ภาษาสั้น ๆ


เคยมีผู้รู้  ผู้ทรงภูมิความรู้  ท่านมองการณ์ไกลให้ข้อคิดร่วม 20 ปี ว่า ผู้คนยุคต่อไปจะใช้ภาษาสั้น ๆ  แล้วคนจะอ่านน้อย สมาธิสั้น เฉลียวฉลาดแต่ขาดความอดทน   มานึกตรึกตรองดูคำกล่าวของท่านไม่ผิด  ที่น่าสนใจท่านมองการณ์ไกลได้อย่างไร

มานึกดูอาจเป็นเพราะท่านเคยไปต่างประเทศมาก่อน  แต่ก็มีผู้คนมากมายไปต่างประเทศมาก่อน  เป็นคนในแวดวงการศึกษา การพัฒนาประเทศชาติ  ท่านเหล่านั้นไม่เห็นสื่อสารเพื่อเตรียมการ หรือเตือนสติผู้คน ออกแบบวางมาตรการป้องกันความเสียหาย

จึงมองว่า ในหลายร้อยคน หลายพันคนที่เป็นผู้รู้ ๆ มาแล้วเก็บความรู้น้้นไว้  ไม่ยอมถ่ายทอด  รู้มาเพื่อประโยชน์ส่วนตน การที่จะแสดงทรรศนะหรือแสดงข้อห่วงใยไว้เป็นแนวทาง  ดูเหมือนผู้รู้ที่กล่าวมาไม่มีความกล้าหาญที่จะสื่อสาร ว่า ภาษาสั้น ๆ เกิดผลดี ผลเสียอย่างไร ?

มานึกดูกัน ภาษาสั้น ๆ  มองแง่ดี  เป็นความรวดเร็ว คุ้มค่า คุณราคา หากเป็นกลยุทธในการโฆษณาต่าง ๆ  เพราะภาษาที่ยืดยาวเป็นการฟุ่มเฟื่อน   หากมองแง่ร้าย  ภาษาที่สั้น  หากผู้บริโภคจดจำแล้วอาจทำให้เขาขาดความยับยั้งช่างคิด  จดจำผิด ๆ นำไปใช้ผิด ๆ  คนรักกัน คนเกลียดชั่งกัน คนเราฆ่าฟันทำร้ายกันก็เกิดมาจากการใช้ภาษาสั้น ๆ 

ในสังคมแห่งปัญหา หรือสังคมอุดมปัญญา จำเป็นที่ผู้คนในสังคมจะต้องรู้กาลเทศะ ว่า ภาษาสั้น ๆ หรือภาษายาว ๆ เมื่อไหร่ เนื่องจากในบางเรื่องหรือเรื่องสำคัญ ๆ  จะใช้ภาษาสั้น ๆ ไม่ได้เด็ดขาด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมือง การปกครอง เอามันปากว่าบ้านเมืองพินาศได้ครับ :  31 ธันวาคม 2556

 

หมายเลขบันทึก: 557839เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2013 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ธันวาคม 2013 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท