ครั้งสองจรลาว


     เนื่องในงานนมัสการวัดพระธาตุพนม ระหว่างวันที่ ๗-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
ประเทศเพื่อบ้าน(ลาว) ก็ได้มีการจัดงานฉลององค์พระธาตุพนมเช่นเดียวกัน เพราะ
เป็นวัฒนธรรมที่ทำสืบกันมาครั้งสมัยที่ คนลาวได้มาบูรณะวัดพระธาตุพนม ในครั้งที่
องค์พระธาตุล่มคนลาวจำนวนมากได้พากันมาบูรณะซ่อมแซม ซึ่งได้แสดงประวัติโดยย่อว่า

    เมื่อได้เกิดแผ่นดินไหวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ขึ้นมากมาย ลามจากส่วนบนที่เริ่มปริร้าวลงมายังฐาน องค์พระธาตุพนมก็เริ่มเอียงจากแกนเดิม ต่อมาเข้าช่วงฤดูฝนในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีฝนตกหนักเกือบทุกวัน และมีลมแรงพัดตลอดเวลารอยร้าวที่มีแต่เดิมเริ่มแยกออกกว้างขึ้น วันที่ 11 สิงหาคม ตอนเช้าฐานพระธาตุพนมด้านทิศตะวันออก ผนังปูนตรงลวดลายประตูจำหลักซึ่งอยู่ กึ่งกลางของด้านตลอดถึงส่วนที่เป็นซุ้มทรงบายศรี ปูนกะเทาะหลุดร่วงลงมาทั้งแผ่นล่วงมาถึงเวลาเย็นอิฐหลุดร่วงจะได้ยินเสียงครืดคราดออกมาจากภายในองค์พระธาตุส่วนฐานนั้น อิฐร่วงลงมาเป็นระยะ ๆ ทะลวงลึกเข้าไปเป็นช่องเหมือนถูกคว้านให้เป็นโพรงอยู่ภายในฐาน การหลุดร่วงของอิฐในตอนนี้มีทั้งอิฐและดินหล่นลงมา จนกระทั่งมองเห็นหินแท่งยาวแบนอยู่ภายในแท่งหินทำให้เข้าใจว่า ส่วนฐานขององค์พระธาตุพนมภายในเป็นดินมากกว่าอิฐหรือหิน องค์พระธาตุเอียงไปทางทิศตะวันออกจนเห็นได้ชัด ครั้นถึงเวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล่มทลายลงมาทั้งองค์

      การจัดกิจกรรมประจำปี เพื่อรำลึกเหตุการณ์วันพระธาตุพนมล่ม นับเป็นเวลา 37 ปี เป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย รวมถึงชาวลาว ได้สูญเสียพระธาตุพนมองค์เดิม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ล่มสลายลง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518

      เมื่อมีโอกาสข้ามไปประเทศลาว ก็อดไม่ได้ที่จะชิมของดอง(เหล้า)
ขณะที่ได้เดินชมดูสิ่งต่างๆ ที่อยู่โดยรอบเราจะสักเกตเห็นเวทีนางรำ หรือว่ารำวง
ชาวบ้านในสมัยที่เราเป็นเด็ก วัฒนธรรมที่ยังคงอยู่คือ การนุ่งผ้าถุงเต้น ส่วนถนน
หนทางก็เต็มไปด้วยฝุ่น ร้านค้าร้านขายโดยส่วนมากก็จะมีเฉพาะอาหารการกินและ
เครื่องดื่มของดอง ซึ่งต้องยอมรับว่าบ้านเมืองเขา ถึงจะมีการกินสุรา แต่น้อยนัก
น้อยหนาที่จะมีนักเลงสุรามาชกต่อยกันเหมือนกับบ้านเรา สิ่งสำคัญเป็นเพราะความ
ศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมายที่เขายอมรับปฏิบัติกัน วัฒนธรรมต่างๆ ของลาวจึงเข้มแข็ง
     ดังนั้นหากเราสักเกตข้อดี เราก็จะมีแต่ได้กับได้ ส่วนเสียถึงมีเราก็ไม่ได้ เพราะ
เราเอาดีเข้าแลก ส่วนเสียจึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ไปลาวก็ได้เรื่องได้ราว หากรู้จัก
รับรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของเพื่อนบ้าน เราก็จะเข้าใจตัวเองโดยอัตโนมัติ สิ่งที่เรา
พบเห็นมันอาจเป็นภาพลวงตา ส่วนความรู้สึกที่จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ยากนักที่จะลวง
คนหลงไปกับการเที่ยวชม โดยลืมไปว่า...เพื่อนบ้านที่น่าทึ่งที่สุด...คือ ตัวเองและ
ความเป็นไปของตัวเอง วัฒนธรรมลาวที่ศักดิ์สิทธิ์ก็เพราะเขาไม่ลืมบ้านหลังเก่า
นั้นหมายถึง การเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและสุภาพเรียบร้อย ธรรมชาติของเขาจึงดูไม่น่า
เบื่อ อาจเป็นเพราะของใหม่เขาไม่หลง วัฒนธรรมเก่าเขาไม่ลืม ไปสักกี่ครั้งก็คงเดิม
เพื่อนเรา

คำสำคัญ (Tags): #ลาว
หมายเลขบันทึก: 561718เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2014 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2014 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เมืองลาว เป็นเมืองที่มีเสน่ห์ในตัวเอง..ที่มีกลิ่นไอวัฒนธรรมเดิมอยู่ แต่คงอีกไม่นานวัฒนธรรมใหม่ๆ จะทำลาย เพราะค่านิยมคำว่า "ทุนนิยมและบริโภคนิยม" ซึ่งไทยคือ เหยื่อที่เห็นประจักษ์ ด้วยเหตุนี้กระมัง ปปล. จึงห่วงวัฒนธรรมไทยนัก เนื่องจากวัฒนธรรมไทยเดิมๆไม่มีอีกแล้ว เห็นแต่ต่างชาติเต็มไปหมด ฮือ! ไทแล้ง เอ๊ยไทแลนด์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท