ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดการความรู้ทางการศึกษา


ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดการความรู้ทางการศึกษา

 

     ความรู้มี 2 ประเภท คือ

  1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) ซึ่งมีอยู่ 95% เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง (ความรู้แบบนามธรรม)

   2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ซึ่งมีอยู่ 5 % เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ(ความรู้แบบรูปธรรม)

 

วงจรสร้างความรู้ (Knowledge Spiral : SECI Model)

  

                   

 

  • S = Socialization คือ การสร้างความรู้ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะสมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
  • E = Externalization คือ การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้
    เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
  • C = Combination คือ การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
    เพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้
  • I = Internalization คือ การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆโดยการฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา จนกลายเป็นความรู้และปรับปรุงตนเอง

 

กระบวนการจัดการความรู้

      เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการกับความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ 

  1. การบ่งชี้ความรู้ 
  2. การสร้างและแสวงหาความรู้ 
  3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 
  5. การเข้าถึงความรู้ 
  6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 
  7. การเรียนรู้ 

 

   รูปแบบการจัดการความรู้  ได้แก่ 

   -  Benchmarking & Best Practice(วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด)

   - ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) 

   - Balanced Scorecard & Key  Performance Indicator  

   - Competency (สมรรถนะของบุคคล) 

   - After Action Review : AAR (การถอดบทเรียน)  

   - Kaizen (การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง) 

   - Social Network(สังคมออนไลน์)

 

การนำไปประยุกต์ใช้

          สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเรียนรู้ในรายวิชา การจัดการความรู้ ไปประยุกต์ใช้ได้ในชิวิตจริง ทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น รู้จักวิธีการที่จะนำมาจัดการกับความรู้ที่เรามีอยู่แล้วมาจัดให้เป็นระบบได้มากขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำมาความรู้มาใช้ประโยชน์ การเรียนในรายวิชานี้ยังทำให้มีตัวอย่างในเรื่องของการปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 562138เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2014 01:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2014 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความรู้แบบฝังอยู่ในตัวคนมีมากนั่นเอง เราจึงได้ระบบจำนำข้าวแล้วไม่ได้เงิน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท