ศึกษามวยไทย...ชื่อนั้นสำคัญไฉน??


       

             เวลาศึกษาศิลปะมวยไทย ผู้ศึกษาต้องพิจารณาเรื่องของชื่อท่า แม่ไม้ ลูกไม้ สำคัญๆให้ดี นะครับ..หลายท่า แต่ละครู แต่ละสำนัก มีความต่างกัน บางที ท่าเหมือนกัน คนละชื่อ หรือ ชื่อเหมือนกัน คนละท่า..และบางชื่อ บางท่า ผสมกัน ทั้งท่า ทั้งชื่อ..แต่ ที่พึงใส่ใจคือ ในชื่อแต่ละชื่อ มีเคล็ด จากคำที่ใช้เป็นชื่อของท่าทาง ทั้งการจรดมวย กลมวย ลูกแก้ ลูกกัน เพราะคำแต่ละคำมีความหมาย ไม่ได้ตั้งขึ้นมาซี้ซั้ว ครับ

             คำที่เป็นคำนาม เช่น พระราม ขุนศึก มณโฑ หนุมาน ยักษ์ ลิง เสือ กวาง ครุฑ นาค มอญ แขก ชะวา ทะแย ตาเถร ตาเฒ่า  กงจักร กงล้อ ฯลฯ..หรือ คำที่เป็น กิริยา เช่น มุด เหน็บ ดับ ลูบ ค้ำ ยัน ซัด ฯลฯ..ครับ..หากยังมีครู อยู่ด้วย..ก็อาจได้รับคำอธิบายให้เข้าใจได้..

             แต่หากศึกษาเอาจากรูปบ้าง อ่านเอาบ้าง ก็คงยากที่จะเข้าใจ เผลอๆ ก็จะไปคิดเป็นกลมวยใหม่ ไม่เหมือนของเดิม..ซึ่งก็คงดีถ้านำไปใช้ได้ผลกว่า ของเก่า..หุ หุ..

             มีตัวอย่างขำๆอยู่คนนึง เมื่อปี2ปีมานี่ ชื่อ............. เป็นคนที่มีชื่อเสียงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยพอตัว..ตอนที่กระทรวงวัฒนธรรม และกรมพลศึกษา จะเปลี่ยนวันมวยไทย..พอท่านผู้รู้คนนี้ ค้นไปเจอ คำว่า ตีมวย ปล้ำมวย ในกฏหมายตราสามดวง ก็เอามาขยายความว่า มวยไทย มาจาก มวยปล้ำ เพราะตีความจากคำว่า ปล้ำมวย โดยไม่เข้าใจเรื่องการละเล่นพื้นบ้าน เพราะในการชนไก่ มีคำว่า ตีไก่ ปล้ำไก่ ให้เทียบเคียงอยู่จากโบราณจนถึงปัจจุบัน..พอผมเผยแพร่แย้งไป..ปรากฏว่าเงียบไปเลย..หุ หุ

หมายเลขบันทึก: 559399เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2014 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2014 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท