มารยาทผู้ดี เป็นเช่นไร (๑)


              เจ้าพระยาพระสมเด็จสุเรนทราบดี ได้เรียบเรียบกิริยาที่เรียกว่า "ผู้ดี" ไว้หลายเรื่อง

              การแสดงกิริยามารยาทของมนุษย์ที่ได้ว่า "ผู้ดี" (ผู้เจริญ) มีช่องทางแสดงออก ๓ ทางคือ กิริยากาย กิริยาวาจา และกิริยาใจ

              การแสดงออกทั้งสาม ยังต้องขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ วันนี้ขอเสนอกิริยา "ความสง่างาม ความเรียบร้อย ความสุภาพ" ซึ่งมี ๓ ทางคือ

              ๑) ด้านกิริยากาย (ฺBodily Manner) ควรแสดงความงดงามในท่วงท่าดังนี้

                    -ไม่เยื้องกายข้ามคนอื่น โดยไม่รู้สึกเกรงใจหรือขอโทษก่อน

                    -ไม่เอื้อมสิ่งของที่สูง ที่มีคนอื่นนั่งหรือยืนอยู่ โดยไม่ได้ขออนุญาต

                    -ไม่หยอกล้อคนอื่น จนเกินงามหรือล่วงเกินด้วยการถือวิสาสะ

                    -ไม่ลุกหรือนั่งหรือเดิน อย่างพรวดพราด จนเกินงามหรือทำให้สิ่งของเสียหาย

                    -ไม่หยิบยื่นหรือส่งของในอาการเสือกไส

                    -ไม่บังหรือเดินผ่านคนอื่นที่กำลังดูอยู่ โดยไม่เคารพใดๆ

                    -ไม่แสดงอาการเริงร่าจนเกินงามในบ้านแขก

           ๒) กิริยาวาจา (Verbal Manner) ควรแสดงอาการสื่อสารอย่างผู้ดี ดังนี้

                   -ไม่สอดสวนหรือแย่งกันพูด

                   -ไม่พูดเสียงดังเกินไป

                  -ไม่พูดกระโชกกระชากหรือเสียงตวาด

                  -ไม่ใช้วาจาหักหาญดึงดันกับคนอื่น

                  -ไม่พูดคำหยาบในที่ชุมชน บุคคล สถานที่ทั่วไป

           ๓) กิริยามโน (Mental Manner) ควรแสดงออกทางใจดังนี้

                  -ไม่ปล่อยจิตจนฟุ้งซ่าน กำเริบจนเย่อหยิ่งยโส

                 -ไม่แสดงอารมณ์จนบันดาลโทสะเกินงาม

                 -ควรมีกิริยาใจที่สุภาพที่สังคมต้องการ

                 -มีคุณธรรม ประจำใจ มีจิตสาธารณ์

                 -มีจิตที่เข้มข้น อดทน ยืดหยุ่น ยิ้มแย้ม แจ่มใส

                 ในสังคมปัจจุบัน แม้จะหากิริยาเช่นนี้ยากแล้วก็ตาม  แต่หากเรียนรู้ไว้เป็นบุพกิจของการแสดงออกย่อมเป็นท่วงท่า กิริยางาม เพิ่มเสน่ห์ให้เราได้นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #กิริยางาม
หมายเลขบันทึก: 561877เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2014 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 06:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คำสอนนี้ถูกต้องเที่ยงธรรมและใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยค่ะ

ขอบคุณมากๆ นะคะ บางครั้งดิฉันก็ขาดบางอย่างไปบ้างค่ะ

ชอบภาพหนูน้อยคนนี้ ไหว้สวยงามมากครับ

"สามจังหวะ"...กับการยกมือไหว้..น้อมเกล้า..น้อมกระหม่อม..น้อมจิต..(ไปเรียนมาที่วัตรธรรมกัลยาณี..เจ้าค่ะ)...

สาธุ สาธุ..สาธุ

...ไม่ได้เป็นผู้ดีครบทุกข้อตามแบบฉบับ...เอาเป็นว่าขอวางตัว ทำตัวให้ถูกกาละเทศะนะคะ

ความเป็นผู้รู้อย่างท่านอาจารย์ดร.พจนา แย้มนัยนา ก็เหมาะสมในทุกแง่มุมล่ะครับ ขอบพระคุณสำหรับคำชี้แนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท