หนังสือเปลี่ยนชีวิต "มูฮัมหมัด ยูนุส นายธนาคารเพื่อคนจน"


สนุกฉุกคิดกับ มูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ2006

ได้อ่านหนังสือของ ดร.มูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์ติดดิน ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน (ฉบับแปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล สนพ.มติชน) เพื่อแก้ปัญหาความยากจน และได้รับรางวันโนเบล/สันติภาพ ปี 2006 ได้ข้อคิดด้านวิชาการสี่ห้าข้อ ที่ประยุกต์ใช้กับการทำงานวิชาการได้

1. การนิยาม "คนจน" ต้องตรงจุด นิยามไม่ตรงจุดเท่ากับไม่มีนิยาม
2. นิยามต้องเฉพาะเจาะจง และวัดได้ หลังจากใช้เส้นความยากจนแล้ว ดร.ยูนุสแกเพิ่มมิติภาค เพศ อายุ อาชีพ....เพื่อให้คนจนที่สุดตัวจริงของบังคลาเทศ
3. แทนที่จะใช้ GDP วัดการพัฒนาประเทศ แกเสนอให้วัด การเพิ่มรายได้ของกลุ่มจนที่สุดครึ่งประเทศ แทน (รัฐบาลจะได้สนใจคนกลุ่มนี้จริงจัง แทนที่จะไปสนใจนักธุรกิจ) 
4. ตัวชี้วัด "ความปลอดจน" มาจากคำบอกเล่าของลูกหนี้โครงการ แล้วคัดมา 10 ข้อ จึงเป็นตัวชี้วัดที่คนยากจนรู้เรื่องและวัดตัวเองได้ตลอดเวลาว่า ปลอดจนหรือยัง ใน 10 ข้อนี้เป็นเรื่องสาธารณสุขโดยตรง 4 ข้อ (น้ำดื่มสะอาด ส้วมถูกสุขอนามัย มีมุ้งกันยุง ไม่มีใครขาดอาหาร) คล้ายๆ จปฐ.บ้านเราสมัยก่อน มีข้อนึงเป็นเรื่องทันสมัยคือ การปลูกพืชผักสวนครัวในบริเวณบ้าน

ดร.ยูนุสเสนอมุมมองการแก้ปัญหาความยากจนที่ท้าทายความคิดเศรษฐศาสตร์พัฒนากระแสหลัก (spill over) ท่านเชื่อไม่มีทางเป็นจริงเพราะคนรวยก็จะกันคนจนกว่า คนจนที่สุดจะถูกคนจนน้อยกว่ากันออกไปอยู่ชายขอบเรื่อยๆ  จึงต้องแก้ที่ตัวคนจนที่สุดไปเลย 

หมายเลขบันทึก: 560961เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท