รูปแบบการออกแบบและพัฒนา e-Learning


รูปแบบการออกแบบและพัฒนา e-Learning

เป็นกระบวนการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ที่ได้ตามมาตรฐานการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยมีกระบวนการและขั้นตอนในการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ตามหลักการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ADDIE Model ดังต่อไปนี้

          1. Analysis:  ขั้นตอนการวิเคราะห์บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware)    เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design)  โดยขั้นตอนนี้    เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์ (Analysis) องค์ประกอบทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบ e-learning (อีเลิร์นนิ่ง) ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ e-Learning (อีเลิร์นนิง) ผู้เรียน วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน

ขั้นตอนการวิเคราะห์บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) แบ่งออกได้ดังนี้

การวิเคราะห์หลักสูตร
                การวิเคราะห์เนื้อหา
                การวิเคราะห์ผู้เรียน
โดยขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาชุดวิชาต่างๆ โดยผู้ออกแบบ (Instructional Designer) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) จะต้องคำนึงถึงหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์online ลักษณะ เนื้อหาวิชา วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย การเลือกสื่อที่นำมาใช้ในการนำเสนอ ความเหมาะสมของบทเรียนกับผู้เรียน รวมถึงบทเรียนต้องใช้งานง่าย

           2. Design : ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ขั้นตอนนี้เป็นผลมาจากการวิเคราะห์โดยออกมาในลักษณะของแบบร่างการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) แบบ ร่างนี้เป็นเอกสารการออกแบบที่ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์การเรียนการสอน กลยุทธ์ในการเรียนการสอน เนื้อหาบทเรียน โดยใช้เอกสารนี้ในการสื่อสารกับทีมงานในการทำงานร่วมกันให้ประสบผลสำเร็จ
                  การออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ในส่วนของการออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) นั้น มีลักษณะเป็น Learning Object โดยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ต้อง ได้รับการจำแนกเป็นหน่วยๆ เพื่อใช้ง่ายต่อการเรียนรู้และมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในหน่วยการเรียน นั้นๆ รวมถึงเนื้อหาต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน ครอบคลุมวัตถุประสงค์
                  การออกแบบโครงสร้างและลักษณะของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) การออกแบบโครงสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ต้อง คำนึงถึงลักษณะการใช้งานและความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนที่แตกต่างกัน การออกแบบหน้าจอบทเรียน ควรมีการออกแบบที่คำนึงถึงหลักของความสวยงามประกอบกับหลักการเรียนรู้ของผู้ เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งควรมีการเลือกสี รูปภาพ ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) และผู้เรียน การนำเสนอบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ต้องมีความทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์
                  การออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ให้มีปฏิสัมพันธ์และการเชื่อมโยง การปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) เป็นสิ่งสำคัญจะส่งให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น ความสนใจที่จะเรียน e-Learning (อีเลิร์นนิง) การโต้ตอบกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) และการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ดีนั้น จะส่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
                  การออกแบบรูปแบบการนำเสนอบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ให้มีความน่าสนใจ การออกแบบรูปแบบนำเสนอบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) เป็นส่วนที่จะกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความอยากรู้อยากเรียน e-Learning (อีเลิร์นนิง) ลดความน่าเบื่อของการเรียนจากการเรียนที่มีความยาวนาน การนำเสนอที่น่าสนใจ ตื่นตาตื่นใจ เหมาะสมกับเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) จะช่วยให้ เกิดความคงทนของการจำเหตุการณ์หรือเนื้อหาได้

           3. Development : ขั้นการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) เป็นขั้นตอนของการผลิตตามเอกสารการออกแบบเป็นการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน e-Learning (อีเลิร์นนิง) โดยเริ่มจากเขียน Storyboard ตามเอกสารการออกแบบที่ได้รับการตรวจสอบเนื้อหาที่ถูกต้องแล้ว การเขียนStoryboard เป็นการอธิบายหน้าจอของการเรียนการสอนในแต่ละหน้าว่าผู้เรียนจะเห็น ได้ยินหรือว่ามีปฎิสัมพันธ์อะไรกับบทเรียนออนไลน์ Online e-Learning (อีเลิร์นนิง) บ้าง Storyboard จะเป็นเครื่องมือในการทำงานของกราฟิก ทีมตัดต่อเสียง/ภาพ และโปรแกรมเมอร์ในการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) และบทเรียนออนไลน์ Online e-Learning (อีเลิร์นนิง) ที่เสร็จสมบูรณ์ต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและรูปแบบที่ต้องการสื่อความหมายจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหาก่อนนำไปใช้

           4. Implementation : ขั้นตอนการนำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ไปใช้ ขั้นตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ไปใช้ในการเรียนการสอน โดยนำบทเรียน e-Learning (อีเลิร์นนิง) ลงระบบ ทำการตรวจสอบการใช้งานของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) และระบบ พร้อมกับมีฝ่ายเทคนิคให้การช่วยเหลือผู้เรียนในการใช้งานบทเรียนออนไลน์Online e-Learning (อีเลิร์นนิง) ไม่ว่าจะเป็นด้านโปรแกรมหรือว่าเครื่องมือการใช้งานบทเรียน e-Learning (อีเลิร์นนิง)

          5. Evaluation : ขั้นการประเมินผลบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือประสิทธิภาพของบทเรียนออนยไลน์ Online e-Learning (อีเลิร์นนิง) ที่ผลิตขึ้นมา โดยอาจารย์ผู้สอนและคณะกรรมการเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware)

 

อ้างอิง

สิปปนนท์  มั่งอะนะ (2551). รูปแบบการออกแบบและพัฒนา e-Learning. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

      http://www.l3nr.org/posts/155758. (วันที่ค้นข้อมูล: 3 มกราคม 2557)

    

หมายเลขบันทึก: 558074เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2014 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2014 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท