zeen042


 

ความรู้ที่ฉันมีก่อนจะสอนน้องๆ 

          ความรู้มีมากมายที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้มา ทั้งความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เทคนิกการทำ PowerPoint โปรแกรมพื้นฐานต่างๆ และมีโปรแกรมอื่นๆอีกมากมาย แต่ตอนนี้มีโปรแกรมอยู่หนึ่งโปรแกรมที่ข้าพเจ้าใช้บ่อยๆคือ โปรแกรมPhotoshop ในบทความนี้ข้าพเจ้าจึงอยากยกตัวอย่างโปรแกรมนี้ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนที่สนใจได้ศึกษา

ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop 

 

          Photoshop CC จะแตกต่างจาก Cs5 และ Cs6 ไปบ้างเล็กน้อย กล่าวคือโดยพื้นฐานจะคงเดิม แต่จะปรับการใช้งานให้ดูง่ายขึ้น มีการเก็บรวบรวมเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเอาไว้ในที่เดียวกัน เพิ่มชุดเครื่องมือเข้ามาใหม่ และยังลดขั้นตอนการทำงานให้น้อยลง ทำให้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น ในเวอร์ชั่นนี้ได้เพิ่มคำสั่ง และแถบเครื่องมือที่ใช้บ่อย ๆ วางแยกออกมาจากกลุ่มเครื่องมือเดิม เช่น เครื่องมือปรับมุมมอง เครื่องมือปรับแต่งภาพที่รวมอยู่ในพาเนลเดียวกัน เช่น พาเนล Adjustments ส่วนการทำงานหลัก ๆ ยังคงอิงการใช้งานเหมือนเวอร์ชั่นที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งหน้าจอใหม่ของ Photoshop CC ก็จะมีส่วนประกอบดังภาพ

 

 หน้าตาและส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop

     หลังจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วเราจะพบกับหน้าตาของโปรแกรมตอนเริ่มต้น 
ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

          Application Bar (แอพพลิเคชั่นบาร์) จะเป็นแถบเครื่องมือที่เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อย ๆ เอาไว้ เช่น เปิดโปรแกรม Bridge หมุนพื้นที่ทำงาน ย่อ-ขยายภาพ, จัดเรียงวินโดว์ภาพ และจัดองค์ประกอบของเครื่องมือตามพื้นที่ใช้งาน (Workspace)

          Menu Bar (เมนูบาร์) ประกอบด้วยกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้จัดการกับไฟล์, ทำงานกับรูปภาพ และใช้การปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม โดยแบ่งเมนูตามลักษณะงาน นอกจากนี้บางเมนูหลัก จะมีเมนูย่อยซ้อนอยู่ โดยสังเกตจากเครื่องหมาย 3 ซึ่งคุณต้องเปิดเข้าไปเพื่อเลือกคำสั่งภายในอีกที

          Tool Panel (ทูลพาเนล) หรือ กล่องเครื่องมือ จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กันไว้ในปุ่มเดียวกัน โดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณมุมด้านล่างดังภาพ 2 เพื่อบอกให้รู้ว่าในปุ่มนี้ยังมีเครื่องมืออื่นอยู่ด้วย

          Option Bar (ออปชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ โดยรายละเอียดในออปชั่นบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เราเลือกจากทูลบ็อกซ์ในขณะนั้น เช่น เมื่อเราเลือกเครื่องมือ Brush (พู่กัน) บนออปชั่นบาร์จะปรากฏออปชั่นที่ใช้ในการกำหนดขนาด และลักษณะหัวแปรง, โหมดในการระบายความโปร่งใสของสี และอัตราการไหลของสี เป็นต้น

          Panel (พาเนล) เป็นวินโดว์ย่อย ๆ ที่ใช้เลือกรายละเอียด หรือคำสั่งควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของโปรแกรม ใน Photoshop มีพาเนลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พาเนล Color ใช้สำหรับเลือกสี, พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการกับเลเยอร์ และพาเนล Info ใช้แสดงค่าสีตรงตำแหน่งที่ชี้เมาส์ รวมถึงขนาด/ตำแหน่งของพื้นที่ที่เลือกไว้

 

ขนาดและความละเอียดของภาพ (Image and Resolution)

         รูปภาพ ประกอบด้วยจำนวนพิกเซลมากมาย ยิ่งภาพนั้นมีความละเอียดมากเท่าไร ภาพนั้นก็มีความชัดเจนมากขึ้น แต่แน่นอนขนาดของภาพก็จะใหญ่ขึ้นตามกัน

         วิธีคำนวณจำนวนพิกเซลของภาพ ใช้ ขนาดความกว้าง (pixel) x ขนาดความสูง (pixel) จะได้จำนวนพิกเซลรวม สำหรับความละเอียดของภาพ (Resolution) ดูได้จากจำนวนพิกเซลรวมกันต่อขนาดพื้นที่ เช่น 300 pixel per inch (PPI) ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์

โปรแกรม Photoshop สามารถกำหนดขนาดของภาพ และความละเอียดได้ขณะที่สร้างงานใหม่ขึ้นมา สามารถกำหนดขนาด Width and Height เป็น Pixels, Inches, Centimeters, Millimeters, Points, Picas, Columns


photoshop cs6 : new screen

 

ประโยชน์ของ Photoshop

                1. งานตกแต่งภาพถ่าย เป็นการตกแต่งภาพถ่ายเก่า ๆ ให้คมชัดเหมือนใหม่ หรือทำการแก้ไขรูปถ่ายที่มืดไป สว่างไป มีเงาดำให้ภาพมีสีสันสดใสสมจริง นอกจากนั้นยังสร้างภาพล้อเลียน เช่น เอาใบหน้าของคนหนึ่งไปวางไว้บนตัวคนอีกคนหนึ่ง นำภาพบุคคลไปวางบนฉากหลังอื่น เป็นต้น
                2. งานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร โฆษณา เรียกได้ว่าเกือบทุกงานที่ต้องใช้รูป สามารถใช้ Photoshop รังสรรค์ภาพให้เป็นไปตามไอเดียที่เราวางไว้ได้
                3. งานเว็บไซด์บนอินเตอร์เน็ต ใช้สร้างภาพเพื่อตกแต่งเว็บไซด์ไม่ว่าจะเป็นเบ็คกราวด์ ปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่อง ตลอดจนภาพประกอบต่าง ๆ นอกจากนั้นยังสมารถออกแบบหน้าเว็บไซด์ด้วย Photoshop ได้
                4. งานออกแบบทางกราฟิก ใช้ Photoshop ช่วยในการสร้างภาพ 3 มิติ การออกแบบปกหนังสือและผลิตภัณฑ์ การออกแบบการ์ดอวยพร เป็นต้น
                5. สร้างภาพวาด  เหมือนจิตกรสร้างภาพจากผืนผ้าใบเปล่า ๆ จนเป็นงานศิลปะขึ้นมา

อ้างอิง

http://www.punyisa.com/photoshop/unit5-2.html

http://425437computeritdesign.blogspot.com/2010/12/photoshop.html

 

หมายเลขบันทึก: 555202เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2013 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2013 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่อ เข้าใจแล้ว มันเป็นอย่างนี้นี่เอง อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท