เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรด้วยกระบวนการ KM ครั้งที่ 1


1. ชื่อโครงการ   :   โครงการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรด้วยกระบวนการ KM  ครั้งที่  1

2. ผู้รับผิดชอบโครงการ   :    งานศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้  สำนักศึกษาทั่วไป

                                  มหาวิทยาลัยหาสารคาม

3. หลักการและเหตุผล

           สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ หรือเรียกย่อๆ ว่า KM (Knowledge Management) ว่าเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด 

           การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้[1]  สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้กำหนดให้นำ KM มาใช้ในหน่วยงานราชการโดยบรรจุไว้เป็นหนึ่งในเกณฑ์การประเมินภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แผนงานที่หลากหลายด้านการจัดการความรู้ถูกกำหนดขึ้นในหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งการฝึกอบรมแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของการจัดการความรู้ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้เกิดการจัดเก็บความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร  ซึ่งบางหน่วยงานประสบผลสำเร็จตามแผนงานที่ตั้งไว้  สามารถพัฒนาตนเองสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้  แต่หลายหน่วยงานที่ดำเนินการเพียงเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินฯ ไม่ใช่การจัดการความรู้ในรูปแบบที่จะก่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้  ทำให้การจัดการความรู้ในหน่วยงานล้มเหลว

           ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL) จึงจัดโครงการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรด้วยกระบวนการ KM ขึ้น  เพื่อส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มในการสร้างสังคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็น และสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการทำงาน  เห็นความสำคัญและคุณค่าของตัวบุคคล  เป็นผลให้เกิดการพัฒนาและใช้ศักยภาพของบุคคลในการทำงานได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  มีการสร้างความรู้ใหม่  หรือนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากขึ้น  รวมทั้งรวบรวมความรู้ภายในองค์กร  และนำเข้าความรู้จากภายนอกนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและทุกคนสามารถเข้าถึงได้  และให้มีการรวมกลุ่มกันของบุคคลในองค์กรที่มุ่งเน้นความรู้และการเรียนรู้ร่วมกัน  พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในองค์กร  ท้ายที่สุดเมื่อบุคลากรมีระบบและกระบวนการในการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดีจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร  บุคลากรทุกคนมีค่านิยมและเป้าหมายร่วมกันจะทำให้องค์กรนั้นเกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด

 4. วัตถุประสงค์

  1.        เพื่อส่งเสริมให้สำนักศึกษาทั่วไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
  2.        เพื่อเสริมสร้างสรรถนะในการทำงานของบุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป
  3.        เพื่อให้ได้แนวทางหรือแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1.        ได้ร่วมกันส่งเสริมสำนักศึกษาทั่วไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
  2.        บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไปมีสมรรถนะในการทำงานที่ดีขึ้น
  3.        ได้แนวทางหรือแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน

6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เข้าร่วมโครงการ

           บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

7. ระยะเวลาดำเนินโครงการ

           4 ธันวาคม 2556

8. สถานที่ดำเนินโครงการ

           ห้องประชุมสำนักศึกษาทั่วไป  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

9. สรุปสาระสำคัญ

          กิจกรรม เวลา 08.30 – 10.30 น. “KM รู้ทัน ใช้เป็น เห็นผล”

               1. KM  คืออะไร?

                   - KM  คืออะไรไม่สำคัญเพราะไม่ตายตัว  แต่อย่างน้อยต้องมี  3  ข้อ  ที่เราทำการ  KM  ได้แก่  1)  อยากคุย / มีแรงบันดาลใจ  2)  มีเรื่องหรือหัวข้อที่จะคุย  3)  มีคนคุย / มีชุมชน

                   - KM ทำเพื่ออะไรสำคัญกว่า เพราะคนส่วนใหญ่มักจะใช้ KM เพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและเพื่อพัฒนาความสุขในการทำงาน

            2. ปัญหาที่พบหรือช่วยกันแก้ไขเป็นประจำ

  •        ไม่มีภาระงานที่ชัดเจน
  •        ระบบอินเตอร์เน็ตล่มบ่อย มีปัญหา
  •        ปัญหาเรื่องเด็กสอบย้อนหลังจำนวนมาก  (เด็กไม่ซื่อสัตย์)
  •        จัดระบบงานตนเองยังไม่ลงตัว
  •        เรื่องคะแนนนิสิตผิดพลาดเนื่องจาก ระบบระเบียน
  •        อุปกรณ์และเครื่องมือไม่เพียงพอต่อการทำงาน
  •        ระบบสอบ Exit  Exam และ E-Testing ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อสอบได้
  •        ติดตามและรวบรวมคอลัมน์ลงวารสารได้ยาก
  •        การแจ้งเรื่องแบบจะเอาด่วนทันที ยื่นวันนี้ขอให้ได้พรุ่งนี้
  •        ใช้เงินไม่ตรงตามแผน
  •        การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน
  •        งานทับซ้อน งานด่วน
  •        การดำเนินการของกองอาคารสถานทที่ โครงสร้างพื้นฐาน น้ำ ไฟฟ้า ปรับปา
  •        นโยบายหน้างานไม่ชัดเจน
  •        ปัญหางานเร่งด่วนแต่ได้เอกสารล่าช้า
  •        แผนการดำเนินงานไม่ชัดเจน
  •        ไม่เก่งกราฟฟิค ออกแบบไม่สวย แก้โดยใช้ CSS.org
  •        ทิศทางการดำเนินงานยังไม่ชัดเจน
  •        อาจารย์บางท่านไม่กรอก มคอ. 3
  •        สำนักพิมพ์ อาจารย์ชอบเข้ามาให้งานแบบด่วนๆ (ทั้งงานภายในและทั่วไป)
  •        นิสิตที่มาติดต่อไม่รู้ความต้องการของตนเอง เมื่อสอบถาม ไม่รู้ว่ามาสอบถามเรื่องอะไร
  •        ปัญหาเกี่ยวกับการทวงหนี้สำนักพิมพ์
  •        ทำอย่างไรนิสิตจะเข้าใจโครงสร้างหลักสูตร เพราะเกี่ยวข้องกับการลงทะเบียน
  •        การจัดซื้อคุรุภัณฑ์
  •        การเบิกใช้วัสดุเร่งด่วนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ล่วงหน้า
  •        การจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
  •        โครงการใหม่ๆ นโยบายใหม่ๆ ไม่มีระเบียบรองรับ
  •        ปัญหาเรื่องสต็อกหนังสือ ค่าลิขสิทธิ์ 
  •        การบันทึกข้อสอบลงในคลังข้อสอบ

            3. ถ้าทำได้จะทำอะไรเพื่อ GE

  •        ทำให้สำเร็จลุล่วงมีประสิทธิภาพ
  •        ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
  •        อยากให้การบริการที่ดีขึ้น เพื่อให้ทุกคนพอใจที่สุด
  •        ให้บุคลากรทุกคนได้บรรจุเป็นพนักงานทั้งหมด มีความมั่นคงในการทำงาน
  •        ทำให้ทุกคนมีขวัญกำลังใจที่ดี
  •        พัฒนาระบบสารสนเทศให้สนับสนุนทุกส่วนงาน อำนวยความสะดวกให้ทุกส่วนงาน
  •        ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
  •        ทำให้ทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
  •        อยากให้งานราบรื่นทุกอย่าง ไม่มีปัญหาใดๆ
  •        อยากให้ขึ้นเงินเดือน มีสวัสดิการที่ดี
  •        พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ
  •        สร้างตัวมาสค็อดของจีอี
  •        ช่วยกันแก้ไขปัญหา
  •        สร้างตึกใหม่ให้จีอี และพัฒนาอาคารเรียนไฮเทคด้วยระบบอิเล็คทรอนิคทั้งหมด
  •        อยากให้คลังข้อสอบของจีอีสามารถใช้งานได้ ได้มาตรฐาน
  •        จะเรียนรู้งานของเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น เพื่อนำมาปรับปรุงตนเอง
  •        พัฒนาทะเบียนพัสดุคุรุภัณฑ์ให้เป็นปัจจุบัน และสืบค้นสืบหาได้ง่าย
  •        ประชาสัมพันธ์จีอีให้มีชื่อเสียงต่อหน่วยงานภายนอก
  •        ทำให้จีอีเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  •        อยากเป็นหมอเทวดา หากใครเป็นมะเร็ง ก็รักษาได้ให้กลายเป็นเนื้อดี
  •        อยากชวนพี่ค้อจ้อ (ปรีชา) กับพี่ญาว (บรรจง) แต่งเพลงให้จีอี

           4. ประเด็นในการจัดการความรู้ คือ “การดำเนินงานตามแผน”

 

[1] ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์  พานิช, “ บทบาทของผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้” ( สถาบันการส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม : KMI)

 

 

อาจารย์ ดร.ฤทธิไกร  ไชยงาม  ได้ให้ความอนุเคราะห์เป็นกระบวนกร ในการจัดการความรู้ในครั้งนี้  

หลังจากสิ้นสุดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้  กระบวนกรได้สอนวิธีการเขียนบล็อกบน Gotoknow  เพื่อเพิ่มช่องทางให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #km#ประสบการณ์
หมายเลขบันทึก: 558966เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2014 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2014 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท