ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


ภาพจาก http://3.bp.blogspot.com/_HhLkAWlyoYM/TCLtlvDY1ZI/AAAAAAAAAE0/uqHN4Rt1SG8/s1600/messy_play.jpg
ภาพจาก http://3.bp.blogspot.com/_HhLkAWlyoYM/TCLtlvDY1ZI/AAAAAAAAAE0/uqHN4Rt1SG8/s1600/messy_play.jpg

        แนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีใจความสำคัญคือการมุ่งพัฒนา คน และ ชีวิต ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ตามศักยภาพของตน มีอิสรภาพในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผ่านการมีส่วนร่วมและการปฏิบัติจริง โดยผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรมมากกว่าครูผู้สอน โดยปรัชญาที่มีผู้เสนอไว้ แลสอดคล้องหรือสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามที่ครูส่วนใหญ่ใช้กันมีอยู่ 4 แนวหลักๆดังนี้

        1. ปรัชญาสาขานิรันดรนิยม (Perennialism) เน้นความมีเหตุผล การจัดการเรียนการสอนจึงเน้นการถกเถียง อภิปราย การใช้เหตุผลและสติปัญญาโต้แย้ง ครูมีบทบาทเป็นผู้นำทางสติปัญญา นักเรียนมีบทบาทพอกับครูหรือมากกว่า

        2.ปรัชญาสาขาพิพัฒนนิยม (Progressivism) เน้นความสนใจของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนเน้นวิธีแก้ปัญหา บทบาทของครูมีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษา และวิถีทางแบบประชาธิปไตย เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เรียนโดยการปฏิบัติ หรือวิธีแก้ปัญหา

        3. ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เชื่อว่าการศึกษามีหน้าที่สร้างระบบสังคมใหม่ที่บรรลุคุณค่าพื้นฐานของวัฒนธรรม ครูต้องหาทางให้ผู้เรียนมองเห็น ลงมือทำ เรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการต่างๆไม่ว่าจะด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นความถูกต้องและความจำเป็นที่จะสร้างสรรค์สังคมใหม่

        4. ปรัชญาอัตติภาวะนิยม (Existentialism) เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งไม่ตายตัว แต่ละคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองได้ การจัดการเรียนรู้จึงมุ่งจัดตามความสนใจของผู้เรียน หรือการศึกษาตามอัธยาศัยนั่นเอง

      ทั้งนี้การนำปรัชญาต่างๆไปใช้ ก็ขึ้นกับภูมิรู้ของครูผู้สอน เวลาที่จำกัด สภาพบรรยากาศโรงเรียน สภาพนักเรียน สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน และสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งสิ้น

 

อ้างอิง  

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

หมายเลขบันทึก: 559200เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2014 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2014 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท