การเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย


          วันนี้ได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์  เพื่ออะไร ของอาจารย์ยงยุทธ  ยุทธวงศ์ เป็นหนังสือที่ดีมาก มีแง่มุมที่หลากหลาย มีตอนหนึ่งได้กล่าวถึงการเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยที่น่าสนใจ โดยสรุปคร่าวๆได้ว่า กระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ทำให้หลายคนเรียนวิทยาศาสตร์เพราะเป็นวิชาที่ต้องเรียน มีแต่สูตร สมการเคมี ด้วยเหตุที่มักพบว่าครูไม่เต็มใจสอน หรือครูก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน ตำราเรียนมีเนื้อหาไม่น่าสนใจ นักเรียนบางคนอยากรู้ว่าทำไมท้องฟ้าเป็นสีฟ้าแต่กลับไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้เรื่องการหักเหของแสงได้ หรืออยากรู้วิธีการเกิดสนิมเหล็ก แต่กลับต้องเรียนวิธีการดุลสมการแทน ทั้งที่จริงๆแล้วเนื้อแท้ของวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องทั่วไปที่ทุกคนสามารถเรียนด้วยความสนุกแบะเพลิดเพลินได้ ถ้าระบบการเรียนการสอนของเราดีกว่าปัจจุบัน ซึ่งการเรียนรู้ด้วยตนเองสำคัญที่สุด ครูมีหน้าที่หลักในการแนะนำให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่จะสร้างความรู้ขึ้นมาได้ การให้ความรู้เชิงเนื้อหาควรเป็นความรู้ที่จูงใจให้ผู้เรียนไปหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง

ที่มาภาพ: http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2012/02/06/images/news_img_434515_1.jpg

 

           ก็ไม่รู้ว่าเราจะสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เต็มความสามารถละศักยภาพของเขาภายใต้ปริมาณเนื้อหาและระยะเวลาที่จำกัดได้อย่างไร ท่านนักวิชาการทั้งหลายคงต้องตระหนักด้วยว่าครูแต่ละคนก็มีความสามารถที่แตกต่างกัน จะทำให้ครูทุกคนมีมาตรฐานที่ดีเลิศคงเป็นไปได้ยากมาก (แต่ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้เลย แต่คงต้องมีแนวทางการพัฒนาครูที่ดีกว่าในปัจจุบัน)

 

หนังสือวิทยาศาสตร์ เพื่ออะไร (ออนไลน์) http://www.slideshare.net/firstpimm/ss-14797291#btnNext

หมายเลขบันทึก: 559398เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2014 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2014 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท