การบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน การบริการวิฃาการ/วิชาชีพ


การบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน การบริการวิฃาการ/วิชาชีพ

     การวิจัยเป็นสิ่งที่มีผู้กล่าวถึงจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ท้าทายขององค์กรในการผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ระบุไว้ว่าทุกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีพันธกิจนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจสถาบัน โดยแต่ละแห่งอาจมีจุดเน้นในเรื่องการสิจัยที่มีความแตกต่างหลากหลายกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและความพร้อมขององค์กร ดังนั้นการที่จะก้าวไปให้ได้อย่างมั่นคงการสร้างระบบและกลไกควบคุมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพื่อให้ได้ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เกิดประโยชน์ เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้ทุกท่านก็คงมัคำถามว่า "แล้วทำอย่างไรหละให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประโยชน์" จากการศึกษาและทบทานเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้เขียนเองพบว่า มีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลคือ (1) องค์กรต้องมีแผนการวิจัย (2) องค์กรต้องมีระบบและกลไกที่สนับสนุน (3)คณาจารย์มีส่วนร่วมในงานวิจัยโดยบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน และพันธกิจด้านอื่น (4) พัฒนาผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ (5) การสนับสนนสร้างแรงจูงใจ (6) การกำหนดเป็นภาระงานประจำ และใช้เป็นตัวชี้วัดระดับบุคคล

     ในส่วนของความหมายการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน หรือการบริการวิฃาการ/วิชาชีพ หมายถึงการนำเอาความรู้หรือศาสตร์ทางการวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ/วิชาชีพ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียว มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น เกิดองค์ความรู้ในนักศึกษา ชุมชน และองค์กรวิทยาลัยเอง

     รูปแบบการบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน และงานบริการวิชาการ/วิชาชีพ มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

     รูปแบบที่ 1 การนำขั้นตอนการวิจัยระบุในแผนการสอน คือการระบุใน มคอ. 3 หมวด 5

     รูปแบบที่ 2 การนำองค์ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการ/วิชาชีพ มาบูรณาการกับรายวิชา

          2.1 สำรวจความต้องการของชุมชน

          2.2 จัดโครงการกิจกรรมบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน

          2.3 จัดกิจกรรม

          2.4 เกิดองค์ความรู้

          2.5 บูรณาการในรายวิชา

          2.6 นักศึกษาลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าร่วมกับชุมชน

          2.7 อาจารย์สังเกตพฤติกรรม วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

     รูปแบบที่ 3 การบูรณาการรายวิชาที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ของบริการวิชาการ/วิชาชีพ

          3.1 กำหนดโครงการให้บริการวิชาการ

          3.2 กำหนดองค์ความรู้ เทคนิคในรายวิชาที่สอดคล้อง

          3.3 ให้นักศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ พร้อมทั้งค้นพบองค์ความรู้จนสามารถถ่ายทอดความรู้ได้

          3.4 ให้นักศึกษาลงพื้นที่ชุมชนเป้าหมายดำเนินโครงการ/กิจกรรม

          3.5 นักศึกษาประเมินผลงานตนเอง

          3.6 นักศึกษาทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการการให้บริการวิชาการ

          3.7 อาจารย์สังเกตุพฤติกรรมวัดและประเมินผลจากผลงานนักศึกษา

 

         

 

หมายเลขบันทึก: 555363เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท