การจัดการความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดการความรู้ทางการศึกษา


ความรู้ที่ได้ในการศึกษารายวิชานี้ คือ 

การจัดการความรู้ทางการศึกษา
        องค์ประกอบการจัดการความรู้ “ PPPT ”
 
1. วัตถุประสงค์ ( Purpose) การทำงานทุกอย่างต้องเริ่มที่วัตถุประสงค์ ในอดีตมาจากฝ่ายบริหาร แต่ปัจจุบันมาจากการร่วมกันกำหนดเพื่อเป็นเป้าหมายของการการศึกษาเพื่อคุณภาพการบริการ ต้นทุนในการบริการ ความรวดเร็วในการนำมาบริการออกสู่ตลาดและนวัตกรรมบริการใหม่การกำหนดวัตถุประสงค์จะเป็นหลักให้พิจารณาต่อไปจะต้อง ใช้ความรู้ออกไปบางที่จะนำมาใช้เพื่อนำเป็นงานให้มีวัตถุประสงค์ และจะหาค้นคว้า ความรู้ที่กล่าวจากสมาชิกของสถานศึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง  เพื่อนำมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันแล้วประมวลเป็น “ความรู้” ที่จะนำไปใช้ที่มากมายได้วัตถุประสงค์
2. คน ( People ) เป็นองค์กรสำคัญที่สุดของการจัดการความรู้ เหมาะเป็นผู้ครอบครองความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ ผู้สร้างความสามารถในการแข่งขัน ทุกระดับ ที่ครอบครองความรู้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้และปฏิบัติตามวัฒนธรรมขององค์กร รู้และปฏิบัติการรู้เป็นทีม ตระหนักในการร่วมกันกำหนดวิจัยทัศน์ขององค์กร การใช้แรงจูงใจ เข้าใจการจัดการ (Ctelf management) ร่วมกันจัดการเปลี่ยนแปลงและการจักการคุณภาพ
3. กระบวนการ ( Process) เป็นการบริหารจัดการแผนดำเนินการจัดการความรู้ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือวัตถุประสงค์ที่มาจากการร่วมกันแสวงหาความรู้ ประมวลความรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่นำไปจัดทำแผนปฏิบัติ ทำการประเมินและพัฒนาจนได้ความรู้หรือนวัตกรรม ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร จัดเก็บในคลังความรู้เพื่อเผยแพร่และการเรียนรู้เพื่อสร้างผลงาน ที่มีคุณภาพที่แตกต่าง                      กระบวนการจักการความรู้จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือในการจัดการความรู้ แต่การถาม ที่ปรากฏในลักษณะ BAR และAAR   การเล่าเรื่อง หรือการสนทนาในขณะที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการถ่ายทอดความรู้ โดยวิธีการอบรม หรือพี่เลี้ยง   เป็นต้น
4. เทคโนโลยี ( Technology ) เป็นเครื่องมือสำคัญของการจัดการความรู้ในการค้นหาความรู้ (Search engine) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวทีจริง ( Virtual platform)   หรือเวทีเสมือนจริง การเก็บรวบรวม ( Data mining)   การเผยแพร่ ( Web) และการเรียนรู้เทคโนโลยีจะสนับสนุนให้การจัดการความรู้ทำเป็นได้รวดเร็ว คงเสียเวลา ตรงตามเป้า ตรงประเด็น เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและการเผยแพร่
     
 
 
 
 
 
 กระบวนการจัดการความรู้ ( KM- Proees )
 
1. บอกเล่าให้เข้าใจ (Socialization) เป็นกระบวนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ขององค์กร ( Provider) ไปยังผู้ต้องการรับรู้ (Seekes) เป็นนักเรียน ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2. จดไว้เป็นหลักฐาน (Externalizahm) เป็นบทบาทของผู้ต้องการรู้หรือผู้เรียน ฟังแล้วจดไว้เป็นหลักฐานเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ที่ร่วมฟัง รวมทั้งตรวจสอบกับความรู้เรื่องเดียวกันในตำรา/เอกสาร
3. ตรวจทานจัดทำใหม่ (Combination) เป็นขั้นตอนที่ผู้ต้องการรู้ หรือเรียน นำเอาสารสนเทศที่แต่ละคนมาบันทึกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งช่วยกันตรวจทานกับความรู้ในตำรา/เอกสารแล้วจึงประมวลออกมาเป็นความรู้ใหม่ ตามเป้าหมายที่ต้องการ
4.นำไปใช้และพัฒนา ( Utilization )  นำเอาความรู้ใหม่ไปใช้เพื่อพัฒนา ทักษะการคิดวิเคราะห์และพัฒนาความรู้เดิม และประเมินผลร่วมกัน
5.การเรียนรู้และพัฒนาตน( Leaning ) เป็นขั้นตอนทบทวน วัฒนธรรมการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้
การจัดการความรู้ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นในที่ทำงาน/ห้องเรียน
 
องค์ประกอบการจัดการศึกษา
 
1.หลักวิชาการ (Academic)  เป็นพื้นฐานที่เป็นบ่อเกิดของความรู้ และความคิดที่มีเหตุผล ที่เป็นพื้นฐานของการคิดที่เป็นระบบ (System thinking ) ที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของทีมหรือห้องเรียนส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ที่ทำให้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคคล ทีมหรือห้องเรียนเป็นไปอย่างระบบ สามารถทบทวน และพัฒนาได้ตลอดเวลา
2.ผู้เรียน( Students) มาเรียนโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนที่เป็นวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา จำเป็นต้องได้การตอบสนองและคุณภาพของนักเรียนคือตัวชี้วัดคุณภาพของสถานศึกษา
3. ครู (Teaeher)   คือตัวกลางที่ปฏิบัติตามนโยบายสถานศึกษา ที่ต้องตอบสนองความต้องการของนักเรียน ในการพัฒนานักเรียนที่วัดได้ทั้งเชิงปริมาณ คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเชิงคุณภาพคือมีสติรู้ตัว มีปัญญารู้คิด มีสูงขึ้น จริงใจ มีความเป็นพลเมือง เป็นต้น
4.ทรัพยากรทางการศึกษา (Resources) ที่ประกอบด้วยทรัพยากรทางกายภาพ เช่น ตัวอาคาร
อุปการณ์การเรียนการสอน เป็นต้น ทรัพยากรการเงินคืองบประมาณทั้งงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้ของสถานศึกษา เป็นต้น และทรัพยากรบุคคลากร เช่น บุคคลากรสายบริหาร
บุคคลากรผู้สอน และบุคคลากรสนับสนุนเป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นกลไกที่ทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์สถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล
5.ความสัมพันธ์กับเครือข่าย (Relations) เครือข่ายเป็นพลังสำคัญในการทำงาน และสะท้อนความสามารถในการทำงานในเรื่อง ความเอาใจใส่ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง แหล่งข้อมูลเพื่อการกำหนดนโยบายและพัฒนาการทำงาน แหล่งสนับสนุนและแรงจูงใจในการทำงานของสถานศึกษา
6. สภาพแวดล้อม ( Milieu)   สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา จะมีผลต่อการทำให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างบทบาทให้อยากเรียนรู้ สร้างบรรยากาศให้เห็นอนาคตของตน โอกาสสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
 
หมายเลขบันทึก: 562018เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท