ความรู้ที่ได้จากการจากการสัมมนาในหัวข้อ “กิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตสังคม”


       ดิฉันและเพื่อนๆนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่4 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสรับฟังการสัมมนาในหัวข้อ “กิจกรรมบำบัดจิตสังคม” จากอาจารย์ ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง อาจารย์นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ซึ่งในคาบเรียนนี้ดิฉันและเพื่อนๆได้รับความรู้มากมายอีกทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการฝึกงาน ความคิดเห็นต่างๆร่วมกันค่ะ ดิฉันจึงได้สรุปความรู้จากการสัมมนาในครั้งนี้มาแบ่งปันประสบการณ์ให้กับผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ภารกิจสำคัญของกิจกรรมบำบัดในฝ่ายจิต

    กิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตเวชนั้นจะทำร่วมกันระหว่างการฟื้นฟูและการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมี Well-being และ recovery จากการเจ็บป่วย ในประเทศไทยเพิ่งมีการทำงานเชิงรุกเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้นกว่าเดิม โดยพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น ส่งเสริมการฟื้นฟูกับชุมชนของผู้รับบริการ เน้นให้ผู้รับบริการใช้ชีวิตในบริบทสังคมให้มากขึ้น แต่การทำงานลักษณะนี้อาจยังมีไม่มากพอโรงพยาบาลจิตเวชส่วนใหญ่ยังทำงานแยกกัน ขาดการติดต่อสื่อสารประสานงานกัน

ทำอย่างไรให้การรักษามีคุณภาพสมบูรณ์ที่สุด

   ในต่างประเทศจะมีโปรแกรมเพื่อเพิ่มโอกาสด้านการประกอบอาชีพ ที่ให้ผู้ป่วยได้ทำงานในบริบทจริง เน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ให้สามารถกลับสู่สังคมได้ มีอาชีพ มีรายได้ช่วยเหลือครอบครัวตามบทบาทและตรงกับความสามารถ เน้นการให้ผู้ป่วยจิตเวชเป็นส่วนหนึ่งในสังคม ใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติ ในขณะที่ประเทศไทยยังเน้นกระบวนการฟื้นฟูในโรงพยาบาล ทัศนคติในบางหน่วยงานหรือบริษัทที่ไม่รับผู้ป่วยจิตเวชเข้าทำงาน ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชที่ออกจากโรงพยาบาลขาดโอกาสในการยอมรับจากสังคม 

จุดแข็งและจุดอ่อน

    จุดอ่อนคือปัจจุบันมีจำนวนนักกิจกรรมบำบัดค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในด้านจิตเวชที่ขาดแคลนค่อนข้างมาก ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังไม่เข้าใจบทบาทการทำงานของนักกิจกรรมบำบัด ไม่ทราบว่าเรามีบทบาทกับกลุ่มผู้ป่วยด้านนี้

 

กลยุทธ์สำคัญในกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตคือ

    การเข้าถึงความรู้สึกผู้ป่วย ความเข้าใจ เป็นผู้ฟังที่ดี และทำให้ผู้ป่วยอุ่นใจกล้าที่จะปรึกษาปัญหา ถือเป็นสิ่งที่นักกิจกรรมบำบัดควรมี นอกจากนี้ เข้าถึงชุมชนและครอบครัวของผู้ป่วย ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างอย่างเต็มที่

 

ความแตกต่างของกิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดล

   กิจกรรมบำบัดทำการเปิดการเรียนการสอนอยู่ 2 มหาวิทยาลัยคือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดล

 ในระบบการเรียนการสอนของทั้งสองมหาวิทยาลัยนั้นมีความคล้ายคลึงกัน แต่มหาวิทยาลัยมหิดลอาจจะได้เปรียบตรงที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางเมือง การเข้าถึงระบบการรักษาและความรู้ต่างๆอาจทำให้เข้าถึงได้ง่ายกว่า 

คุณอยากเห็นกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตเป็นอย่างไรในอนาคต

    ในปัจจุบันมีผู้ป่วยจิตเวชมีจำนวนมากขึ้น โดยมีประมาณสิบล้านคน ซึ่งอนาคตมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก แต่มีเพียงไม่กี่ล้านคนที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญในฐานะที่เป็นนักกิจกรรมบำบัดเราจึงควรเข้าไปช่วยผู้ป่วยทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน เน้นเรื่องการส่งเสริมและป้องกันให้มากขึ้น

 

จะใช้ทักษะของคุณกับบริบทสังคมไทยอย่างไร

   เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมพระพุทธศาสนาในการยึดเหนี่ยวจิตใจ ดังนั้นการใช้บริบทวัฒนธรรมอาจสามารถช่วยผู้ป่วยได้ เช่น การเข้าวัดทำกิจกรรมต่างๆ เน้นการรักษาโดยต้องมีการคำนึงถึงวัฒนธรรม สังคม อย่างเป็นธรรมชาติ ใกล้เคียงกับวิถีชีวิตผู้ป่วยให้มากที่สุด และสิ่งสำคัญคือนักกิจกรรมบำบัดการประเมิน การใช้กรอบอ้างอิงที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการเปิด AEC ในปี2015

    กิจกรรมบำบัดในจิตเวชยังไม่ค่อยมีบทบาทในการส่งเสริมการประกอบอาชีพ การฟื้นฟูเพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งต่างจากประเทศอื่นๆในอาเซียน เพราะฉะนั้นเราควรพัฒนาตรงจุดนี้เพื่อให้การบำบัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้ประโยชน์กับผู้รับบริการมากที่สุด 

สำหรับกิจกรรมบำบัดด้านจิตสังคมในประเทศไทยอาจจะยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่การที่นักกิจกรรมบำบัดพัฒนาองค์ความรู้ให้เป็นที่รู้จักและส่งเสริมการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีบทบาทสำคัญมากในการช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยทางจิตเวชให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

 

ขอขอบคุณคณาจารย์กิจกรรมบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล

อ.ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง

อ.ดร. อนุชาติ เขื่อนนิล

หมายเลขบันทึก: 560822เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท