ข่าวกระทรวงการคลัง


                  กระทรวงการคลังโดยนางพรรณี สถาวโรดม ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทยโดย Fitch Ratings เมื่อวันจันทรที่ 23 ตุลาคม 2549 เวลาประมาณ 12.00 . ตามเวลาประเทศไทย โดย Fitch ได้ยกเลิกมุมมองระดับเครดิตของประเทศที่มีการเฝ้าระวังระดับเครดิตที่เป็นลบออก (Rating Watch Negative) โดยยืนยันแนวโน้มระดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ (Stable) และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Long-term Foreign Currency Rating) ที่ระดับ BBB+ ระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (Long - term Local Currency Rating) ที่ระดับ A และระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้น (Short – term Rating) F2 พร้อมทั้งยืนยันระดับเครดิตของประเทศ (Country Ceiling) ที่ระดับ A- ซึ่งFitch ได้ให้เหตุผลในการปรับมุมมองของระดับเครดิตของประเทศไทยกลับคืนสู่ระดับที่มีเสถียรภาพ ดังนี้                  

                   1. สถานการณ์ทางการเมืองที่ กลับคืนเข้าสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็วภายหลังจากที่มีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และสถานะทางเครดิตของไทยซึ่งประเมินจากตัวชี้วัดที่สําคัญยังคงมีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง และสูงกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB จากผลการประเมินเมื่อเดือนเมษายน 2549

                 2. นับตั้งแต่ที่มีการรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้แต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวและสภานิติบัญญัติ และสถานการณ์ทางการเมืองโดยรวมได้กลับมามีเสถียรภาพอย่างรวดเร็ว แม้ว่า Fitch ยังคงเห็นว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติยังคงมีอํานาจภายใตรัฐธรรมนูญชั่วคราวและยังไม่มีการยกเลิกกฎอัยการศึก อีกทั้งความไม่มั่นคงในช่วงเวลาที่รอการยกร่างและประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหมรวมถึงการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเพื่อฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยยังคงมีอยู่ โดยรัฐบาลชั่วคราวยังคงต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง Fitch เห็นว่า ในช่วงเวลาอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะเป็นช่วงเวลาที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาทางการเมืองของไทยในระยะยาว

                  3. สถานะด้านต่างประเทศของไทยยังคงมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดุลบัญชีเดินสะพัดที่กลับมาเกินดุลถึง 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี2548 ซึ่งขาดดุลถึง 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ เงินทุนสํารองระหว่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ระดับ 60.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ วันที่ 6 ตุลาคม 2549 ซึ่งสูงกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB ทั้งในด้านสัดส่วนของหนี้ต่างประเทศ ระยะสั้น และความสามารถในการชําระหนี้ต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากทุนสํารองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจึงสามารถคงสถานะของการเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิ (Net External Credit Status) ได้อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะในส่วนของภาครัฐ นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีการไหลออกของเงินทุนอย่างรุนแรง ทั้งในส่วนของตลาดหลักทรัพย์และตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศหลังจากที่มีการรัฐประหาร

                 4. สถานะด้านหนี้สาธารณะของประเทศไทยยังคงมีระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB โดยสัดส่วนหนี้โดยตรงของรัฐบาลได้ลดลงเหลือร้อยละ 28.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในเดือนสิงหาคม 2549 (ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 34.4 ของ GDP) จากเดิมที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 39.1 ในเดือนกันยายน 2548 ถึงแม้ว่าในส่วนของหนี้ต่างประเทศต่อ GDP จะเพิ่มขึ้นบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ Fitch ยังเชื่อว่าการที่รัฐบาลจัดทํานโยบายงบประมาณขาดดุลจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสัดส่วนหนี้ของรัฐบาลในระยะปานกลาง

                   5. Fitch คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะขยายตัวอยูที่ระดับร้อยละ 4.3 ในปี2549 และยังคงยืนยันการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี2550 ที่ระดับร้อยละ 4.6 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของรัฐบาลที่คาดว่าจะเร่งตัวขึ้น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ Fitch ยังคาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะมีความสมดุลมากขึ้น เมื่อความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุนได้ถูกฟื้นฟูแล้ว ส่วนปัจจัยด้านต่างประเทศจะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในระดับปานกลางเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

      

หมายเลขบันทึก: 56052เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2006 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาบริโภคข้อมูลแล้วนะคะ...ภาพคนเขียนสวยมากเลยค่ะ....อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท