“ผ่อเมืองน่าน ผ่านงานศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม กับการเปิดประตูเมืองสู่อาเซียน” (ตอนที่ ๖)


ผู้ดำเนินรายการ

          ขอขอบคุณ นพ.คณิต ตันติศิริวิทย์ ที่พูดไว้อย่างดี โดยเฉพาะน้องๆ เยาวชนฟังกันเยอะ ถ้าเป็นโลกใหม่ที่เราจะมาทำให้เมืองน่านบ้านเราไม่เปลี่ยนแปลงไปนัก พร้อมทั้งสอดแทรกศิลปวัฒนธรรม ไม่ให้หายไปไหน ให้มันยั่งยืนต่อไป วัยรุ่นหรือเยาวชน เท่านั้นที่สนใจก็จะทำได้อย่าไปตามกระแส ตามกระแสและก็จะหลุด พอหลุดแล้วก็จะกลับคืนเข้ามายาก เพราะฉะนั้น ฝากถึงน้องๆ เยาวชนที่จะเป็นพลเมืองของเมืองน่านต่อไป ในอนาคตด้วย อีกท่านหนึ่งคือน้องนก

 

ยลลดา เกริกก้อง สวนยศ

          ขอสรุปสั้นๆ ไม่รบกวนเวลาอาหาร จริงๆ แล้วมีเรื่องที่จะแชร์ และเรื่องที่จะเล่าแสดงข้อคิดเห็นอีกหลายอย่าง จริงๆ แล้วมีทั้งเรื่องของอาเซ๊ยน และเรื่องของในมิติของการท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่องกับบุคลากรของรัฐก็ตาม หรือภาคการเมืองก็ตาม

          ขออนุญาตพูดถึงอาเซียนกับการท่องเที่ยว และตัดเอา AEC เศรษฐกิจออกไปก่อน ซึ่งจริงๆ แล้ว AEC เศรษฐกิจ มันมีผลต่อสังคมและวัฒนธรรมแน่นอนที่จะเข้ามา ก็ไม่อยากให้ทุกท่านรู้สึกว่าตื่นเต้นจนตกใจ เพราะจริงๆ แล้ว การรวมประเทศอาเซียนไม่ได้ต่างกันกับ Changen ในสภาพยุโรป ซึ่งเขาก็อยู่กันมาได้ เพียงแต่ว่าทำการบ้านมากขึ้น อย่างน้อยๆ ในภูมิภาคอาเซียนของเรานี้ก็ยังมีต้นแบบ คือสหภาพยุโรปที่ยังทำกันมาก่อน เพราะฉะนั้นแล้ว ก็ไม่ต้องตื่นเต้นอะไรมาก เพียงแต่ว่าเราพยายามเรียนรู้ให้มากก็แล้วกัน

          บางคนตื่นเต้นจนทำอะไรไม่ถูก ทีนี้ในมิติของรัฐ ของการเมือง ในส่วนตัวแล้ว มองว่ารัฐและภาคการเมืองมีบทบาทกับภาคสังคม เพราะปัจจุบันนี้ดูแล้วรัฐ สังคมและเอกชนไม่มีการบูรณาการร่วมกัน แต่ว่าบางครั้งก็มี event มีวิธีการที่บูรณาการเหมือนกัน แต่จับมือกันหลวมๆ เหมือนกับว่าการประสานไม่ได้ สุดท้ายที่สุดก็จัดสัมมนากัน จัดพูดคุยกันแล้วก็เลิกๆ กันไป แล้วเอาผู้นำชุมชนมา ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้นำชุมชนก็อยู่บ้านไม่ได้ร่วมฟัง จึงไม่รู้เรื่อง แล้วจะไปโทษใคร ถ้ามองในฐานะความคิดเห็นส่วนตัวของคนๆ หนึ่ง รู้สึกว่ารัฐก็ดี ภาคการเมืองก็ดี ภาคสังคมก็ดี ยังบูรณาการผสานมือกัน จับมือกันไปพร้อมกันยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งตรงนี้ไม่ได้หมายความว่ามีเฉพาะเมืองน่าน จริงๆ แล้ว ทั้งประเทศก็มีปัญหาเหมือนกัน หรือแม้แต่ตัวของภาครัฐเอง การประสานงาน การเชื่อมความสัมพันธ์อะไรต่างๆ ระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเองก็ยังมีน้อยอยู่ เราไปมาหากันตามข่าวก็ยังว่าน้อยอยู่ จะเปิดประเทศอยู่แล้วอะไรยังไง ไม่เห็นใครไปมาหาใคร แล้วจะเปิดตูมทีเดียว เราก็มีความรู้สึกว่า เราควรที่จะดูแลและโฟกัสให้เข้าไปชัดเจน

          ในส่วนของเมืองน่านเรา เรารู้แล้วว่ามีของดีอยู่มาก ทำอย่างไรให้ภาพเศรษฐกิจต่างๆ และคนที่มีมากหน้าหลายตา คนหลายชาติพันธุ์มากยิ่งขึ้น หลายประเทศมากขึ้น เล่าให้ฟังหน่อยหนึ่ง ที่เคยไปยุโรป เปิดประเทศ Changen มานานแล้ว เวลาเราไปประเทศต่างๆ เห็นเอกลักษณ์ของเขาอย่างชัดเจนอยู่ ไม่ว่าจะไปเยอรมัน เราก็เห็นความเป็นเยอรมัน ถ้าไปอิตาลี ก็จะเห็นความเป็นอิตาลี ถ้าไปประเทศฝรั่งเศส เราก็จะเห็นความเป็นฝรั่งเศสโดยชัดเจน โดยแม้ว่าเขาจะเป็นสหภาพยุโรปกันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตรงนี้สังเกตมาจาก ๓ อย่าง ตรงที่เขาชัดเจนในแต่ละประเทศ อย่างแรกก็คือศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม แม้แต่ไม่ใช่เรื่องวัดวาอย่างเดียว แม้แต่บ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่ เขาก็มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ซึ่งตรงนี้ไม่เพียงแค่เราหวังจิตสำนึกของคนในประเทศเท่านั้น ภาครัฐหรือการเมืองเข้าไปมีบทบาท อย่างบ้านเราก็อยากเห็นเหมือนกัน เพราะว่าส่วนตัวอยู่ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ไม่สามารถช่วยผลักดันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหาร อยากเห็นในการที่ผู้บริหารของบ้านเราได้ออกกฎหมายเพื่อรองรับและช่วยเหลือในการคงอัตลักษณ์ของเมืองน่านของเราไว้ ซึ่งสิ่งนี้หลายคนว่าทำได้ ไม่เห็นจะยาก แต่มันยากต่อคะแนนเสียงในอันดับต่อไป เพราะแน่นอนเมื่ออกกฎหมายอะไรออกมาสักอย่างแล้ว คนในสังคมจะต้องเห็น ๒ ด้าน ด้านหนึ่งก็จะต้องเห็นด้วย และอีกด้านหนึ่งก็ไม่เห็นด้วย เสี่ยงต่อคะแนนเสียง แต่ก็อยากเห็นอยู่ดีว่า บุคลากรของรัฐก็ตาม นักการเมืองก็ตามมีความกล้าที่จะช่วยคงอัตลักษณ์ ให้กับสังคมอันนี้รวมไปถึงภาษาที่เราพูดกันตลอด คงความเป็นของตัวเองเข้าไป สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ ไปประเทศไหนก็ตาม เขาก็พูดภาษาเขา และเขาก็พูดได้อีกหลายภาษา คนอิตาลีพูดได้ ๗ – ๘ ภาษา คนฝรั่งเศสก็พูดได้ถึง ๗ – ๘ ภาษา แต่ท้ายที่สุดแล้ว ภาษาที่เป็นหลักของเขาคือภาษาถิ่นเขานั่นแหละ อันนี้ก็ขอฝากไว้ อีกอย่างหนึ่งบุคลิกภาพและจิตวิญญาณของความเป็นตัวตนของคนที่นั้น มันจะเห็นออกมาชัดเจนผ่านวัฒนธรรมประเพณี ที่เขาปฏิบัติ เวลากินข้าวกินอาหารเวลาอยู่เมืองนอก เราไปแต่ละประเทศ เขาก็มีวัฒนธรรมต่างกันไปหมด เช่นบ้านนี้ต้องกินชาก่อนข้าว บ้านนี้ต้องกินขนมก่อนกินข้าว มันมีรายละเอียดในชีวิตประจำวัน เราสามารถคงไว้ได้

          สุดท้ายก็อยากจะฝากไว้ ไม่ว่าเป็นคนรุ่นใหญ่หรือว่าเด็ก คนรุ่นใหญ่ให้ใช้คำว่า “ปลุก” ก็คือ ปลุกจิตวิญญาณสามัญสำนึกที่เป็นตัวตนของเราออกมา จะแปลงบ้านใหม่ก็ต้องคงรูปแบบเดิมเอาไว้ให้มีอัตลักษณ์ของเราไว้ ส่วนเด็กรุ่นใหม่จากปลุกให้เป็น “ปลูก” เราก็ช่วยกันปลูกให้เด็กรุ่นใหม่เขาได้สืบสานอัตลักษณ์ของเขาที่อยากจะฝากไว้

 

ผู้ดำเนินรายการ

          ขอขอบคุณน้องนกที่ได้ข้อคิดจากคนรุ่นใหม่ เพราะดูในที่นี้แล้ว น้องนกเป็นคนรุ่นใหม่ที่สุดบนเวทีแห่งนี้ เพราะแต่ละท่านอายุก็มากกันแล้ว

 

ยลลดา เกริกก้อง สวนยศ

          น้องขออนุญาตต่ออีกหน่อย หลายคนบอกว่าเพราะอะไร กลับบ้านถึงนุ่งซิ่น มาถึงมาเรียนรู้ฮีตฮอย เพราะอะไรถึงอยากคงอัตลักษณ์ ของเราไว้ หลายคนบอกว่า สจ.นก นุ่งซิ่นสร้างภาพ ไม่ได้สร้างภาพอะไร อยากนุ่งจริงๆ อยากนุ่งเพราะว่าครั้งหนึ่งเมื่อตอนเด็ก ขาดโอกาสและรู้สึกว่าสูญเสีย ไม่มีโอกาสได้นุ่ง เพราะเป็นเด็กผู้ชาย พอโตขึ้นมามีโอกาสได้นุ่ง ก็นุ่งซิ่น ไม่อยากให้ฮีตฮอยอัตลักษณ์ของเมืองน่านสูญหายไป และเราถึงได้รู้สึกแบบนกที่ไม่ได้นุ่ง

 

 

ผู้ดำเนินรายการ

          ในฐานะผู้หญิงเมืองน่านก็ต้องขอขอบคุณน้องนก ที่ได้นุ่งซิ่น ให้กับผู้หญิงเมืองน่านนุ่งซิ่น เพราะคุณนกเป็นที่ปรึกษา “ชมรมแม่ญิงน่านนุ่งซิ่น” ด้วย เพราะเป็นสมาชิกในชมรมไม่ได้ แล้วน้องนุ่งก็นุ่งซิ่นตลอด และแต่ละผืนก็สวยๆ งามๆ ทั้งนั้น ไปไหนก็นุ่งซิ่น

          ในรอบสุดท้ายนี้ ขออะไรที่เป็นข้อคิดฝากเล็กๆ น้อยๆ คนละ ๒ นาที

พระครูวิสิฐนันทวุฒิ

          อาตมาตอนเป็นเด็ก ไปวัดก็เอาซิ่นเจ้าอุ้ยมาพันแบบสวาธุเจ้าหรือแบบพระสงฆ์ เอาไม้กวาดมาเป็นตาลปัตร ฝึกให้ศีลตั้งแต่ ๗ ขวบ ประการสำคัญที่สุดคือการที่ได้เรียนรู้จากผู้หลักผู้ใหญ่ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะได้ช่วยกันแลกเปลี่ยน อบรมสั่งสอนให้เด็กเยาวชนทั้งหลายได้มีความภาคภูมิใจ นี่เป็นส่วนหนึ่ง ประการที่สอง ที่จะจบนี้ ก็ว่าความก้าวหน้าของเกษตรน่าน จนถึง มทร.ล้านนา น่าน ๗๕ ปี ในที่สุดนี้ ก็อยากจะเห็นภาพความร่วมไม้ร่วมมือ ความเป็นวิทยาลัยสงฆ์ก็เป็นอัตลักษณ์ คือเป็นวิทยาลัยทางศาสนา และก็อยากจะมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น มทร. เป็นต้น ไม่ว่าการแปลกเปลี่ยนคณาจารย์การบริการทางวิชาการทางสังคม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นภาระงานสำคัญของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ว่าจะเห็นภาพต่อนี้ไปอย่างไร จะมีพระมาสอนวิชาบางวิชา เช่นวิชาปรัชญา วิชาทางศาสนา ทฤษฎีภาวะผู้นำทางเชิงพุทธ หรือแม้แต่ธรรม อาตมาภาพรับผิดชอบภาษาอังกฤษเบื้องต้น ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ ปรัชญาศาสนาภาคภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษชั้นสูง อาจจะมีสิ่งที่แลกเปลี่ยนกันได้ พระเณร เรียนหนัก อย่างน้อยใกล้จะจบ ต้องได้ ๕๐๐ ศัพท์ โดยหัดเขียน หัดศึกษา ก็ไม่ละจารีตประเพณี คือภาษา ตัวเมือง ภาษาบ้านเรา อันนี้ก็สอดแทรกเข้าไปได้ อันนี้ก็ขอฝากท่านทั้งหลายว่า ภาพต่อจากนี้ไป เราควรจะมีความร่วมไม้ร่วมมือหลายๆ อย่าง เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของ มทร.ล้านนา น่าน และวิทยาลัยสงฆ์น่าน ในด้านศาสนา ขอเจริญพร

 

ผู้ดำเนินรายการ

          ขอขอบพระคุณพระครูวิสิฐนันทวุฒิ ดิฉันเห็นด้วย เพราะเคยไปเป็นอาจารย์พิเศษของ มจร. กับวิทยาลัยสงฆ์ ตอนช่วงสอน พระสงฆ์จะมีความตั้งใจดีกว่านักเรียน นักศึกษาปกติ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าจะมีพระสงฆ์ที่มีคุณภาพ ที่ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา และอีกหลายๆ อย่างในบ้านเรา ขอเชิญคุณญาณ       สองเมืองแก่น

 

คุณญาณ สองเมืองแก่น

          ถ้าดูเมืองน่านแล้ว ก็ช่วยกันเถิดครับ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มันมีทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กร ภาครัฐนั้นผมพูดด้วยหัวใจของคนที่เกิดในเมืองน่าน เมืองน่านมีเจ้าผู้ครองนคร ๖๔ คน แต่ปัจจุบันภาครัฐเข้ามาบริหารจัดการ เราอยากให้เมืองน่านเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดปีละคน ทำอะไรก็ไม่พอที่จะทำ อันนี้ฝากไว้ด้วย ผู้ว่าราชการปีละคน ทำเหมือนเมืองน่านอยู่ในแอ่งกระทะ การเดินทางอันนานแสนนาน

 

 

ผู้ดำเนินรายการ

          ขอเชิญท่านอาจารย์ลิปิกร

 

ผศ.ลิปิกร มาแก้ว

          ขอกราบอนุญาต ฝากไว้หน่อย คำโบราณว่า “ใหม่ก็เอา เก่าก็บ่ละ น้ำเก่าไหลไป น้ำใหม่ไหลมา ถ้าน้ำมันนิ่งอยู่ที่เก่า มันก็เน่า” เพราะฉะนั้นการที่เราจะผสมผสานในสิ่งเก่า และที่จะพัฒนาต่อไป เราก็ควรที่จะศึกษารากเหง่า และก็ควรที่จะพัฒนาอย่างมีสติ มีปัญญา ขอบพระคุณครับ

 

ผู้ดำเนินรายการ

          ที่สำคัญที่สุดที่ท่านอาจารย์ได้บอกไป ก็เพราะว่าในภาคเรียนหน้า ในบางสถานศึกษาก็มีการเปลี่ยนแปลง ต้อนรับอาเซียนที่จะเกิดขึ้น คือระยะเวลาในการเปิดภาคเรียน คือเปิดภาคเรียนให้เหมือนกันทุกประเทศ เวลาเราเปิดไม่ตรงกัน ก็จะมีปัญหาในการเข้าเรียนในต่างประเทศ หรือคนต่างประเทศมาเข้ามาเรียนในประเทศของเรา

          ตอนนี้เชิญท่านนายแพทย์คณิตค่ะ

 

นพ.คณิต ตันติศิริวิทย์

          พังอาจารย์ทักษิณาว่า ก็มีความรู้สึกอีกเรื่องว่าเราก็พยายามที่จะพัฒนาตัวเอง ที่จะเข้าอาเซียน เข้าหรือไม่เข้าก็ไม่รู้จะเป็นอย่างไร แต่ก็มีการเปลี่ยนการศึกษา เปิด – ปิดเทอม ก็น่าสนใจ ที่ภาคการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงอย่างมา ภาคสังคม ภาคต่างๆ ก็เปลี่ยนไปหมด ผมไม่แน่ใจว่า อันนี้เป็นสิ่งทีดีที่สุดหรือไม่ แต่ว่าท่านก็ได้ทำไปแล้ว แต่ก็ต้องทบทวน สิ่งต่างๆ ที่เราได้กลับมา ณ วันนี้นั้น มันเป็นการปรับตัวถึงจุดนี้ แล้วอยู่ๆ เรากลับไปปรับตัวให้กับคนอื่น ผมโชคดีที่ไม่ได้อยู่ในวงการศึกษาขณะนี้ แต่ก็สนใจว่ามั้นจะกระทบต่อสิ่งต่างๆ แค่ไหน? อย่างไร? แต่โดยส่วนตัวคิดว่า พูดถึง มทร.ล้านนา น่าน ก็อาจจะฝากว่า เรามีชื่อเสียงมาก เพราะฉะนั้นก็อยากว่าทำอย่างไรให้ความภาคภูมิใจ สิ่งที่ดีๆ ที่เคยเกิดขึ้นให้กลับมาอยู่อย่างเดิม

          ก็ต้องฝากนักศึกษา คณาจารย์ ช่วยกันผลักดันให้ มทร.ล้านนา น่าน เป็นที่พึ่งของคนน่าน ในทุกๆ ด้าน อย่างไรก็ตาม เมืองน่านเราเป็นพื้นที่ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเกษตรมากนัก เพราะฉะนั้นในส่วนพื้นที่สูง ก็น่าจะได้ศึกษาดีๆ ว่า การเกษตรปราณีต ที่คนพยายามจะร่วมกันทำ เราจะทำอย่างไร ให้เป็นส่วนสนับสนุนส่งเสริม และสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นมาในเมืองน่าน ในเรื่องของการเกษตร

 

ผู้ดำเนินรายการ

          ก็ต้องให้ยืนยัน หยัดยืน ของมทร.ล้านนา น่าน ตั้งแต่เป็น ร.ร.เกษตรน่าน ต่อไปขอเชิญน้องนก

 

ยลลดา เกริกก้อง สวนยศ

          ถ้าพูดถึงเรื่องอัตลักษณ์ ก็ควรจะสรุปไปแล้ว คือเรื่อง “ปลุก” และ “ปลูก” และ มทร.ล้านนา น่าน เราจะพัฒนาไปอย่างไร จะต้องไม่ลืมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรม และมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ในภาคประชาชน ภาคการเมือง ภาคประชาคม ภาครัฐก็ดี ก็จะสนับสนุน

 

ผู้ดำเนินรายการ

          มีคนดูแลแล้ว จะมีการสนับสนุน อยากจะให้ทางท่าน สจ. ดูแลเรื่องการเมือง มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา มทร.ล้านนา ก็สามารถจะทำได้ ดิฉันอยากจะบอกว่า ข้อมูลบางข้อมูลหลายท่านก็ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ฟัง บางท่านก็อาจจะได้ฟังมาแล้ว แต่ล้วนแล้วก็เป็นสิ่งที่ดี มีมูลค่า ดิฉันก็หวังอย่างยิ่งว่า นักศึกษาที่มาฟังเป็นส่วนหนึ่ง ของมทร.ล้านนา และคณะครู บุคลากรทางการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งก็จะนำเอาสิ่งเหล่านี้ไปพูด ไปหาแนวทางในการที่จะพัฒนา มทร.ล้านนา ด้วย และในส่วนของเมืองน่านบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะ วัฒนธรรม ด้านศาสนา รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงการท่องเที่ยวให้มีประโยชน์ที่สุด ในการที่จะเตรียมการเข้าสู่อาเซียน หรือการเข้าสู่นานาประเทศ ที่จะเข้ามาหาเรา แม้ว่าเราจะไม่เอา แต่ก็เข้ามาแน่นอน เราจะทำอย่างไรที่จะรับเอาของใหม่และรับเอาของเก่าในเวลาพร้อมๆ กัน วันนี้ขอให้ทุกท่านแสดงความภาคภูมิใจ และยินดีกับวิทยากรที่มาให้ข้อดี ข้อคิด กับมทร.ล้านนา น่าน และขอให้มทร.ล้านนา น่าน ก้าวไกลและเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

หมายเลขบันทึก: 561323เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท