วีรวัฒน์
นาย วีรวัฒน์ วีรวัฒน์ เข้มแข็ง

กรณีศึกษา การวิเคราะห์ปรัชญาคุณวิทยา (axiology) ในด้านจริยศาสตร์ (Ethics) ในทรรศนะคติและแนวคิดของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ (ราชบัณฑิต)


-การศึกษาผลงานเขียน และรวบรวมข้อมูล ทางด้านจริยศาสตร์ (Ethics)ต่างๆ  ของท่านศาสตราจารย์ กิตติคุณ  ดร.วิทย์ วิศทเวทย์ (ราชบัณฑิต)  ที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆตามความสนใจของผู้ศึกษา ซึ่งรายงานการศึกษาฉบับนี้ ข้าพเจ้าได้รับคำชี้แนะแนะนำและให้ความรู้ต่างๆจากท่านอาจารย์ ดร.ลุยง วีระนาวิน เป็นอย่างดียิ่งซึ่งขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.ลุยง วีระนาวิน มา ณ.โอกาสนี้

  ขอบเขตของการศึกษา

  1. แนวคิดทางปรัชญาคุณวิทยา (axiology) ในด้านจริยศาสตร์(Ethics)
  2. ศึกษาทรรศนะคติและแนวคิดทางด้านปรัชญาคุณวิทยา (axiology) ในด้านจริยศาสตร์(Ethics)  ของ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร. วิทย์ วิศทเวทย์

 วิธีการดำเนินการศึกษา

 ศึกษาภาคเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษารวบรวมข้อมูลจากตำรา หนังสือทางวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับแนวคิดทางปรัชญาคุณวิทยา (axiology) ในด้านจริยศาสตร์(Ethics) และผลงานทางด้านปรัชญาคุณวิทยา (axiology)  ในด้านจริยศาสตร์(Ethics)  ของศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร. วิทย์ วิศทเวทย์

การวิเคราะห์ปรัชญาคุณวิทยา (axiology) ในด้านจริยศาสตร์ (Ethics)

ในทรรศนะคติและแนวคิดของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิทย์ วิศทเวทย์

 

ประวัติ

-ศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ (ราชบัณฑิต)

-สำนัก: ธรรมศาสตร์และการเมือง  ประเภทวิชา: ปรัชญา

-สาขาวิชา: อภิปรัชญาและญาณวิทยา

-ตำแหน่ง 

หัวหน้าภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา 
กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล

-เกียรติคุณ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

-ผลงาน

-ปรัชญาเบื้องต้น

-ปรัชญาทั่วไป: มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต

          -จริยศาสตร์ เบื้องต้น : มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม

          -ปรัชญาของการปฏิรูปการศึกษาไทย

          -อนัตตาในพุทธปรัชญา

-ความรู้ในทัศนะของพุทธศาสนา

-ปรัชญาทรรศน์ :พุทธปรัชญา

-พุทธจริยศาสตร์เถรวาท บทวิเคราะห์ว่าด้วยจุดหมายของชีวิตและเกณฑ์  วินิจฉัยความดีความชั่วในพุทธปรัชญาเถรวาท

-มหาวิทยาลัยกับสังคมไทย

-ปรัชญาการศึกษาไทย ๒๔๑๑-๒๔๗๕

-ปรัชญา แปลจาก J.E.D. JOAD

 

 จริยศาสตร์ ในทรรศนะคติของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร. วิทย์ วิศทเวทย์

“จริยศาสตร์เป็นปัญหาสำคัญอันหนึ่งของมนุษย์ ว่าเราควรแสวงหาอะไรให้กับชีวิต อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ เราควรใช้เกณฑ์อะไรมาตัดสิน ว่าปัญหาเหล่านั้นอะไรเป็นอย่างไร และอะไรถูกอะไรผิด”

จริยศาสตร์ เป็นปรัชญาที่มองถึงเรื่องคุณค่าของสิ่งนั้นๆ  คือมีลักษณะ ที่พึงประสงค์ หรือลักษณะ ที่ควรจะเป็น หรือลักษณะที่พึงปรารถนา ดังตัวอย่างของข้อเท็จจริงและคุณค่า ดังนี้  ถ้าเรากล่าวว่า “แดงเกิดเมื่อ15 ปีที่แล้ว พ่อแม่ของเขายากจนและทะเลาะกันเสมอ แดงคบค้าสมาคมกับเพื่อนบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเลง แดงไม่ชอบอยู่บ้าน แต่ชอบอยู่กับเพื่อน จนแดงติดยาเสพติด” ข้อความข้างต้นนี้ เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวแดง ทั้งในอตีดและปัจจุบันเรายังมิได้กล่าวว่าที่แดงมั่วสุมกับเพื่อนนักเลง ที่แดงติดยาเสพติด นั้น ดีหรือไม่  ควรหรือไม่ คือเรายังไม่ได้พูดถึงคุณค่า หรือยังมิได้ ตีค่า ของข้อมูลนี้หลังจากที่เราทราบข้อมูลของแดงแล้ว เรากล่าวว่า “ปีหน้าแดงจะเป็นโจร” คำกล่าวนี้เป็นการคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการคาดหมายนี้เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง เช่นกัน คือเป็นการบอกว่า แดงจะเป็นอะไรต่อไป หลังจากได้ทราบว่าแดงมีความเป็นมาอย่างไร และกำลังเป็นอะไรอยู่แต่ถ้าเรากล่าวว่า “ไม่สมควรที่จะปล่อยให้แดงเป็นโจรในปีหน้า” คำกล่าวที่เรากล่าวนี้ เป็นการระบุคุณค่า เพราะเราได้ ไตร่ตรองว่า การเป็นโจรนั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เป็นสิ่งไม่ดี และเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

 

สังคมศาสตร์ กับจริยศาสตร์

สังคมศาสตร์ และจริยศาสตร์ ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุยย์ แต่ศึกษาคนละด้าน กล่าวคือ สังคมศาสตร์ศึกษาเพื่อทราบถึงข้อเท็จจริงของสิ่งนั้นๆ  และจริยศาสตร์ศึกษาเพื่อทราบถึงคุณค่า ของสิ่งนั้นๆ ดังตัวอย่างเช่น  เมื่อพศ.2519 คนไทยมีพฤติกรรมเรื่องเพศเสรีแพร่หลายมากขึ้น นักสังคมศาสตร์จะถือว่า นี้คือข้อมูลและพยายามหาคำตอบว่า เพราะเหตุใด พฤติกรรมเรื่องเพศของคนไทยถึงเปลี่ยนไป โดยการอธิบายด้วยหลักทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการมองตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแต่ในด้านจริยศาสตร์ จะมองว่าพฤติกรรมเพศเสรีนี้เป็นสิ่งที่ควร ให้มีอยู่ต่อไปหรือไม่  เป็นพฤติกรรมที่ดีหรือเลว ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นหรือควรยับยั้ง ซึ่งเป็นการโต้แย้งในเรื่องคุณค่า ทางด้านจริยะและศีลธรรม ค่าทางจริยธรรม เมื่อเราทราบว่าวิชาจริยศาสตร์ ศึกษาถึงพฤติกรรมมนุษย์ ในด้านของคุณค่า เราควรเข้าใจว่า นิยามของคำว่า คุณค่าหมายถึงอะไร ดังตัวอย่าง เรากล่าวว่า “น้ำนมเป็นสิ่งที่มีคุณค่า” คุณค่าในที่นี้คือ น้ำนมช่วยให้เราเจริญเติบโตมีร่างกายที่แข็งแรง หรือ “ผู้จัดการคนนี้มีค่าสำหรับผมมาก” คุณค่าในที่นี้คือผู้จัดการคนนี้สามารถทำประโยชน์ได้มาก ทำให้มีกำไร คุณค่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือ คุณค่าหมายถึงสิ่งที่มีประโยชน์  แต่คุณค่านี้ไม่ใช่คุณค่าตามจริยศาสตร์ ซึ่งค่าทางจริยศาสตร์ หมายถึงความดี วิชาจริยศาสตร์ศึกษาถึงความหมายของคำว่า“ดี”

“ดี”เป็นคำพูด คำพูดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนอะไรบางอย่าง ปัญหาคือ อะไรบางอย่าง คืออะไร นี่คือปัญหาหลักของ จริยศาสตร์ ดังตัวอย่างเช่น

1. นาย ก ถือว่าการให้อภัยเป็นสิ่งดี

  • การให้อภัยเป็นสิ่งดี

ข้อความที่1นาย ก ถือว่าการให้อภัยเป็นสิ่งดี    หากดูเผินๆก็เหมือนว่าเป็นการระบุคุณค่าทาง จริยศาสตร์ แต่จริงแล้วไม่ใช่ ข้อความนี้เป็นการระบุข้อเท็จจริง เพราะข้อความนี้เป็นการระบุถึงความเชื่อของนาย ก ถึงปรากฎการณ์ความมีอยู่ของความเชื่อในการให้อภัย ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงปรากฏการณ์ จึงเป็นการระบุข้อเท็จจริง

ข้อความที่2 การให้อภัยเป็นสิ่งดี ข้อความนี้มิได้ระบุข้อเท็จจริง แต่เป็นการระบุคุณค่า เนื่องจากเรากำลังถกกันว่า การให้อภัยเป็นสิ่งดีหรือไม่ อย่างไร

เนื้อหาของจริยศาสตร์

ประเด็นปัญหาทางจริยศาสตร์เกี่ยวข้องกับความดี และ ถูก นั้นเอง ในการพิจารณาเนื้อหาของจริยศาสตร์ เรามีวิธีมองได้ 3 ด้านด้วยกันคือ

  1. อะไรคืออุดมคติ หรือ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ ที่มนุษย์แสวงหา ในด้านการมีค่าในตัวเอง Intrinsic value และการมีค่านอกตัว Extrinsic value
  2. อะไรคือสิ่งถูก เอาเกณฑ์อะไรตัดสินการกระทำของมนุษย์ว่าสิ่งนี้ถูกหรือผิด
  3. ปัญหาเกี่ยวกับนิยามของคำทางจริยะ เรียกจริยศาสตร์สาขาที่ศึกษาปัญหานี้ว่า อภิจริยศาสตร์ (Metaethics)

ความเห็นแก่ตัว

ความเห็นแก่ตัวคืออะไร? ความเห็นแก่ตัวนั้นเป็นไปได้ทั้ง ลักษณะของบุคคลและลักษณะของการกระทำ ดังตัวอย่างเช่น

“แดงเป็นคนเห็นแก่ตัว”เขามาสายอย่างนี้ทุกวันเอาเปรียบเพื่อน เป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว  ความเห็นแก่ตัวของแดงนั้นความจริงเป็นเพียงชื่อที่เรียกผลพวงของการกระทำของแดง ดังนั้นความเห็นแก่ตัวจึงเป็นลักษณะของบุคคลและลักษณะของการกระทำ โดยการกระทำนั้นสามารถพิจารณาได้จาก

  1. ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ
  2. เจตนาอะไรเป็นแรงจูงใจก่อให้เกิดการกระทำนั้นขึ้น

เราจะเห็นได้ว่า ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันใดอันหนึ่ง มิได้เป็นตัวชี้ขาดที่จะกำหนดว่า การกระทำนั้นเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวหรือไม่ แต่เราจะพิจารณาดูจากเจตนา ซึ่งเป็นสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป ความเห็นแก่ตัวนั้น โดยทั่วไปถือกันว่าเป็นของเลว และเลวไม่เลวนั้นเป็นเรื่องของศีลธรรม และเรื่องของศีลธรรมนั้น เรามักจะดูที่เจตนาเป็นสำคัญโดยมีผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการกระทำต่างๆของมนุษย์ดังนี้

  • ทฤษฎีอัตนิยม (Egoism) (แปลว่า ตนเอง)  โดยฮ็อบ(Hobbes 1588-1679)ซึ่งเชื่อว่าการกระทำทุกการกระทำของมนุษย์ทุกคนล้วนแต่เป็นไป เพื่อก่อประโยชน์ให้แก่ตนเองทั้งสิ้น คุณธรรมของมนุษย์ ในเรื่องต่างๆเช่น ความเห็นอกเห็นใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตา เหล่านี้ล้วนเป็นภาพมายาทั้งสิ้น ซึ่งแนวคิดทฤษฎีนี้ดูเหมือนได้รับการสนับสนุนจาก ทฤษฎีวิวัฒนการ ของดาร์วิน ในหนังสือเรื่อง The Descent of man ที่กล่าวว่า การต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของตนนั้นเห็นชัดเจนที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์เรามีวิวัฒน์การมาจากสัตว์ จึงน่าจะได้รับสัญชาติญาณที่จะรักษาตนนี้ไว้ด้วย ซึ่งมนุษย์นี้มีวิธีการที่แยบยลที่จะอำพรางความเห็นแก่ตัวได้อย่างแนบเนียน                                                   

 

  • ทฤษฎีอัญนิยม (แปลว่า ผู้อื่น) โดย บัทเลอร์ (Butler1692-1752) ซึ่งมีความเห็นแย้งทฤษฎีอัตนิยม โดยยอมรับว่าการกระทำของมนุษย์บางครั้งเกิดจากความเห็นแก่ตัว แต่ปฎิเสธว่าทุกการกระทำต้องเป็นเช่นนั้น

ข้อเปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีของอัตนิยมกับทฤษฎีอัญนิยม มีดังนี้

  1. ทฤษฎีอัตนิยม Egoism

    ฮ็อบ(Hobbes 1588-1679)

     ทฤษฎีอัญนิยม

    บัทเลอร์ (Butler1692-1752

    ประเด็นที่ 1.                                               คุณธรรมต่างๆเช่นความเห็นอกเห็นใจ การช่วยเหลือผู้อื่นนั้น เป็นเพียงการกระทำเพื่อตัว เอง เป็นภาพสะท้อนของความกลัวที่ตนเองจะประสบอย่างนั้นบ้าง

       -ถ้าความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นคือความกลัว ก็หมายความว่ายิ่งเรากลัวมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งเห็นอก     เห็นใจผู้อื่นมากเท่านั้น ซึ่งข้อมูลที่เราประสบในชีวิตประจำวันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เพราะความจริงคือ คนขี้ขลาดมักจะไม่ช่วยเหลือใคร

       -ธรรมชาติโดยทั่วไปมีอยู่ว่า ถ้าคนสองคนได้รับเหตุร้ายหรือประสบความทุกข์เท่าๆกันความเห็นใจที่เรามีต่อทั้งสองอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งเมื่อเราเห็นผู้อื่นประสบอันตรายหรือตกอยู่ในความทุกข์ เราอาจจะมีความรู้สึก 3 อย่างนี้เกิดขึ้นกับเรา

    1. นึกถึงตัวเองแล้วเกิดความกลัวว่าเหตุอย่างนี้อาจเกิดขึ้นกับเราได้
    2. นึกถึงตัวเองแล้วขอบคุณโชคชะตาที่เรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นกับตัว
    3. สงสารอยากให้พ้นภัยหรือพ้นทุกข์นั้นโดยที่มิได้นึกอะไรเกี่ยวกับตัว

    ประเด็นที่ 2.

    การที่เห็นใจอาจเกิดขึ้นกับคนบางคนได้ก็จริง แต่ถ้าเขาลงมือทำอะไรเพื่อคนอื่น เขาต้องหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นการชมเชย ชื่อเสียงเกียติยศ แต่ถ้าเมื่อคำชมเชย ชื่อเสียงเกียติยศ หรือสิ่งนั้นไม่เกิดขึ้น เขาจะไม่พอใจ นั้นแสดงว่าจุดหมายที่สุดของการกระทำของเขาก็คือตนเอง                                              

    ในกรณีนี้ ชาวอัญนิยมก็ตั้งคำถามว่า ในบางกรณีที่คนบางคนต้องการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่ต้องการเงิน อำนาจ หรือแม้แต่เกียติยศ เช่นการบริจาคแก่สาธารณะกุศลโดยไม่ระบุชื่อ  จึงไม่มีใครทราบผู้บริจาคเป็นใคร ท่านจะอธิบายเรื่องนี้ว่าอย่างไ

    ประเด็นที่ 3.

    แม้เราจะกระทำอะไรบางอย่างเพื่อผู้อื่นโดยไม่ได้หวังอะไรสะหรับตัวเองเลย แต่ถ้าการกระทำนั้นทำให้เรามีความสุข นั้นก็เพราะเราพึงใจในสิ่งที่ได้ทำ ดังนั้นก็ยังหนีไม่พ้นการเก็นแก่ตัวอยู่ดี

     ในกรณีนี้ ชาวอัญนิยมตอบว่า  ก่อนอื่นเราต้องแยกแยะเรื่อง2เรื่องนี้ออกจากกันคือ 

               1.จุดหมายของการกระทำ

               2.ความพอใจที่เกิดขึ้นจากการที่ได้กระทำ อัตนิยมสับสนระหว่างสิ่งที่ฉันต้องการ (การพ้นทุกข์ยองคนเหล่านั้น) กับความพอใจที่เกิดขึ้นกับฉันเมื่อสิ่งนั้นเกิด สมมุติ ก ไปทานกุ้งเผาที่ร้านแห่งหนึ่งซึ่งอาหารอร่อยและราคาถูกมาก และสมมุติว่าวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายที่ร้านนี้เปิด ก.เลยอยากให้ ข.ซึ่งเป็นเพื่อนรักกัน ได้มาทาน ทั้งๆที่เค้าเองก็มีธุระส่วนตัวที่ค่อนข้างสำคัญและเงินก็ไม่ค่อยมีนัก จึงไปชวน ข. เราวิเคราะห์เรื่องนี้ได้ดังนี้                                             การกระทำของ ก.เกิดจากเจตนาที่ก่อประโยชน์ให้ผู้อื่นโดยที่ตนต้องเสียอะไรบางอย่างไป จึงถื่อได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เห็นแก่ตัว                                                                      

     

     

    ซึ่งจากเนื้อหาข้างต้นนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ทฤษฎีจริยศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีอัตนิยมที่บอกว่า “เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะไม่กระทำเพื่อตนเอง”แต่ก็ไม่ค่อยมีการโต้แย้ง เพราะคนส่วนใหญ่ มักจะถือโดยปริยายว่า เป็นไปได้ที่บางครั้งที่คนเราจะไม่ทำเพื่อตนเองโดยเฉพาะ เพราะถ้าไม่เป็นเช่นนั้น การที่จะสอนให้คนทำเพื่อคนอื่นบ้างก็คงไร้ประโยชน์ ซึ่งจะมีอย่างน้อย 2 ทฤษฎีคือ สำนักประโยชน์นิยม และ ค้านท์ ที่ล้มทันทีถ้าอัตนิยมเป็นจริง    

    ปัญหาทางจริยศาสตร์

    ซึ่งศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ ได้ตั้งคำถามไว้ด้วยกัน 3 ประเด็นใหญ่คือ

    1. อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหา?
    2. อะไรเป็นเกณฑ์ที่จะนำมาตัดสินการกระทำว่าอย่างไรถูก อย่างไรผิด อย่างไรดี อย่างไรชั่ว
    3. ความดีซึ่งเป็นจุดสำคัญของปํญหาจริยศาสตร์นั้นมีธรรมชาติอย่างไร นิยามได้หรือไม่ มีสถานภาพอย่างไร

     

    ปัญหาทางจริยศาสตร์ข้อที่1 (อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหา?)

    ปัญหาทางจริยศาสตร์เกี่ยวกับอุดมคติหรือนัยหนึ่ง คือปัญหาที่ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหา ศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ ได้ชี้แจงว่ามีนักคิด 2กลุ่มใหญ่ด้วยกันคือ กลุ่มสุขนิยม (Hedonism) ซึ่งถือว่าความสุขดีที่สุด กับกลุ่มอสุขนิยม(Non-hedonism) ซึ่งถือว่าสิ่งที่ดีที่สุดไม่ใช่ความสุข

    1. สุขนิยม (Hedonism)

    *ความสุขและสุขเท่านั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์แสวงหา (Psychological hedonism)* ความสุขสบายเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต * เราเกิดมาพร้อมกับประสาทสัมผัสที่มีศักยภาพในการรับความสุข จึงควรแสวงหาความสุข * ธรรมชาติของเรามีความโน้มเอียงไปหาความสุข เราจึงไม่ควรฝืนธรรมชาติส่วนนี้ * เป้าหมายสุดท้ายของทุกอย่าง คือ ความสุข

    นักปรัชญาคนสำคัญในทฤษฎีนี้

    -ฟรอยด์ (Sigmund Freud 1856-1936) “มนุษย์แสวงหาความสุข เขาต้องการได้รับความสุขและธำรงมันไว้ การแสวงหานี้มี 2ด้าน ด้านหนึ่งคือมนุษย์แสวงหาที่ปราศจากความเจ็บปวดและความทุกข์  อีกด้านหนึ่งเขาแสวงหาความรู้ที่เป็นสุขสบาย

    - เบนธัม (J. Bentham) “ ความเจ็บปวดและความสุขสบายคือเจ้านายที่คอยบงการพฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์ ”

    - เอพิคิวรัส (Epicurus) “ มนุษย์เราเกิดชาติเดียว ตายชาติเดียว ไมีมีโลกหน้า ในขณะยังมีชีวิต จึงควรแสวงหาความสุขให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้” ซึ่งทัศนะเด่นของเอพิคิวรัส คือ

            - เป็นสสารนิยม (เชื่อว่าความเป็นจริงมีเพียงหนึ่งเดียวคือสสารเท่านั้น สรรพสิ่งคือสสาร)

            - ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีความสุขระยะยืนยาวที่สุด

            - เพื่อความสุขที่ยั่งยืน เราควรแสวงหาความสุข อย่างรอบคอบและมองการณ์ไกล โดยไม่ผูกพัน  กับสิ่งของหรือบุคคลมากจนเกินไป

    -มิลล์ (Milles1806-1873) มนุษย์และสัตว์มีความสุขร่วมกันอย่างหนึ่งคือ ความสุขทางกาย แต่มีความสุขอีกอย่างหนึ่งที่มนุษย์เท่านั้นที่รู้จักคือ ความสุขทางใจ ซึ่งสูงกว่าความสุขทางกายเพราะความสุขทางใจนั้นถาวรกว่า

    2. อสุขนิยม (Non-Hedonism)

    * ความสุขสบายไม่ใช่เป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต * เราประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ แต่จิตวิญญาณเป็นส่วนสำคัญของมนุษย์นักปรัชญาคนสำคัญในทฤษฎีนี้คือ

    -โสคราติส (Socrates 469-399 B.c.) ไม่มีใครเป็นคนดีได้โดยปราศจากความรู้ “วิชชาคือธรรม”(Knowledge is virtue) ซึ่งความรู้ที่ว่านี้หมายถึงความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ความรู้เกี่ยวกับความดีและความชั่ว

    -เพลโต(Plato 427-347 B.C.)

    -อริสโตเติล (Aristotie 384-322B.C.) คุณสมบัติที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์และทำให้มนุษย์เป็นตัวของตัวเองคือ ปัญญา ปัญญาที่ว่านี้หมายถึงความสามารถในการใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความจริง

    -กลุ่มซินนิค (Cynic) ชีวิตที่ดีต้องอยู่อย่างง่ายที่สุด มีสิ่งจำเป็นในชีวิต  ให้น้อยที่สุด (ใช้ชีวิตเหมือนสุนัข หิวก็กิน ง่วงก็นอน ไม่ยึดติด) แล้วก็จะมีจิตใจที่สุขสงบได้เอง

    -กลุ่มสโตอิค(stoic) คุณค่าของชีวิตอยู่ที่ความสงบสุขอันเกิดจากการหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของวัตถุ ซึ่งชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ความรู้สึก

    2.1. ปัญญานิยม

    ซึ่งถือว่าปัญญาหรือความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ “ลักษณะเฉพาะที่ทำให้มนุษย์เป็นตัวของตัวเอง เป็นคุณสมบัติที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์อื่นๆ ในโลกนี้ คือ ปัญญา” * ปัญญา หมายถึง ความสามารถในการใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความจริง / เพื่อแก้ปัญหาในชีวิต * นักปรัชญา = โซคราตีส / เปลโต / อริสโตเติล **

    2.2. วิมุตินิยม

    “คุณค่าสูงสุดของการใช้ชีวิตคือการเอาชนะตนเอง โดยการลดละกิเลสได้หมดสิ้น แล้วหลุดพ้นจากภาวะบีบคั้นทุกอย่าง ดำเนินชีวิตด้วยความสุข สงบ เย็น เต็มเปี่ยม” * กิเลส = ความรู้สึกด้านลบในจิตใจ เป็นความเร่าร้อนกระวนกระวาย อยากได้อยากเด่นเกินไป * กลุ่มปรัชญา = ลัทธิซินนิค / สโตอิค / ทุกศาสนา

     3. มนุษย์นิยม (Humanism)

    เป็นกลุ่มที่มีความเห็นแย้งกับ สุขนิยมแต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อคิดเห็นแย้งกับ ปัญญานิยม และวิมุตตินิยมด้วยซึ่งมองว่า

    * มองกว้าง มองไกล ไม่จำกัดคุณค่ามนุษย์ไว้ที่กฎเกณฑ์ใดกฎเกณฑ์หนึ่ง มนุษย์มีความซับซ้อนเกินกว่าจะใช้เกณฑ์เพียงหนึ่งเดียวอธิบายได้

    * มนุษย์คือผลผลิตจากวิวัฒนาการอันยาวนาน เราจึงควรตอบสนองทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณ ทุกอย่างมีคุณค่าสำหรับชีวิตมนุษย์

     

    ปัญหาทางจริยศาสตร์ข้อที่2 (อะไรเป็นเกณฑ์ที่จะนำมาตัดสินการกระทำว่าอย่างไรถูก อย่างไรผิด อย่างไรดี อย่างไรชั่ว)

              เมื่อคนๆหนึ่งกระทำการอันใดอันหนึ่ง เรามีหลักเกณฑ์อะไรหรือไม่ที่จะมาชี้ขาดว่าการกระทำนั้นผิดถูกอย่างไร เกี่ยวกับปัญหานี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ ได้เสนอทัศนะของนักจริยศาสตร์ที่สำคัญต่อไปนี้คือ

    1. สัมพัทธนิยม (Realtivism)
    2. สัมบูรณนิยม (Absolutism)
    3. หลักมหสุข (The greastest happiness principle)

    -สัมพัทธนิยม เห็นว่า ความดีมิใช่สิ่งตายตัว การกระทำอันหนึ่งจะดีหรือชั่วขึ้นอยู่กับ เงื่อนไขและปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งแต่ละคนและแต่ละสังคม มีมาตรฐานในการตัดสินความดีไม่เหมือนกัน ทั้งจารีตประเพณี ความดี ความชั่ว ขึ้นอยู่กับจารีตประเพณีของสังคมนั้นๆดังนั้นจึงไม่ชอบธรรมที่จะนำเกณฑ์ของอีกฝ่ายหนึ่งไปตัดสินอีกฝ่ายหนึ่ง

    นักปรัชญาคนสำคัญในทฤษฎีนี้

    -โปรทาโกรัส กล่าวว่า คนเป็นผู้วัดทุกสิ่งทุกอย่างว่าดี ไม่ดี จริง ไม่จริง ถูก ไม่ถูก ควร ไม่ควร นอกจากคนไม่มีอะไรเป็นเครื่องตัดสินได้

    -เวสเตอร์มาร์ค (Westtermarck 1862-1939)นักจริยศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวว่า มีการตัดสินทางศีลธรรม เกิดจากความรู้สึก ทางศีลธรรมของฉัน การตัดสินความประพฤติของผู้อื่น มิได้มาจากเขา แต่มาจากความรู้สึกของฉัน ความรู้สึกทางศีลธรรมเป็นส่วนหนึ่งของจิตใจของเรา ซึ่งลึกซึ้งกว่าความพอใจธรรมดา จึงเปลี่ยน แปลงตามความพอใจของเราไม่ได้

     ซึ่งศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ ได้มองว่าแนวคิดสัมพัทธนิยมทาง จริยศาสาตร์ มีด้วยกัน2ข้อคือ

    1. จารีตประเพณีควรเป็นเกณฑ์ตัดสินศีลธรรม
    2. ไม่ควรนำเกณฑ์ของสังคมหนึ่งไปตัดสินการกระทำของอีกสังคมหนึ่ง

    ซึ่งตามความเห็นของสัมพัทธนิยม ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ ได้สรุปว่ามนุษย์จะมีมโนธรรมก็ได้ ถ้าเข้าใจถูกว่ามโนธรรมคือกรอบที่บรรพบุรุษของแต่ละสังคมได้ให้ไว้แก่ชนรุ่นหลัง แต่เนื่องจากแต่ละสังคมมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน มโนธรรมของคนในแต่ละสังคมจึงอาจต่างกันด้วย มโธรรมจึงมีลักษณะสัมพัทธ์ แต่ละคนก็แตกต่างกันไป มิใช่สิ่งสมบูรณ์หรือลักษณ์สากลอย่างที่เข้าใจกัน

    -สัมบูรณนิยม(Absolutism) เห็นว่า ความดีเป็นสิ่งตายตัว ถ้าสิ่งหนึ่งดีมันก็จะดีโดยไม่มีเงื่อนไข กล่าวคือ ความดีไม่ขึ้นกับสิ่งอื่นใดนั้นเอง เป็นมาตรฐานตายตัวที่จะตัดสินศีลธรรม โดยมีมาตรฐานที่เรียกว่า มโนธรรม เป็นเกณฑ์ ซึ่งมโนธรรม คือสำนึกที่มนุษย์ทุกคนมีโดยธรรมชาติในฐานะที่เป็นมนุษย์ เป็นเสียงภายในจิตใจที่ทำให้เราตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด

    นักปรัชญาคนสำคัญในทฤษฎีนี้

    -ไพรซ์(price 1723-1791) กล่าวว่า ผิดหรือถูกเป็นลักษณะที่บอกว่าการกระทำอันใดอันหนึ่งนั้นคืออะไร ที่มันเป็นอย่างนั้นมิใช่เพราะเจตนาหรือคำสั่ง แต่เป็นเพราะมันเป็นอย่างนั้นตายตัวและนิรันดร ซึ่งตามความเห็นของสัมบูรณนิยม ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ ได้สรุปว่า ถึงแม้ว่ามโนธรรมจะฝังตัวอยู่ในมนุษย์ ตั้งแต่เกิด แต่ก็มีอยู่ในลักษณะแฝง ซึ่งมโนธรรมของแต่ละคนได้รับการพัฒนาที่ไม่เท่ากัน แต่มโนธรรมนี้เป็นสากลจึงน่าจะทำให้เราเห็นพ้องกันหมดเกี่ยวกับดีชั่วถูกผิด แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้คนและศีลธรรมของคนต่างกัน ปัจจัยเหล่านี้เช่น อารมณ์ ประโยชน์ ความปรารถนาเป็นต้น สิ่งนั้นอาจบดบังไม่ให้ มโนธรรมแสดงตัวออกมาตัดสินว่า อะไรถูกอะไรผิด จึงเป็นไปได้ที่คนเราลงความเห็นเรื่องศีลธรรมแตกต่างกัน

    หลักมหสุข (The greastest happiness principle) ซึ่งมีสำนักประโยชน์นิยม(Utilitarianism)เป็นผู้คิดและเสนอแนวคิดนี้ ซึ่งนักคิดเด่นๆได้แก่ เบ็นธัมและมิลล์ โดยเฉพาะมิลล์นั้นคือผู้วางรากฐานและทำให้ประโยชน์นิยม มีระบบที่รัดกุมขึ้น ซึ่งมิลล์ได้เขียนว่า ลัทธินี้ยอมรับ ประโยชน์หรือมหสุขเป็นรากฐานของศีลธรรม ซึ่งถือว่าความถูกต้องของการกระทำนั้นขึ้นอยู่กับแนวโน้มที่การกระทำนั้น จะก่อให้เกิดความสุข และความผิดการกระทำนั้นขึ้นอยู่กับแนวโน้มของสิ่งที่สวนทางที่จะก่อให้เกิดความสุข ซึ่งลัทธินี้เป็นลัทธิสุขนิยมเพราะถือว่าความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์  เมื่อความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ การกระทำที่พาไปสู่ความสุขก็ย่อมถูก และความดีกับความสุขเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งประโยชน์นิยมถือว่าผลที่เกิดจากการกระทำสำคัญกว่าเจตนาหรือแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดการกระทำขึ้น

     

    มุมมองและแนวคิดของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิทย์ วิศทเวทย์ กับต่อคำสั่งเด็ดขาด (Categorical Imporative) ของค้านท์ (Immanuel Kant 1724-1804)

    หลักการพื้นฐาน(Principle based) ของแนวคิดศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร. วิทย์ วิศทเวทย์  เรื่องจริยศาสตร์ จากปัจฉิมบทจริยศาสตร์เบื้องต้น (มนุษย์กับปัญหา จริยศาสตร์)

    ท่านมองว่าชีวิตมนุษย์ของเราสลับซับซ้อนเกินไปที่จะเป็นไปตามสูตรหนึ่งโดยอัตโนมัติ ถ้ามีคนถามเราว่าอะไรดีที่สุดสำหรับน้ำแข้ง เราก็คงตอบได้ทันทีว่าตู้เย็น อะไรดีที่สุดสำหรับปลา สระน้ำ ส่วนอะไรที่ดีที่สุดสำหรับคน คงตอบไม่ได้ง่ายอย่างนั้น มนุษย์นิยมอาจจะถูกที่ยอมรับความซับซ้อนของมนุษย์ โดยไม่ทอนมนุษย์ลงไปเป็นสัตว์ และมิได้เชิดชูให้บริสุทธิ์ เหมือนพระเจ้า มนุษย์มิได้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตายตัวลงไปอย่างนั้น  ความสุขุม ความไม่วู่วาม การมองการไกล การหลุดพ้นจากประโยชน์ส่วนตัว และการพิจารณารอบๆด้านเท่านั้น ที่จะช่วยในการตัดสินใจโดยมีหลักต่างๆเหล่านี้อยู่ในใจ มนุษย์เป็นผลผลิตของวิวัฒนาการอันสลับซับซ้อน เราไม่สามารถใช้ยาเพียงขนานเดียวเพื่อรักษาโรคทุกโรคได้ฉันใด เราก็ไม่สามารถให้สูตรสำเร็จสูตรเดียวเพื่อเป็นหลักในการกระทำการต่างๆได้ฉันนั้น

      แนวคิดในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ของศาสนาพุทธ โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิทย์ วิศทเวทย์ ได้นำเสนอดังนี้

ประเด็นคำถาม/จากหนังสือ/บทความ เนื้อหาแนวคิดที่นำเสนอ
ปรัชญาการศึกษาไทย ๒๔๑๑-๒๕๗๕  ธรรมชาติของมนุษย์ คนไทยมีชีวิตอยู่สองชีวิตคือ ชีวิตด้านวัตถุกับชีวิตด้านจิตใจ และ2ชีวิตนี้แยกอยู่จากกันอย่างชัดเจน ลักษณะแยกสองหรือทวิภพนี้อิงอยู่กับความเชื่อที่ว่า จิตและการเป็นสองสิ่งที่อยู่ในตัวมนุษย์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกของวัตถุไม่จำเป็นต้องมีผลกระทบต่อการแสวงหาสิ่งอันประเสริฐของจิตเสมอไป
วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย(2549)   ชีวิตที่ดีนั้นมีมากมายหลายความเห็น  แต่พอจะจัดกลุ่มได้เป็น 6 กลุ่ม  หนึ่ง ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีความสุขสบาย  กลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์ไม่เคยต้องการอะไรนอกจากความสุขสบาย   สอง   ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ได้ประกอบวีรกรรม เอาชนะอุปสรรค์ สร้างสรรค์สิ่งยิ่งใหญ่  และภูมิใจในความสำเร็จของตน  สามชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ได้ทำตามความรู้สึก ได้แสดงอัตลักษณ์ของตัว  สี่  ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ได้ดื่มด่ำในสัจธรรมด้วยปัญญา  ปัญญาเป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์  ห้า  ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีความสงบในจิตใจ หลุดพ้นจากปัญหาและความทุกข์ยากของโลกภายนอก  หก  ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่เป็นคนดี มีศีลธรรม แม้การเป็นคนดีบางทีอาจต้องเจ็บปวดแม้ความจริงทั้งหกกลุ่มนี้จะต่างกัน  แต่ก็มีบางอย่างเหมือนกันคือ  เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพบางอย่างในตัว  ชีวิตที่ดีคือการพัฒนาศักยภาพนี้ให้ถึงขีดสุด
ประเด็นคำถามเรื่องพุทธศาสนาไม่ให้ความสำคัญกับอภิปรัชญา / จากหนังสือปรัชญาทรรศ :พุทธศาสนา   

   ศาสนาพุทธนั้นเป็นทั้งศาสนาและปรัชญา เป็นศาสนาเพราะสอนแนวทางดำรงชีวิตที่ถูกต้องดีงาม แต่ศาสนาบางศาสนาสอนให้เชื่อสิ่งต่างๆ โดยอาศัยศรัทธา มีการใช้เหตุผลโต้แย้งไม่มาก คำสอนมีลักษณะเป็น “บัญญัติ” หรือคำสั่ง ส่วนศาสนาพุทธนั้นมีการใช้เหตุผลโต้แย้งกัน สมมติว่าวันหนึ่งไม่มีวัด ไม่มีพระ ไม่มีผู้ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธก็จะยังมีอยู่ในฐานะปรัชญา คือเป็นปรัชญาลัทธิหนึ่งเหมือนปรัชญาสำนักต่างๆในวงการปรัชญามักจะพูดกันว่า พุทธศาสนาไม่สนใจปัญหา แบบ อภิปรัชญา สนใจแต่การแก้ปัญหาเพื่อให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ ในแง่หนึ่ง คำกล่าวนี้มีส่วนจริงแต่ว่าพุทธศาสนาไม่สนใจอภิปรัชญานั้นไม่น่าจะจริง เพราะพุทธศาสนาถกเถียง ปัญหาเรื่องความจริง เรื่องจิตกับกาย เรื่องเจตจำนงเสรี เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือว่าเป็นปัญหาอภิปรัชญา ปรัชญา

      พุทธศาสนามีทัศนะในทางสัจจะนิยม(Realism) คือมี โลก อยู่จริงโดยตัวมันเองและไม่ได้เป็นผลจากสร้างสรรค์ของจิต(ทัศนะแบบจิตนิยมIdealism) รวมถึงมองว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีกฎระเบียบ ซึ่งศาสนาพุทธไม่ได้สนใจว่าโลกประกอบด้วยอะไรบ้างหรือมุ่งที่จะเข้าถึงธาตุแท้ของวัตถุในโลกภายนอก ที่มนุษย์ใส่ค่าและความหมายหรือปรุงแต่ง รวมถึงคาดหวังอะไรบางอย่าง ต่อการให้ความหมายที่ว่านี้ จนนำตัวเองไปผูกพัน และเมื่อผิดหวังก็จะเกิดทุกข์

ประเด็นคำถามเรื่องพุทธศาสนาเชื่อว่าโลกที่พ้นสามัญวิสัยหรือโลกที่ไม่ได้รู้จักด้วยประสบการณ์มีอยู่จริงหรือไม่             (เช่นโลกแบบในความคิดของเพลโต หรือพระผู้เป็นเจ้าในศริสต์ศาสนา)/ จากหนังสือปรัชญาทรรศ :พุทธศาสนา

       พุทธศาสนาปฎิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า ด้วยเหตุผลที่ว่า แม้แต่ฤาษีผู้แต่งบทสวดอ้อนวอนก็ยังไม่รู้ว่าพรหมเป็นใครอยู่ที่ไหน  และความคิดที่ว่าพระพรหมผู้สร้างนั้นเป็นความคิดที่ผิด แม้พุทธศาสนาจะปฎิเสธพระเจ้าผู้สร้างโลก แต่โลกมนุษย์ก็มิใช่โลกความจริงเพียงแห่งเดียว เพราะ สวรรค์ นรก ก็เป็นสิ่งที่ต้องถือว่ามีอยู่จริงในพุทธศาสนา ซึ่งเรื่องนี้เองที่ทำให้ผู้เชื่อถือในหลักวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามต่อพุทธศาสนา หรือต่อความเป็นวิทยาศาสตร์ของพุทธศาสนา ซึ่งอ.วิทย์ วิศเวทย์ได้ให้ความเห็นว่า แม้ฐานความรู้ในพุทธศาสนาคือประสบการณ์ แต่พุทธศาสนาไม่ได้มีทัศนะแบบ ประสบการณ์นิยม(Empiricism) เหมือนดั่งที่วิทยาศาสตร์ยึดถือ และประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ขอบเขตของประสบการณืในพุทธศาสนาและวิทยาศาตร์ นั้นแตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง

 

บรรณานุกรม

วิทย์ วิศทเวทย์.(2547). ปรัชญาทั่วไป: มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต.

พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์.

วิทย์  วิศทเวทย์.(2549).“ชีวิตที่ดี” วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. ปีที่ 1, ฉบับปฐมฤกษ์  ฉบับที่ 1 (มีนาคม).

วิทย์ วิศทเวทย์.(2532). จริยศาสตร์ เบื้องต้น : มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์.

วิทย์ วิศทเวทย์.(2544). “ปรัชญาของการปฏิรูปการศึกษาไทย” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. ปีที่ 2,ฉบับที่ 5 (ก.ย.-ธ.ค.) .

วิทย์ วิศทเวทย์.(2544). ปรัชญาการศึกษาไทย ๒๔๑๑-๒๔๗๕. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทย์ วิศทเวทย์.(2553).ปรัชญาทรรศน์ :พุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรินทร์ สังข์รักษา.(2554). “พัฒนศึกษาเชิงวิพากษ์:การใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศ”วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.ปีที่9, ฉบับที่1(มิถุนายน-ตุลาคม):หน้า61-64.

ส.ศิวรักษ์. (2526).ปรัชญาการศึกษา.กรุงเทพฯ :  สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.

กีรติ  บุญเจือ.(2541).ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ประภาศรี  สีหอำไพ.(2543). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมการศาสนา.(2523).กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก.(2520). จริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สาโรช บัวศรี.(2526).จริยธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

_____________.จริยศาสตร์คืออะไร.เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2555 เข้าถึงได้จากhttp://oxforddictionaries.com/definition/ethics.

_____________.ความรู้พื้นฐานทางศาสนาและปรัชญา Introduction to Religion and Philosophy.เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2555 เข้าถึงได้จาก http://cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/cyberclass-uploads/libs/html/40051/lesson_10_01.html

_____________.ประวัติ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิทย์ วิศทเวทย์.เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2555 เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th/th/profile/detail_user.php?id=1

_____________.หลักและความหมายของจริยศาสตร์.เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2555 เข้าถึงได้จากhttp://library.uru.ac.th/webdb/images/Ethics32.htm

_____________.ความหมายของจริยศาสตร์.เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2555 เข้าถึงได้จากisc.ru.ac.th/data/ED0000257

 วิทย์ วิศทเวทย์.(2521). ปรัชญา แปลจาก J.E.D. JOAD.พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิชย์.เข้าถึงเมื่อ 8 กรกฎาคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://www.4shared.com/office/468eLkqz/___online.html

_____________.ความหมายของปรัชญา.เข้าถึงเมื่อ 14 กรกฎาคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://th.wikipedia.org/wiki/ปรัชญา

_____________.จริยศาสตร์หลังนวยุค.เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จาก http://kirti.bunchua.com/wp-content/uploads/2009/12/BaumanPE_Intro.pdf

_____________.ความหมายของคุณวิทยา หรือปรัชญาคุณค่า. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จาก isc.ru.ac.th/data/ps0000834.doc

 _____________.ความหมายของจริยศาสตร์.เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จาก http://home.rsu.ac.th/~khumtave/ch034.htm

_____________.หลักคุณธรรมจริยธรรม.เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://www.piwdee.net/sem3_5.htm

_____________.บทบัญญัติในศาสนาอิสลาม.เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://www.piwdee.net/sem3.html

_____________.ความรู้เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดู.เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://www.siamganesh.com/brahmahindu.html

_____________.แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหาร.เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://kunnaphuk.multiply.com/journal/item/5?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem

_____________.เผยแผ่หลักธรรม.เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จากwww.dhamma.mbu.ac.th

_____________.ความหมายจริยธรรม.เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://www.jariyatam.com/ethics-01

 _____________.ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย.เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2555. เข้าถึงได้จากhttp://www.baanjomyut.com/library_2/ethics/06.html/

John, Stuart Mill’s. EthicsEncyclopedia of philosophy. Accessed 24 August 2012.Available fromhttp://www.iep.utm.edu/mill-eth/

Kohlberg, L. Moral stages and moralization. Accessed 24 August 2012.

Available from http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0748575187900364/

Piaget, J. The development of object concept. Accessed 24 August 2012.

Available from http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/tea.3660020306/abstract/

Kohlberg, L. Moral stages and moralization. Accessed 24 August 2012.

          Available from http://psycnet.apa.org/journals/amp/34/10/958/

Mackinnon, Barbara. Ethics Theory and Contemporary Issues. Accessed 24 August 2012. Available from http://www.google.co.th/books?hl=th&lr=&id=g7CvljotFq8C&oi=fnd&pg=PR7&dq=Ethics+Theory+and+Contemporary+Issues.+Belmont&ots=oz_kbkHKkI&sig=vA_BcQjt8K6ZgkmGckaaIgnpwiY&redir_esc=y#v=onepage&q=Ethics%20Theory%20and%20Contemporary%20Issues.%20Belmont&f=false/

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 555386เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากครับ แต่เรียบเรียงให้อ่านง่ายๆจะดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท