ความรู้ที่ได้จากการสัมมนาในหัวข้อกิจกรรมบำบัดในเด็ก


ดิฉันและเพื่อนๆนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่4 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสรับฟังการสัมมนาในหัวข้อ “กิจกรรมบำบัดในเด็ก” จากอาจารย์ ดร. กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา ซึ่งในคาบเรียนนี้ดิฉันและเพื่อนๆได้รับความรู้มากมายอีกทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการฝึกงาน ความคิดเห็นต่างๆร่วมกันค่ะ ดิฉันจึงได้สรุปความรู้จากการสัมมนาในครั้งนี้มาแบ่งปันประสบการณ์ให้กับผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ภารกิจสำคัญของกิจกรรมบำบัดในฝ่ายเด็ก

     สำหรับกิจกรรมบำบัดในฝ่ายเด็กจะเน้นให้ความสำคัญในเรื่องระดับพัฒนาการที่สมวัยทั้งในกลุ่มเด็กปกติ และกลุ่มที่มีความผิดปกติ โดยในกลุ่มนี้เราจะฟื้นฟูส่งเสริมให้มีระดับพัฒนาการที่ใกล้เคียงกับปกติให้มากที่สุด ในประเทศไทยนั้นจำนวนนักกิจกรรมบำบัดค่อนข้างน้อย ทำให้เด็กอาจไม่ได้รับการฟื้นฟูหรือได้รับคำแนะนำอย่างเต็มที่ หากในอนาคตจะมีนักกิจกรรมบำบัดเพิ่มขึ้น การให้การบริการอาจทำได้ทั่วถึงมากขึ้น และเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับตัวเด็กเอง

ทำอย่างไรให้การรักษามีคุณภาพสมบูรณ์ที่สุด

      นักกิจกรรมบำบัดต้องปฏิบัติตามกระบวนการอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประเมินหาปัญหาในผู้รับบริการแต่ละราย ต้องมีการประเมินหาปัญหาอย่างครอบคลุม เพื่อนำไปตั้งไปตั้งเป้าหมายในการรักษา การเลือกกิจกรรมการรักษาที่เหมาะสม มีการตั้งเป้าหมายวางแผนการรักษาในแต่ละขั้นตอนร่วมกับผู้ปกครอง โดยหลังจากให้การบำบัดจะต้องมีการประเมินซ้ำทุกครั้งเพื่อดูความก้าวหน้าและดูปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการบำบัดฟื้นฟู 

จุดแข็งและจุดอ่อน

       ในปัจจุบันมีจำนวนนักกิจกรรมบำบัดค่อนข้างน้อย ในบางพื้นที่หรือบางโรงพยาบาลไม่มีนักกิจกรรมบำบัด ทำให้ให้การบำบัดฟื้นฟูทำได้ไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอกับจำนวนเด็ก ในอนาคตหากมีนักกิจกรรมบำบัดเพิ่มมากขึ้น การให้บริการส่งเสริมพัฒนาการในกลุ่มเด็กอาจทำได้ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้การบำบัดฟื้นฟูได้ผลมากขึ้นต้องอาศัยครอบครัวของเด็กร่วมด้วย ให้ครอบครัวได้มีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กสามารถทำกิจกรรมการำเนินชีวิตที่สำคัญในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นกิจวัตรประจำวัน การเล่น หรือการเรียน

 

กลยุทธ์สำคัญในกิจกรรมบำบัดฝ่ายเด็กคือ

      สิ่งที่สำคัญในการบำบัดฟื้นฟูคือองค์ความรู้ และการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการบำบัดฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ การนำกรอบอ้างอิงมาใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับปัญหาในเด็กแต่ละคน การวิเคราะห์กิจกรรมการรักษาซึ่งเป็นหัวใจของการเป็นนักกิจกรรมบำบัด โดยนักกิจกรรมบำบัดจะต้อง เรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้มากที่สุดและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

 

ความแตกต่างของกิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยมหิดล

      กิจกรรมบำบัดทำการเปิดการเรียนการสอนอยู่ 2 มหาวิทยาลัยคือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดล ในระบบการเรียนการสอนของทั้งสองมหาวิทยาลัยนั้นมีความคล้ายคลึงกัน แต่มหาวิทยาลัยมหิดลอาจจะได้เปรียบตรงที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางเมือง การเข้าถึงระบบการรักษาและความรู้ต่างๆอาจทำให้เข้าถึงได้ง่ายกว่า

 

คุณอยากเห็นกิจกรรมบำบัดฝ่ายเด็กเป็นอย่างไรในอนาคต

     สิ่งที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมบำบัดในเด็กคือ การมีนักกิจกรรมบำบัดที่เพียงพอ ทั้งในโรงพยาบาล โรงเรียน ชุมชน รวมถึงการมีระบบต่างๆที่ทำให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสปรึกษาได้ง่าย เช่น Call center,Social networkต่างๆซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือเด็กอย่างครบวงจร นอกจากนี้ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กปกติก็เป็นสิ่งสำคัญ การวางแผนร่วมกับครอบครัว เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดตามมาในเด็กและผู้ปกครอง การวางแผนชีวิตแบ่งเป็นสามระยะ คือ ก่อนแต่งงาน ก่อนตั้งครรภ์ และหลังคลอดจนทารกอายุหกเดือน  

 

คุณจะใช้ Skill ของคุณกับบริบทสังคมไทยอย่างไร

     การพิจารณาบริบทของผู้รับบริการก่อนเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะคนเราอยู่ต่างที่ต่างถิ่นกันย่อมมีพื้นฐานวัฒนธรรม สังคม และครอบครัวที่ต่างกัน การที่นักกิจกรรมบำบัดทราบถึงบริบทของผู้รับบริการจะช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาให้สอดคล้องไม่ขัดแย้งกับบริบท เพราะเมื่อทำการบำบัดฟื้นฟูสิ่งที่สำคัญคือเด็กต้องสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้จริงตามบริบท ต้องกลับไปอยู่บ้าน กลับเข้าไปสู่สังคม เพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป 

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการเปิด AEC ในปี2015

      การเปิด AEC นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียสำหรับนักกิจกรรมบำบัด ข้อดีคือเป็นการเปิดโอกาสในการทำงาน เราสามารถไปทำงานที่อื่นได้ การไปทำงานในต่างประเทศอาจทำให้มีรายได้ที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีการแข่งขันสูงขึ้น หากเราไม่มีความชำนาญหรือขาดทักษะทางภาษาอาจทำให้เกิดการแย่งงานจากต่างชาติได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญต่อนักกิจกรรมบำบัดมิใช่เรื่องรายได้แต่เป็นความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่จะช่วยให้การแข่งขันไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวสำหรับนักกิจกรรมบำบัดไทยเลย

การที่ได้มีโอกาสฟังการสัมมนาในครั้งนี้ทำให้ดิฉัน ได้รับความรู้และได้เปิดทัศนคติของตนเองต่อวิชาชีพมากมาย ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ดิฉันและเพื่อนๆก็จะจบการศึกษาและเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่สมบูรณ์ ดิฉันก็จะตั้งใจทำงานและรวบรวมความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาวิชาชีพและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ต่อไป ขอขอบคุณคณาจารย์กิจกรรมบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล

อ.ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง

อ.ดร. อนุชาติ เขื่อนนิล

อ.ดร. กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา

หมายเลขบันทึก: 560821เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท