การสัมผัสทางผิวหนัง


 การได้สัมผัส  เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง มือ หรือ ผิวหนังส่วนอื่น ผู้แสดงจะต้องมีความรู้สึกไวต่อสิ่งของที่ได้สัมผัสแต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น ผิวหยาบ ผิวนุ่ม ผิวแข็ง และเมื่อได้สัมผัสสิ่งนั้น ๆ มีท่าทางความรู้สึกอย่างไร
     การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่เสมอ จะทำให้ผู้แสดงมีความรู้และการรับรู้ฉับไวในการแสดงแต่ละอย่าง และสามารถสร้างสรรค์งานละครได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

 

การทดลองจากการสัมผัส

การทดลองโดยการให้ผู้ทดลองหรือผู้สัมผัส ได้สัมผัสวัสดุที่อยู่ในกล่องทั้งสองกล่อง ว่ามีความแตกต่างกันหรือไหม

ขั้นตอนการทดลอง

- นำกล่องสองกล่องมา แล้วนำวัตถุที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก,เล็กน้อย หรือเหมือนกัน มาใส่ไว้ในกล่องทั้งสองกล่อง

- จากนั้น ให้ผู้ทดลอง ในกลุ่มจำนวนหนึ่ง(จากการทดลองนี้ จะให้เด็กปฐมวัย) ทำการทดลอง

- ให้ผู้ทดลอง นำมือทั้งสองข้าง ล้วงเข้าไปในกล่อง เพื่อทำการสัมผัสวัตถุที่ได้เตรียมเอาไว้

- จากนั้น ผู้ทดสอบ จะถามผู้ทดลองว่า การสัมผัสวัตถุที่ได้สัมผัสไปนั้น มีความแตกต่างกันหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

- หากผู้ทำการทดสอบนั้น ตอบได้ถูกต้อง แสดง ประสาทการรับสัมผัส มีความแม่นยำและถูกต้อง

 

ข้อดีในการทดลอง

* จะช่วยในการจดจำของระบบประสาท ว่าสามารถจดจำในสิ่งที่สัมผัสได้หรือไหม

* สามารถทำให้รู้ได้ว่า สามารถแยกแยะ สิ่งของหรือวัถตุที่อยู่ในกล่อง ได้ถูกต้องหรือไหม

* ฝึกการสังเกตุและทำให้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ผิวหนัง
หมายเลขบันทึก: 562549เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท