สิ่งดีดีที่ได้จากการเรียนรู้กับกรณีศึกษา..


จากการเรียนวิชากิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต 1

            วันนั้นมีกรณีศึกษาที่ อ.ดร.ป๊อป พามาด้วย โดย อ. ให้นักศึกษาช่วยกันวิเคราะห์ว่า

บุคคลที่พามานั้นน่าจะมีภาวะทางจิตอะไร?  โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตั้งคำถามและถามกรณีศึกษา เพื่อรวบรวมข้อมูล ไปวิเคราะห์ต่อ

ซึ่ง จากการวิเคราะห์ของดิฉันเอง พบว่า

กรณีศึกษามีภาวะ

1. วิตกกังวล จากความกลัว

  1. ฟุ้งซ่านเกี่ยวกับเรื่องที่เครียด จนไม่อยู่กับปัจจุบัน
  2. ไม่มีความสุขกับกิจกรรมที่กำลังทำ เพราะจะคิดถึงเรื่องต่างๆนอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำตลอดเวลา ใจลอย
  3. มีสภาวะกดดันตนเอง เนื่องจากความกลัวไม่ว่าจะเรื่อง ตำแหน่งของงาน หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน
  4. มีบุคลิก รีบเร่ง รีบตอบ ทั้งที่ยังถามคำถามไม่จบ อาจเนื่องมาจากความกังวล

ข้อดีของกรณีศึกษาจากการสังเกตพฤติกรรม

  1. ยิ้มง่าย เป็นกันเอง
  2. จิตใจค่อนข้างอ่อนไหว
  3. มีความหวัง อยากจะมีความสุข ทั้งกับตนเอง ครอบครัว รวมถึงกับคนอื่นๆ ในที่ทำงาน หรือทั่วไป
  4. เข้าใจและยอมรับในสภาวะทางจิตของตน
  5. รับฟังและพร้อมจะปรับปรุงแก้ไข
  6. มีความพยายาม

จากนั้น อ.ดร.ป๊อป จึงเริ่มนำกรอบอ้างอิงModel of Human Occupational (MOHO) เข้ามาจับ เพื่อทำการบำบัดรักษา

ซึ่งเริ่มจาก ถามหา Volition เจตจำนง หรือความต้องการของผู้รับบริการก่อน

ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่ของผู้รับบริการรายนี้ คือ อยากมีความสุขกับชีวิตปัจจุบัน กับครอบครัว คนรอบข้าง และกับงาน

จากนั้น ก็เริ่ม

กิจกรรมแรก ซึ่ง อ.ดร.ป๊อป เสนอกิจกรรมให้ผู้รับบริการเลือกอยู่3กิจกรรม และเขาได้เลือกการปั้นดินน้ำมัน และการปั้นดินน้ำมันในครั้งนี้เป็นการปั้นเพื่อฝึกให้คิดอย่างมีเหตุผล สะท้อนความสุขที่เป็นปัจจุบัน และพยายามให้สนใจอยู่กับกิจกรรมขณะปั้น

เมื่อปั้นเสร็จ จะมีการเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการแสดงความรู้สึก เป็นการให้ Feedback ต่อตนเอง ปรากฎว่าในกิจกรรมนี้ผู้รับบริการลืมปั้นตนเองในความสุขนั้น แสดงให้เห็นว่า เขาอาจจะคิดถึงเรื่องของคนอื่นมากเกินไปจนลืมคิดถึงตนเอง

กิจกรรมที่สอง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ ซึ่ง ดิฉันเอง ได้เข้าไปมีส่วนร่วม แสดง การสนทนาทางโทรศัพท์ ที่มีความสุข ที่ยกกิจกรรมนี้ขึ้นมาเนื่องจาก ผู้รับบริการมุ่งหวังอยากรับโทรศัพท์อย่างมีความสุข จึงมีการเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ ได้ออกแบบการสนทนาทางโทรศัพท์ที่มีความสุขในรูปแบบของตนเองนั้นเป็นอย่างไร ก่อนจะให้สถานการณ์จำลองเป็นการคุยโทรศัพท์กับหัวหน้างาน

ผลปรากฎว่า   

ครั้งที่1 มีการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล รวดเร็ว รีบเร่ง

ครั้งที่2 ดีขึ้น นุ่มนวล แต่ยังมีการณ์ใช้อารมณ์อยู่ แต่มีการแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น

ครั้งที่ 3บทสนทนานุ่มนวลลงมาก นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น

โดยทุกครั้ง อ.ดร.ป๊อป จะกระตุ้นให้ผู้รับบริการ ใจเย็นลง ค่อยๆลองปรับบทสนทนาให้นิ่มนวลลง ลองพูดด้วยเหตุผลมากขึ้น

สรุป ในการสนทนาสามข้อ ที่ต้องแก้ไขคือ มีคำพูดที่ ผู้รับบริการ มักพูดกับปลายสายว่า

  1. พี่อย่าเครียดนะ แสดงให้เห็นว่า คนที่เครียดก็คือตัวผู้พูดเอง
  2. ประโยคที่ลงท้ายด้วยคำว่า ได้ไหม/เป็นไปได้ไหม เป็นการนำไปสู่การสนทนาที่ไม่จบ และการถามวนไปวนมา ก่อให้เกิดความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
  3. ลองให้ใช้คำว่า “ขอคิดดูก่อน” เพื่อให้ตนเองได้พักเรียบเรียงความคิดก่อนที่จะตัดสินใจ หรือสนทนาต่อ นำไปสู่ทางออกของปัญหาที่ดีได้

จากนั้นให้ทำ

กิจกรรมที่สาม เป็นกิจกรรมเสริมสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ซึ่งเป็นนักศึกษาอาสาสมัครอีก2คน โดยให้ช่วยกันออกแบบกระดาษ5แผ่น ใช้กาว กรรไกร ในหัวข้อ “ทำให้กระดาษรักกัน” ผลที่ได้ออกมาเป็น “ โซ่คล้องใจ” และเปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึกดีๆต่อกัน เป็นการจบกิจกรรม

            โดยทั้งสามกิจกรรมนั้น ได้ออกแบบโดยการนำ Volition เจตจำนง ของผู้รับบริการเองมาออกแบบเป็นกิจกรรม นำไปสู้การปรับเปลี่ยน Habituation อุปนิสัยของผู้รับบริการ ส่งเสริมให้เกิดPerformance ทักษะการแสดงออก ทั้งในการทำกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ดี ได้ต่อไป

ในการเรียนและการพบกรณีศึกษาในครั้งนี้ทำให้ดิฉันคิดได้ว่า

……ความเครียด ความวิตกกังวล ความฟุ้งซ่าน มีอยู่ในตัวของทุกคน เมื่อเผชิญกับปัญหา และมองหาทางออกไม่เจอ ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุด ก็คือการมีสติรับรู้ การทบทวนตนเอง อยู่กับปัจจุบัน ค่อยๆคิด ค่อยๆไตร่ตรอง ค่อยๆแก้ไขปัญหาทีละอย่าง ขจัดความกลัว ต่อสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ปรับมุมมองต่อสิ่งรอบตัว หาข้อดีของสิ่งรอบตัวที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันให้พบ จากนั้น เราก็จะพบความสุขอย่างแท้จริง

 

ขอบคุณค่ะ (:

หมายเลขบันทึก: 555851เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท