื่อนๆร่วมงาน

 

คิดได้ ได้คิด คำนี้ฟังมานานแล้ว

 

สอนให้มองปัญหาจากงานที่ทำ

 

ทำตามที่อาจารย์บอก ทำมาเรื่อยๆ ไม่รู้หรอกว่านี่ คือ การทำงานด้วยคุณภาพ

 

 

 

 

ทำแบบนี้มานาน... ทำติดต่อกัน 

เกิดความรัก ความผูกพัน ร่วมทำงานกันเป็นทีม รังสีแพทย์ รังสีเทคนิค พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ เพราะเราร่วมทำงาน ร่วมฟัง ร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยกันอยู่เสมอ เกิดรักในการทำงานคุณภาพโดยไม่รู้ตัว 

 

 

สิ่งที่เป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้ ขึ้นอยู่กับคนปฏิบัติ

 

 

 

 

ต่อมา ท่านคณบดีคณะแพทย์ ผศ.นพ.พิสิฎฐ์ สัณฑ์พิทักษ์ ได้มีการนำระบบพัฒนาคุณภาพงาน คือ QCC : Quality control cycle มาให้บุคลากรในคณะร่วมกันทำ  (ภาพคิวซีสาร ทำงานพัฒนาคุณภาพ ในปี พ.ศ.2531) 

 

 

พวกเรา... บอกได้ สบาย เราทำงานเป็นทีม ทำงานคุณภาพมานาน ทำแบบไม่รู้ตัวเลย นะนี่

เพราะพวกเรามีหัวหน้าที่ พาทำ พาทบทวน

 

ใครไม่ทำ เราไม่ว่า แต่อยากทำ เราสนับสนุน

 

 

 

เนื่องจากผมเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน ที่ผ่านการทำงานด้านคุณภาพมาบางส่วนแล้ว ทำให้ผมได้มีโอกาสร่วมงานกับเจ้าหน้าที่อื่นๆหลายคน ในด้านคุณภาพมาเรื่อยๆ

 

 

 

การพัฒนาคุณภาพ ไม่ใช่เครื่องมือของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นเป็นของกลุ่มคนที่รวมตัวกันด้วยความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะพัฒนาองค์กร พัฒนางาน อันเป็นที่รักให่ดียิ่งๆขึ้นไป

(ถอดบทเรียนจาก นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ผอ.โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในสมัยนั้น) 

 

 

ปัญหามา ปัญญามี

ปัญหามา คุณภาพยังไม่ดี

ทำงานคุณภาพบ่อย แก้ปัญหาบ่อย ทีมงาน เริ่มเรียนรู้มากขึ้น จุดอ่อนลดน้อยลง

 

 

 

หลายปีผ่านมา

เมื่อ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขารังสีเทคนิค ในปี พ.ศ.2543 อาจารย์จิตเจริญ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง และผลักดัน การประกันและพัฒนาคุณภาพ เข้าไปในเนื้อหารายวิชา เพื่อให้บัณฑิตได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพ รวมถึงการวิจัย ได้เรียนรู้วิชาการ ผสมผสานวิชาคน ในหลักสูตรนี้  

 

ดูแลส่งเสริม เพิ่มเติม ตั้งแต่เข้ามาศึกษา พัฒนาสู่ความสำเร็จ

 

 

 

คุณภาพคน คุณภาพบัณฑิตที่พึงประสงค์ ทำอย่างไร?

จัดกิจกรรมเสริม เติมเต็มกิจกรรมหลัก

 

นักศึกษาที่เข้ามาเรียนในหลักสูตรรังสีเทคนิค(ต่อเนื่อง) เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลต่างๆในประเทศไทย มาเรียนเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านรังสีเทคนิค วิชาการ วิชาคน

 

 

ปลูกฝังแนวทาง รักในการทำงานให้ได้มาตรฐาน ให้เกิดคุณภาพ และสามารถทำอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

กิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่... 

การสร้างสัมพันธ์ คณาจารย์ รุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อนๆร่วมวิชาชีพ ต่างวิชาชีพ ต่างสถาบัน

เรียนรู้การทำงานเป็นทีม

รู้เขา รู้เรา รู้รัก รู้สามมัคคี

การเป็นผู้นำ การเป็นผู้ตาม

เป็นผู้ให้ เป็นผู้รับ

 

 

 

 

 

เชื่อมโยงรุ่นพี่ รุ่นน้อง ศิษย์ จัดกิจกรรมธรรมะ บำรุงศิลปะวัฒนาธรรม

เปิดโอกาส สร้างโอกาส เรียนรู้ร่วมกัน

 

 

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รู้ฟัง พูด และ คิด

กล้าที่จะแลกเปลี่ยนเรียน กล้าที่จะบอกตนว่า รู้ ไม่รู้

สร้างวัฒนธรรมการรับฟัง การเรียนรู้จากเพื่อนๆ จากผู้อื่นๆ 

 

 

จากรุ่นหนึ่ง สู่อีกรุ่นหนึ่ง เรียนรู้ แลกเปลี่ยนอย่างตอเนื่อง

 

 

 

 

 

ทำให้เห็น ทำเป็นตัวอย่าง

ประเมินตนเอง ด้านความรู้ วิชาการ

ประเมินตนเอง ด้านคุณภาพงาน

ประเมินตนเอง โดยคณาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง

 

PDCA แทรกซึม อยู่ในทุกๆขบวนการ 

 

 

 

 

 

 

บางส่วนของสำคัญ คือ ศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาจากจากหลักสูตรรังสีเทคนิค ภาควิชารังสีวิทยา ได้นำองค์ความรู้ด้านคุณภาพไปต่อยอด ไปสร้างผลงานของหน่วยงานและตนเอง อย่างต่อเนื่อง 

 

คิดได้เอง ทำได้เอง ไม่ต้องเกรงใจครู

 

 

 

 

 

 

 

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมคุณภาพ ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับบุคลากรหลายๆคน หลายด้าน ทั้งทางตรงและทางอ้อม เกิดเครือข่ายคุณภาพ เรียนรู้พัฒนากับเพื่อนๆร่วมวิชาชีพ

 

 

 

 

 

เครือข่ายรังสี เครือข่ายคุณภาพ เครือข่ายความผูกพัน

แต่ละคนในเครือข่าย เมื่อมารวมตัวกัน ร่วมกันคิด แลกเปลี่ยนความคิด แต่ละคนมีความรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน นำมาใช้ ช่วยเหลือกันและกัน เกิดเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ส่งผลที่ดีต่อผู้รับบริการ ต่อหน่วยงาน และต่อตนเอง

 

 

 

 

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานด้านคุณภาพที่ผูกพัน

 

การทำงานไม่ใช่เพียงทำงานให้เสร็จเท่านั้น แต่ต้องทำให้สำเร็จด้วย

การทำงานบางครั้งไม่สำเร็จ แต่มีความผูกพัน ยังคงอยู่

ใจเขา ใจเขา เกิดสามมัคคีร่วมใจ

 

 

มีผิด มีถูก มีผูก มีแก้ มีท้อแท้ แต่อย่าลืมความรักที่มีต่อกัน

 

 

ทุกที่มีปัญหา แต่ปัญหาสามารถแก้ไขได้ ด้วยตัวเราเอง ด้วยทีมงาน

เพื่อนช่วยเพื่อน ขอเพียง เปิดเวลา เปิดโอกาส เปิดพื้นที่ และ เปิดใจ

ทำงานคุณภาพ PDCA เกี่ยวข้องทุกเนื้องาน ทุกๆคนในทีมงานมีความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในผลสำเร็จของงาน

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 562794เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2014 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2014 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มองภาพถ่าย แล้วใจคิดถึง วันเก่าๆ ที่พวกเราชาวรังสีวิทยา ได้ร่วมกันพัฒนาคุณภาพร่วมกัน มาถึงวันนี้ พี่ต้อม ได้พัฒนามาถึง ยอดเขาแห่งการพัฒนา รอวันที่จะฉายแสง เพื่อพัฒนาน้องๆชาว RT รุ่นต่อๆไป

เรียน อาจารย์ จิตเจริญ ที่เคารพ

ทีมงานรังสีวิทยา รุ่นเก่าผสมผสานรุ่นใหม่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อตัว สร้างงานคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง เกิดจากการวางรากฐานที่ดีของอาจารย์ คงได้เห็นพัฒนาการที่ดีต่อไปเรื่อยๆ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท