พิพิธภัณฑ์ สุมนานุสรณ์ อายุวัฒนมงคล ๘๔ ปี ๑๖ มกราคม ๒๕๕๗


ห่างหายไปนานจากการเขียนบันทึกไม่รู้ อารมณ์อะไรพาตนเองมานั่งเขียน

พอดีกับในช่วงประมาณหนึ่งเดือนที่ผ่านมาทางวัดก็มีการจัดงาน "มุฑิตา" หรือชาวบ้านเราก็จะเรียกกันงานวันเกิดให้กับท่านเจ้าอาวาส

เราเองถ้าว่าไปแล้วก็เป็นลูกศิษย์ผู้หนึ่งที่น่าจะมีความสำคัญพอสมควรอยู่ (คิดไปเองหรอก) ซึ่งภารกิจหลักในงานนี้ของเราก็เป็นผู้ดูแลการยกเสาเอก-โท "พิพิธภัณฑ์ สุมนานุสรณ์ อายุวัฒนมงคล ๘๔ ปี ๑๖ มกราคม ๒๕๕๗" แต่ก็ยังมีเรื่องงานที่ช่วยคณะสงฆ์ในวัดในการดูและ ระบบ ไฟฟ้า,ประปา,การจาราจร (ยังกะเป็น ซุปเปอร์พระ ทีมงานอื่นมีกันเกือบสิบรูปเราองค์เดียวหนึ่งงานหลักสามงานรอง ดีที่พระองค์หนึ่งซึ่งเคยอยู่ฟื้นฟูด้วยอาสาช่วยงานกับสามเณรอีกรูปนี่เฉพาะในคณะสงฆ์)

การจัดงานก็ยิ่งใหญ่สมเกียรติ์ท่านแน่นอนแขกในงานก็ล้วนเป็นผู้ใหญ่ในระดับจังหวัดแต่ในขั้นตอนเตรียมงานกลับมิค่อยมีใครสนใจช่วยยังกลับเป็นลูกเมียน้อย ดีแต่ว่ายังพอมีคู่คิดบ้างอย่างพี่กระปุ๋ม สังกะลีน้อยๆคอยช่วยต่างและบารมีในการประสานงานที่ได้มาจากการทำงานสงเคราะห์ทั้งเด็กยาเสพติดของสำนักงานคุมประพฤติ หรือเยาวชนจากศาลเด็ก และทีมงานที่เคารพกันบ้างในท้องถิ่นแต่คนโดยส่วนใหญ่ก็จะไปสนใจแต่งานภายในวัดที่มีแขกจากกรุงเทพ มาเป็นจำนวนมากซึ่งตรงนี้ก็เลยอยากนำเสนอความเป็นมาของการสร้างพิพิธภัณฑ์นี้เก็บเป็นบันทึกไว้ในความทรงจำ

ความเป็นมาในการก่อสร้าง “ พิพิธภัณฑ์ สุมนานุสรณ์ อายุวัฒนมงคล ๘๔ ปี ๑๖ มกราคม ๒๕๕๗”

          พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้เป็นอาคาร ทรงไทยประยุกต์ ขนาดความกว้างยาว ๓๐ เมตร มูลค่าประมาณการก่อสร้างจำนวน ๗-๙ ล้านบาทและได้มีการว่าจ้างก่อสร้างไปแล้วในงวดงานโครงสร้างจำนวน ๔,๔๕๐,๐๐๐บาท และตั้งอยู่ในบริเวณวัดหนองไคร้ ซึ่งมีองค์หลวงปู่ ประสาร สุมโน เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ และในปัจจุบันท่านจะได้ครบรอบอายุ ๘๔ ปี ในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๗

            ซึ่งในการก่อนหน้านี้นั้น ท่านหลวงปู่ ประสารได้มีเจตจำนงว่า น่าจะมีสถานที่วิเวกแก่การเจริญวิปัสสนาในบั้นปลายแห่งสมณะเพศ ประกอบกับได้ผู้มีจิตศรัทธา อันได้แก่ คุณแม่ชี โกศล แสนวงศ์และคุณแม่ศรีวรรณ ทองดวง ได้ถวายที่ดินผืนนี้ที่อยู่บริเวณริมหนองน้ำข้างวัดที่ชื่อหนองไคร้ อันเป็นชื่อของวัด และเป็นสถานที่อันปลอดโปร่ง หลวงปู่ประสารท่านจึงได้ดำริจะสร้างกุฏิ เพื่อจะได้เจริญจิตตะภาวนา พร้อมทั้งต้อนรับ พระเถรานุเถระ ต่างๆที่จะได้มาร่วมบำเพ็ญศาสนธรรม ณ วัดหนองไคร้แห่งนี้

            แต่เมื่อกาลผ่านมานั้นด้วยจิตอันเป็นมหากุศล ผู้นำนักพัฒนา ผู้มีจิตเมตตาอันยิ่งใหญ่ไพศาล ให้การช่วยเหลือแก่พุทธศาสนิกชนโดยมิได้เลือกชนชั้นวรรณะ  และ ได้เล็งเห็นในกาลแห่งอนาคต ว่า  วัฒนธรรมประเพณีเครื่องใช้และหัตถกรรมรวมถึงเรื่องราวต่างๆของประเพณีพื้นบ้านอีสาน นับวันยิ่งถูกละเลยการสืบทอดให้คงอยู่ และยิ่งจะสาบสูญในกาลข้างหน้า และวันหนึ่งท่านได้กล่าวสัมโมชนีย อบรมแก่ลูกศิษย์ ว่า “ เทียนไขจุดแล้วนับวันก็จะดับลง ก็เหมือนชีวิตเราหมดลงไปทุกวัน เทียนไขยังมีแสงสว่างเป็นประโยชน์ แล้วชีวิตเราที่มีอยู่ได้สร้างประโยชน์อันใดบ้าง ”

            จากกาลที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น หลวงปู่ ประสาร สุมโน จึงได้ดำริแก่คณะทำงานว่าต้องการให้อาคารที่ก่อสร้างนี้ เป็น พิพิธภัณฑ์  เพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีเครื่องใช้และหัตถกรรมรวมถึงรวบรวมเรื่องราวต่างๆของประเพณีพื้นบ้านอีสานมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์นี้เพื่อสืบสานต่อไปในชื่อ    “ พิพิธภัณฑ์ สุมนานุสรณ์ อายุวัฒนมงคล ๘๔ ปี ๑๖ มกราคม ๒๕๕๗ “

          จากข้อความที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นคือความเป็นมาแห่งพิพิธภัณฑ์ แห่งนี้

ซึ่งงานดีๆแบบนี้ก็น่าจะสนใจกันมากแต่กลับสนใจแต่เปลือกภายนอกกันในเรื่องสถานะเงินทองยิ่งตอนพิธิเห็นอากับกิริยาของคนหลายๆคนแล้วยิ่งเวทนา

อย่างไรก็ดีหากใครอยากช่วยอีกมาช่วยกัยเยอะๆนะขอร้อง

คำสำคัญ (Tags): #พ.ทินนาโภ#thinnabho
หมายเลขบันทึก: 559580เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2014 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2014 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท