อัตราแนวโน้มโรคทาลัสซีเมีย กับความมั่นคงของชาติ


ดังนั้นความสำคัญของโรคทาลัสซีเมียจึงมิใช่เพียงโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาของประชาชนเท่านั้น แต่มันหมายถึงปัญหาความมั่นคงของชาติไทยเป็นส่วนรวม เนื่องจากหากไม่มีการบริหารจัดการในเรื่อง ความรู้ การตรวจหา การแนะนำก่อนสมรส เป็นที่แน่นอนว่าต่อไปเด็กไทยรุ่นต่อๆไป จะมีคุณภาพทางร่างกายและสุขภาพที่ด้อยลงไปส่งผลต่อความเข้มแข็งและความมั่นคงของชาติรุนแรงอย่างแน่นอน

          โรคทาลัสซีเมีย(thalassemia)เป็นโรคโลหิตจางที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื่องจากทั้งบิดาและมารดาที่เป็นโรคและพาหะ สามารถถ่ายทอดความผิดปกติในยีนส์ของตนสู่ลูกได้         

            จากความปกติของการสร้างฮีโมโกลบินทำให้สามารถแบ่งแยกประเภทของโรคทาลัสซีเมียได้ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ 

              1.       แอลฟาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายแอลฟา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย (ชนิดนี้พบมากที่สุดในประเทศไทย)  

              2.       เบตาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายบีตา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย  

              3.       แอลฟา-เบตาทาลัสซีเมีย เกิดจากความบกพร่องของเส้นกรดอะมีโนแอลฟาและเบตา  

              ความรุนแรงของโรคทาลัสซีเมีย
โรคธารัสซีเมียจะมีอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม สามารถจำแนก ความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ
 

              1.       ไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย (Thalassemia Trait)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้จะเกิดจากความผิดปกติของยีนบนโครโมโซมเพียงข้างเดียว เรียกว่า เฮเทโรซัยกัส ทำให้ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย 
 

               2.       แสดงอาการปานกลาง (Thalassimia intermedia)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้ มีอาการทางโลหิตจาง แต่ไม่มากนัก ร่างกายจะเจริญเติบโต ตามปกติ ตับและม้ามโตขึ้น มักจะแสดงอาการ ซีดเหลือง ตาเหลือง เมื่อมีไข้ หรือภาวะที่ร่างกายอ่อนแอและติดเชื้อ ซึ่งจะส่งผลให้เม็ด เลือดแดงแตกมาก 

              3.       แสดงอาการรุนแรง (Thalassemia Disease)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้จะแสดงอาการรุนแรงตั้งแต่เด็กและมีการเจริญเติบโตช้า มีการสร้างเม็ดเลือดมากกว่า ปกติเพื่อทดแทนเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายโดยตับและม้าม ทำให้กระดูกขยายตัว ใบหน้าจะเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด มีลักษณะ กระดูกแก้มสูงนูนออกมามาก คิ้วห่างออกจากกัน ที่เรียกว่า mongoloid face ผู้ป่วย ชนิดนี้จะต้องรับเลือดเป็นประจำ ทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน ก่อให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ถ้าสะสมภายที่อวัยวะ ภายในเช่น ตับ เป็นจำนวนมากจะทำให้ตับแข็งโรคนี้มีความสำคัญมากสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะเด็กไทย เพราะเป็นโรคที่มีพาหะนำโรคในประเทศเราถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20 ล้านคน ที่มีโรคซ่อนอยู่ เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน               

               ดังนั้นความสำคัญของโรคทาลัสซีเมียจึงมิใช่เพียงโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาของประชาชนเท่านั้น แต่มันหมายถึงปัญหาความมั่นคงของชาติไทยเป็นส่วนรวม เนื่องจากหากไม่มีการบริหารจัดการในเรื่อง ความรู้ การตรวจหา การแนะนำก่อนสมรส เป็นที่แน่นอนว่าต่อไปเด็กไทยรุ่นต่อๆไป จะมีคุณภาพทางร่างกายและสุขภาพที่ด้อยลงไปส่งผลต่อความเข้มแข็งและความมั่นคงของชาติรุนแรงอย่างแน่นอน               

             ผู้เขียนคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องคิดถึงปัญหาอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับประชาชนไทยในอนาคตหากเรายังไม่ใส่ใจปัญหานี้อย่างจริงจัง ดังนั้นการจัดการเรื่องทาลัสซีเมียจึงเป็นวาระแห่งชาติอย่างแท้จริง 

หมายเลขบันทึก: 55584เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีใครบอกได้ว่าโรคนี้จะหายขาดได้บอกฉันที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท