แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิชาสัมมนา 2 กิจกรรมบำบัดฝ่ายกาย (KNOWLEDGE TRANSLATION: OCCUPATIONAL THERAPY IN PHYSICAL DISFUNCTION )


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน หลังจากที่กระผมได้แบ่งปันความรู้ และความคิดเห็นในส่วนของกิจกรรมบำบัดจิตสังคมไปแล้ว วันนี้ก็ถึงเวลาที่ผมจะได้แบ่งปันความรู้และความคิดเห็นดีๆ ในกิจกรรมบำบัดฝ่ายกายกันบ้าง โดย อาจารย์ดอกเตอร์อนุชาติ เขื่อนนิล ได้ให้เกียรติมาแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่นักศึกษากิจกรรมบำบัดรุ่นที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ดอกเตอร์อนุชาติ เขื่อนนิล ได้เล่าว่า “ก่อนที่นักกิจกรรมบำบัดจะสามารถทำงานได้ดีนั้น จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฏีพื้นฐานในการรักษา รวมไปถึงกรอบอ้างอิงต่างๆ ที่สามารถนำมาเป็นหลักในการให้กิจกรรมการรักษาแก่ผู้รับบริการ ซึ่งในทางกิจกรรมบำบัดนั้น การบำบัดรักษาผู้ป่วยต้องพิจารณาถึงบริบทของผู้ป่วยเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ในบริบทที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด

การให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดในลำดับแรก นักกิจกรรมบำบัดต้องมีการประเมินเพื่อหาปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย หลังจากนั้นจึงนำปัญหาที่ได้มาตั้งเป้าประสงค์ในการรักษา โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา ในผู้ป่วยฝ่ายกายนั้น บางรายจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้การรักษาครอบคลุมและตรงจุดมากยิ่งขึ้น ในส่วนของกิจกรรมบำบัด จำเป็นต้องมีการประยุกต์ความรู้จากหลายๆฝ่ายมาใช้ ทั้งฝ่ายกาย ฝ่ายจิตสังคม และฝ่ายเด็ก การให้การรักษาอาจมีการซ้อนทับกับบางวิชาชีพ โดยเฉพาะกับวิชาชีพกายภาพบำบัด แต่ในฐานะที่เราเป็นนักกิจกรรมบำบัด  ต้องมีการแสดงจุดยืนให้แน่ชัดว่าสิ่งที่เราทำนั้นคือกิจกรรมบำบัด โดยการประยุกต์กิจกรรมต่างๆที่มีเป้าหมายมีคุณค่า มีความหมาย มาใช้ ในการรักษาผู้ป่วย และอีกไม่นานก็จะมีการเปิดประเทศในกลุ่มอาเซียน นักกิจกรรมบำบัดในประเทศต่างๆก็ควรมีการติดต่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นักกิจกรรมบำบัดในไทยก็สามารถไปทำงานต่างประเทศได้อย่างเสรี และเช่นเดียวกัน นักกิจกรรมบำบัดต่างประเทศก็สามารถเข้ามาทำงานในไทยได้อย่างเสรี ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดในไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน โดยเฉพาะในด้านภาษา เพื่อเตรียมตัวต้อนรับการทำงานในอนาคต”

ขอบคุณ อาจารย์ดอกเตอร์อนุชาติ เขื่อนนิล เป็นอย่างสูงครับ ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิชาสัมมนา 2 กับพวกเรา นักศึกษากิจกรรมบำบัด รุ่นที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล ทุกความคิดเห็น ทุกข้อเสนอแนะพวกเราจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดครับ และขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่เข้ามาเยี่ยมชมในลิงค์ของผม และอย่าลืมติดตามอ่านลิงค์ต่อไปกันด้วยนะครับ ซึ่งจะเป็นหัวข้อกิจกรรมบำบัดในฝ่ายเด็กครับ  >>>  http://www.gotoknow.org/posts/560747

 

 

Hello again readers. After having shared what I have learnt in psychological area, I believe it is time to move on to the physical division, an insight of which was provided by Dr. Anuchart Kuennin to the 3rd generation of Mahidol University occupational therapists.

Dr. Anuchart told us “Before occupational therapists can perform well, they will need all the fundamentals, including all the theories and references they have learnt, then they must learn how to apply what they have into practical uses with the ultimate task of trying to get the patients’ life as back to normal as possible.

In the initial stage, therapists will have to analyze each patient case by case for the issues. They later will bring those issues up and set up the what-have-to-be-done. In this stage, it is important to let the patients participate in the forming of treatment. Sometimes, such treatment will require more than a single branch of therapists. The occupational therapy sector is composed of psychosocial area, physical area, and psychiatric area, all of which can work together to utilize all the knowledge to bring about the most effective and efficient solution. As an occupational therapist, we need to make a clear standing for ourselves as to what we do and what our goal is. It will not be long before the ASEAN-effect is fully upon our country and when that happens we must be ready for it, especially in term of languages.”

 

I would like to greatly thank Dr. Anuchart for his words and it is assured that those words will not be wasted, but will be what drive us further for future improvement in ourselves and our performance. Thank you for visiting by, in the next topic we will be discussing about the psychiatric sector.  >>>>  http://www.gotoknow.org/posts/560747

หมายเลขบันทึก: 560297เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2014 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2014 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท