มีอยู่ไปเพื่ออะไร...เพื่อใคร


มีอยู่ไปเพื่ออะไร...เพื่อใคร

มนุษย์เราตั้งแต่เกิดมา....บางคนไม่มีโอกาสแม้การลืมตาดูโลก แต่บาง

คนนั้นได้รับโอกาสเช่นนั้น...

 

สังเกตเห็นว่า............พอคนเราเกิดมานั้น มีสิ่งต่างๆ อยู่ก่อนเรา

แล้ว...............ซึ่งคงขึ้นอยู่กับว่า “ตัวของเรา” ..จะใช้สิ่งต่างๆ....ที่

มีอยู่ไปเพื่ออะไร...เพื่อใคร....บางคนสามารถใช้สิ่งที่มีอยู่...พัฒนา

ตนเองและคนรอบข้างให้ประสบสันติสุข..สังคมร่มเย็น ครอบครัว

ผาสุก.......

 

     ดูเหมือนว่าบรรดาสิ่งที่มีอยู่ในโลก...เปรียบเสมือนแพ..ที่จะนำไปสู่การข้ามฝั่ง.....ทัศนะ..แนวคิด...มุมมอง..ความเห็น...ของบรรดาบรรพชน ต่างๆ....ที่สอนใจ...เป็นคติ...สุภาษิต...คำว่ากล่าวตักตือน...ของบรรพบุรุษ..คงเปรียบประดุจอนุสาวรีย์..ความดีเป็นคลังแห่งปัญญา..ที่คนรุ่นหลังจะได้ศึกษา...เรียนรู้...ต่อไป..และคงมิใช่ว่า...ใครจะเป็นเจ้าของ

 

        จอห์น ดิวอี้..นักปรัชญาชาวตะวันตก...ให้เคยกล่าวไว้ประมาณ

ว่า....หากปราศจากเสียซึ่งสิ่งที่คนรุ่นก่อนได้สร้างสมเอาไว้แล้ว...ความ

สำเร็จใดใดของข้าพเจ้าย่อมมีไม่ได้....หรือแม้แต่...........ตัวของเรา...ย่อมได้รับแรงบันดาลใจ...จากพ่อ แม่

ญาติ..มิตร...หรือ...แม้แต่...ความแตกต่างของฐานะ ชนชั้น ความเชื่อ

รสนิยม.......ความสนใจ....ก็ตาม

 

      เราคงมิได้ไปยึดที่ตัวบุคคล...แต่คงเป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นแรงบันดาลใจ...ต่อสิ่งอันเป็นการกระทำสิ่งที่ดีงาม....แต่สิ่งที่....ที่คนรุ่นก่อนได้สร้าง...ได้มี...ได้ฝากไว้......ย่อมเป็นคติสอนให้คนรุ่นหลัง

ได้....พัฒนาเรียนรู้...ยอมรับความหลากหลาย..

 

แน่นอนว่า...การอยู่ในสังคม..การคบค้าสมาคม...การพบปะพูด

คุย..การทำงาน และการใช้สื่อสาร...ในช่องทางต่างๆ..ย่อมเป็นธรรมดา

ของคนเราที่ต้อง...จะได้พบ..เป็นอยู่..และเห็นกับสิ่งทั้งที่ปรารถนาและ

ไม่ต้องการก็ต้อง...เรียนรู้กับความหลากหลายนั้นต่อไป....การเริ่มต้นที่

ดีในการทำงานแต่ละวันเป็นธรรมดาก็ว่าได้...ที่ต้อง

วางใจ...เรา..มากกว่าจะพยายามเข้าใจเขา

 

                                  ลาภ    เสื่อมลาภ    ยศ    เสื่อมยศ

                                  นินทา    สรรเสริญ    สุข    และทุกข์

                                  ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์    ล้วนไม่เที่ยง

                                  ไม่มั่นคง    มีความแปรผันเป็นธรรมดา

 

                แต่ท่านผู้มีปัญญาดี    มีสติ    รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว

                ย่อมพิจารณาเห็นว่า    มีความแปรผันเป็นธรรมดา

                อิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา)จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้

                ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา)

 

                     ความยินดีหรือความยินร้าย

                     ท่านขจัดปัดเป่า    จนไม่มีอยู่

                    ท่านรู้ทางที่ปราศจากธุลี    ไม่มีความเศร้าโศก

                    เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ    ย่อมรู้แจ้งชัดโดยถูกต้อง[1]

 

"ฆ่าสัตว์ได้โทษ 
ฆ่าความโกรธได้บุญ" 

หลวงปู่จันทร์ กุสโล

 

 

เมตตาธรรม

ภาพวาดโดย ศ.ดร.สมภาร พรมทา.

[1] มจร.เล่ม ๒๓, หน้า ๒๐๓.

หมายเลขบันทึก: 558422เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2014 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2014 07:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท