ฮักนะเชียงยืน 14


"ไม่มีสงครามหากทำตามความฝันของเด็ก"

ความรู้สึกเเบบเด็ก

           ย้อนกลับมามองในอีกช่วงเวลาหนึ่งของฮักนะเชียงยืนในปีเเรก ในช่วงเวลาที่ความเข้มข้นในการ "ชง" โครงการ เครื่องดื่ม(กิจกรรมโครงการ) ที่ได้ชงนี้ กว่าจะได้รสชาติที่กลมกล่อมออกมานั้นถือว่าต้องลองใส่หลายๆ อย่างด้วยกัน ลองใส่ความหวานที่เป็นน้ำตาล ลองใส่ความเค็มที่เป็นเกลือ ลองใส่น้ำเเข็งลงไปเพื่อให้เย็นลง ลองใส่สิ่งเเปลกๆที่ทำให้ขมคอ เเต่ไม่ว่าจะใส่สิ่งใดใด ก็ชงด้วยความรัก ชงด้วยความตั้งใจ จากใจของทุกๆคน ถึงเเม้ว่ากว่าจะได้เครื่องดื่มเเก้วนี้นั้นต้องต้องผ่านรสชาติต่างๆนานา เเต่ก็อร่อยกล่อมกล่อม เพราะในความจริงเเล้ว เราใส่เพียงเครื่องปรุงเดียวก็จะมีเพียงรสชาติเดียว ไม่กลมกล่อม ถ้าอยากให้อร่อยกลมกล่อมต้องใส่หลายๆอย่างเข้ามารวมกัน ผู้ชงด้วยความรักนอกจากที่เราจะชงกันเองเเล้ว ยังมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังอีกมากมายที่ล้วนเเล้วเเต่มีความสำคัญๆ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ครู ที่คอยส่งเสริมอยู่ตลอดเวลา ครูที่เป็นคนโคชอยู่ตลอดเวลา ทำให้เครื่องดื่มเเก้วนี้ที่กว่าจะได้นั้น "วิเศษที่สุด" ความรู้ทุกอย่างล้วนมาจากการปฎิบัติจริง เเล้วทบทวน จึงเป็นความรู้ที่ทรงคุณค่า ที่ไม่สามารถหาได้ในตำราเรียน เป็นโครงการที่นักเรียนได้จุดประกายขึ้น เป็นโครงการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเอง "เป็นงานนักเรียนที่ผู้ใหญ่หลายท่านมองว่าเป็นงานครู" เพราะสิ่งที่ได้ทำนั้นเป็นการลงชุมชนในรูปเเบบของกิจกรรมที่ใหญ่ หลายๆครั้งที่มักพบเจอกับคำพูดที่คอยย้ำอยู่ตลอดเวลาว่า "ทำไปทำไม ทำเเล้วได้อะไร" ซึ่งเป็นคำถามที่ถือว่า "กระเเทกใจ" ในความรู้สึกเเบบเด็กๆเป็นอย่างมาก ในขณะที่เรากำลังทำงานที่อยู่ในช่วงของกิจกรรรมอยู่นั้น มีครูหลายๆคนเข้ามาถามว่า "เธอทำอะไร ทำไปทำไม ทำเเล้วได้อะไร" ถือว่าเป็นคำถามที่ค่อนข้าง "ลบ" ในการถามเด็กที่มาด้วยใจที่อาสา ในครั้งนั้น เด็กคนหนึ่งเมื่อได้ฟังคำถามเหล่านี้เเล้วก็ไปคิด เก็บไปคิดว่าสิ่งที่เราทำนั้น ถูกต้องไหม เราทำเหมาะสมไหม เเล้วทำเเล้วเราได้อะไร ซึ่งคำของครูดังกล่าวทำให้ได้ย้อนมองถึงตนเองอีกครั้ง ในที่สุดหลังจากพอได้คิดอย่างดีเเล้ว ทบทวนตนเองอย่างดีเเล้วก็ได้คำตอบที่เเท้จริงว่าเราทำไปทำไม เราทำเเล้วเราได้อะไร ซึ่งคำตอบนั้นไม่ได้อยู่ที่ไหน เเต่อยู่ที่เรา เราทำเพื่อช่วยเขา เราได้ช่วยเขา ซึ่งถ้าในสังคมนี้ บ้านเกิดเมืองนอนนี้ไม่ช่วยกันดูเเล เเล้วใครจะมาดูเเล เด็กคนหนึ่งถึงกับเอาสิ่งนี้ที่เป็นคำตอบไปเป็นความฝันว่า "อยากเป็นนักพัฒนาคน" เพราะปัญหาสิ่งเเวดล้อมนั้น ส่วนใหญ่ล้วนเเต่เกิดจากคน 

          คำถามดังกล่าวของผู้ใหญ่หลายคนที่ไม่ว่าจะเป็นครู หรือพ่อเเละเเม่ ล้วนเเต่ถามคำถามเดียวกัน ในบางครั้งบางทีความรู้สึกที่ได้จากการถามเช่นนี้ก้อาจทำให้เด็กบางคนร้องไห้ขึ้นมาได้เลยทีเดียว ในช่วงเวลาของโครงการที่ทำนั้น หลายครั้ง หลายทีที่ต้องมีการคุยงานกันที่ต้องประชุม อาจกลับค่ำบ้าง กลับช้าบ้าง หลายๆครั้งครอบครัวก็ไม่เข้าใจ เมื่อมาที่โรงเรียน ในหลายๆครั้งครูก็ไม่เข้าใจ จึงเป็นเเรงบีบทั้งครอบครัวเเละโรงเรียนที่ไม่เข้าใจจากภายนอก เเต่ภายในยังมีพลังใจที่จะทำ ยังมีจิตวิญญาณ ที่จะทำ ทุกครั้งก็ต้องบริหารจัดการเวลาให้ดี ให้เหมาะสม ซึ่งเป็น "โจทย์หลัก" ของเด็กที่ทำงานจิตอาสาในเวลาเรียน  หลายช่วงเวลาที่ต้องหยุดบ้างให้มีเวลาได้อยู่บ้านกับครอบครัว  หลายช่วงเวลาที่ต้องบริหารในเรื่องเวลาเรียนให้ทันบ้าง เเละหลายช่วงเวลาก็ต้องคุยกับครูผู้สอนบางราบวิชาให้ท่านได้เข้าใจบ้าง มีหลายสิ่ง หลายอย่างที่ต้องทำให้มีความเหมาะสม   ส่งผลทำให้ครูหลายท่านเริ่มเข้าใจ ส่งผลทำให้ผู้ปกครองในครอบครัวได้เข้าใจ เมื่อทั้งสองปัจจัยได้เข้าใจเเล้วจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างสะดวก เเต่เมื่อได้ดำเนินงานต่อไปอีกนั้นประสบกับปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้งานหยุดชะงัก คือ การไม่เข้าใจกัน "ผิดใจกัน" ซึ่งก็ถือว่าเป็นอีกเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดขึ้นอย่างเเน่นอน ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นหลายๆครั้งที่เป็นครั้งเล็กๆ น้อยๆ เเต่ครั้งใหญ่ที่สุด "ที่ครูไม่รู้" คือ ในช่วงของการที่จะคืนข้อมูลสู่ชุมชน ด้วยในครั้งนั้นเด็กถูกทั้งปัจจัยทางด้านการเรียน เเละปัจจัยทางด้านครอบครัว เเละจนกำหนดการที่ได้ตั้งเป้าไว้อย่างระยะเวลาสั้นในการเตรียมงาน เข้ามาคอยปิดบังความคิด จนทำให้ "คุยกันไม่รู้เรื่อง" โดยมีการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มอีกครั้งว่า "ทำไปทำไม ทำเเล้วได้อะไร"  มีการถามกันในกลุ่มอย่างร้อน "ด้วยสิ่งเร้า" โดยถามทีละคน เด็กหลายคนตอบว่า "ได้ประสบการไง " หลายคนตอบว่า "ไม่ได้อะไร" เเต่เด็กคนหนึ่งตอบขึ้นมาว่า "เพราะคือความฝัน" ซึ่งด้วยข้อคิดเห็นนี้เองที่เป็นเครื่องจุดประเด็น ให้เพื่อนที่ "ยังมีไฟเยอะอยู่" กลับมองว่า "เห็นเเก่ตัว ทำไปเพราะตนเอง" ทำให้เด็กคนนั้นนิ่งรับฟังคำวิพากย์ พักใหญ่ๆ  ในขณะนั้นเด็กคนหนึ่งเอ่ยขึ้นมาว่า ตอนนี้ก็ค่ำเเล้ว เรามากลับบ้านกันเถอะ จากนั้นทุกๆคนก็กลับบ้าน ที่อาจนั่งคิดทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้นในหลายๆคน เมื่อถึงวันต่อมา "ปรากฏว่าทุกๆคนเข้าใจกัน" ทำให้ได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ทุกคนที่กลับบ้านไปนั้นอาจกลับไปนั่ง นอนทบทวนในสิ่งที่ตนเองได้พูดไป เเล้วรู้สึกว่าตนเองทำไม่ดี เเล้วมาขอโทษกันเเละกัน จึงทำให้เข้าใจกันได้ ด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเรานี่เอง นี่เป็นเเนวคิดง่ายๆ อารมณ์ของเด้ก โดยเฉพาะในวัยรุ่นค่อนข้างขึ้นลงอยู่ทุกๆวัน เหมือนน้ำทะเล ... เเล้วในการทำงานยังมีอีกหลายมุมมอง..เเต่ทุกมุมมองก็มีความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญที่จะเคลื่อนภูเขาลูกนี้ต่อไปได้อย่างเหมาะสม

          ความรู้สึกเเบบเด็กเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน เป็นสิ่งที่ล้วนคิดเเบบเด็กๆ สิ่งที่เด็กคิด สิ่งที่เด็กฝัน สิ่งนั้นไม่ควรมองข้าม ไม่ควรมองว่าเป็นสิ่งที่ไร้สาระ เราก็ต้องย้อนกลับมามองในครั้งที่เราเป็นเด็กเช่นเดียวกัน ว่าในตอนเป็นเด้กนั้นเรามีความฝันว่าอย่างไร ฝันอยากเป็นนกพิราบขาวที่จะนำชาวประชาสู่ความยั่งยืน กวีท่านหนึ่งเเต่งเนื้อเพลงๆ หนึ่งมีความว่า "ไม่มีสงครามหากทำตามความฝันของเด็ก" ความฝันของเด็กนั้นจะสามารถนำทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่างสู่สันติภาพ สู่ความสวยงาม ความรู้สึกของเด็กเป็นเรื่องที่ผุ้ใหญ่ควรเข้าใจ เเละตัวของเด็กเองก็ควรสอนให้เขารู้จักเข้าใจ  เด็กมีความรู้สึกเช่นไร สิ่งนั้นเเม้ว่าจะมีความ "ไร้เดียงสา" เเต่มีความบริสุทธิ์  ตลอดระยะเวลาที่เป็นเด็กมานั้นล้วนเป็นอีกช่วงเวลาที่ทรงคุณค่าในความรู้สึก ตลอดระยะเวลาที่ทำโครงการมานั้น ทุกความรู้สึกเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่า เเต่กว่าจะได้ความรู้สึกที่ทรงคุณค่านั้นๆมา ต้องมีการชงเครื่องดื่ม ที่มีหลายรสชาติ ถึงจะกลมกล่อม...

 

 

หมายเลขบันทึก: 558186เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2014 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2014 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อุปสรรคของงาน คือสะพานสู่ความสำเร็จจ้ะ

ฮาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ในที่สุดความลับก็เปิดตัว

ทำไมคิดว่าครูไม่รู้ละ..ชายแสน

ครูอยากรู้ว่า เด็กจะแก้ปัญหาอย่างไร

MQ ที่ครูเฝ้ารดน้ำ จะงอกงามไหม ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท