ความหมายความสำคัญและประโยชน์ของของเทคโนโลยีการสอน, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน, เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา และ แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา


1. ความหมายความสำคัญและประโยชน์ของของเทคโนโลยีการสอน

       1.1 ความหมายของเทคโนโลยีการสอน

              1.1.1 ความหมายของเทคโนโลยี  (Technology)  เทคโนโลยีตามพจนานุกรมได้ให้รากศัพท์ของคำ  “Technology”  ไว้ว่า  Technology  มาจากคำภาษากรีก  tekhnologia  หมายถึง  การกระทำอย่างเป็นระบบของศิลปะโดยมาจากคำว่า  tekhne  ( art , skill )+o+logia (logy ) 

              1.1.2 ความหมายของการสอน   (Instruction) คือ  การกระทำทั้งหลายที่เป็นระบบของครูเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

              1.1.3 ความหมายของเทคโนโลยีการสอน   (Instructional  Technology )  หมายถึง  ระบบและวิธีการในการประยุกต์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์และเทคนิควิธีการที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้  เช่น  พฤติกรรม (Behaviorism)  พุทธิปัญญานิยม  (Cognitivism)  และคอนสตรัคติวิสต์  (Constructivism)  นำมาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน

ดังนั้น   เทคโนโลยีการสอน  =  การออกแบบการสอน  +  การพัฒนาการสอน

       1.2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน

  • ความเหมือน  เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทฤษฎีและปฏิบัติมาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและศักยภาพของมนุษย์ให้สูงขึ้นและมีทรัพยากรในการปฏิบัติการเหมือนกันคือ  มีบุคลากร  วัสดุ  อุปกรณ์  เทคนิควิธีการ  ความรู้  และสิ่งอำนวยความสะดวก      
  • ความแตกต่าง  แตกต่างกันที่จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีการศึกษานำมาใช้ในการศึกษา  ส่วนเทคโนโลยีการสอนนำมาใช้แก้ปัญหาในการเรียนการสอน  ซึ่งเทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบใหญ่ที่นำมาใช้ในการบริหาร  การจัดการและการเรียนการสอนส่วนเทคโนโลยีการสอนมุ่งเฉพาะ การสอนเท่านั้น และเป็นเพียงส่วนประกอบย่อยของเทคโนโลยีการศึกษา  นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้สนับสนุน  แต่เทคโนโลยีการสอนเป็นบทบาทหน้าที่  ความรับผิดชอบของผู้สอนในการบริหารจัดการเรื่องการสอนเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

       1.3 ความสำคัญของเทคโนโลยีการสอน 

     การนำเอาเทคโนโลยีการสอนมาใช้นั้นส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย 

      1.4 ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการสอน     

  • ประโยชน์สำหรับผู้เรียน  ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้

                     1. ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่

                     2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความ สามารถของตนเอง

                     3. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น

                     4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก

                     5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา  ทุกสถานที่

                     6. ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                     7. ลดเวลาในการเรียนรู้  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน

                     8. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก

                     9. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้

                     10. ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

  •  ประโยชน์สำหรับผู้สอน  ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้

                     1. ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น

                     2. ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย

                     3. ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่

                     4. ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น

                     5. ลดเวลาในการสอนน้อยลง

                     6. สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น

                     7. ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทาเอง

                     8. ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้

                     9. ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม

                     10. ง่ายในการประเมินเพราะการใช้เทคโนโลยีมุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย

  • ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์

                     1. สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

                     2. ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง

                     3. สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

                     4. ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น

                     5. ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า

                     6. สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ

 

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน

       2.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน  ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน  ซีเอไอ  ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า  Computer-Assisted  Instruction  หรือเรียกย่อๆว่าซีเอไอ  (CAI) 

       2.2 การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก  เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม  การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนเป็นเทคโนโลยีสูงสุดมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน  ให้เกิดการเรียนรู้จากการสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา

      2.3 มัลติมีเดีย  เทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวหน้าจนสามารถรองรับการแทนข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ได้มากขึ้น สามารถนำเสนอข่าวสารที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น  การผสมรูปแบบหลายสื่อจึงทำได้ง่าย

 

      2.4 อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค  พัฒนาการอีกด้านหนึ่งคือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม  ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง  600  ล้านตัวอักษร  ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือหรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่มและที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอมได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี  สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง  ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง  เพราะในอนาคตหนังสือต่างๆ  จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์ยุค  ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บข้อมูลในรูปของมัลติมีเดียและเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน  ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

     2.5 ระบบการเรียนการสอนทางไกล  การเรียนการสอนทางไกลเป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้เพื่อกระจายการศึกษา  ระบบการกระจายการศึกษาที่ได้ผลในปัจจุบันและเข้าถึงมวลชนจำนวนมาก  ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วย

       2.6 วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  หมายถึง  การประชุมทางจอภาพโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคลหรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่และห่างไกลคนละซีกโลก  ด้วยสื่อทางด้านมัลติมีเดียที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว  ภาพนิ่ง  เสียงและข้อมูลตัวอักษรในการประชุมเวลาเดียวกัน  และเป็นการสื่อสาร  2  ทาง  จึงทำให้ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ

       2.7 ระบบวิดีโอออนดีมานด์  เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ในหลายประเทศเช่น  ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่างๆ สามารถเลือกรายการวีดิทัศน์ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการและเลือกชมได้ตลอดเวลา

       วิดีโอออนดีมานด์เป็นระบบที่มีศูนย์กลางการเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก  โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่  เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ  ระบบวิดีโอออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา  ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

       2.8   ไฮเปอร์เท็กซ์  ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบไฮเปอร์เท็กซ์กันมากแม้แต่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์จนมีโปรโตคอลพิเศษที่ใช้กัน  คือ  World  Wide  Web หรือเรียกว่า  www.  โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล  http  เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ต  ในปัจจุบันเป็นแบบมัลติมีเดียเพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บได้ทั้งภาพ  เสียงและตัวอักษร  มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพโดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ  โดยทั่วไปไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า  ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้  โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมากส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียง  ได้แก่  HTML,  Compossor,  FrontPage,  Marcromedia  Drea  Weaver  เป็นต้น

       2.9 การสืบค้นข้อมูล  (Search  Engine)  ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก  แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูลจนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน  คือ  World  Wide  Web  หรือเรียกว่า  www.  โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล  http  เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต  ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย  เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่  ที่เก็บได้ทั้งภาพ  เสียงและตัวอักษร  มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ  โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป  ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้าถอยหลัง  และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้  โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก  ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียง  ได้แก่  HTML  Compossor  FrontPage  Marcromedia  Drea  Weaver  เป็นต้น  ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล  เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่างๆ  ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 

       2.10 อินเตอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรากฐานความเป็นมาโดยการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาที่มีความประสงค์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ  จึงสนับสนันทุนวิจัยให้มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาทำการวิจัยเชื่อมโยงเครือข่ายขึ้น  และให้ชื่อว่า APRANET  ต่อมาเครือข่ายนี้ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมีคนนิยมใช้กันมากยิ่งขึ้นจึงใช้ชื่อเครือข่ายใหม่ว่าอินเตอร์เน็ต  เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยและขยายตัวรวดเร็วออกไปสู่หน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในหลายประเทศ  ประเทศไทยได้เชื่อมโยงเครือข่ายนี้โดยมีมหาวิทยาลัยกว่า  24  แห่ง  ต่อผ่านช่องทางสื่อสารเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

 

 

 

4. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

       ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา  ได้แก่  แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป  อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ  พอจะสรุปได้  4   ประการ  คือ

  1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ  ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน  ได้แก่  การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง  ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้
  2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า  เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ  แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้  ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้  ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน  ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน  วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายากและไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้  ได้แก่  ศูนย์การเรียน  การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
  3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา  แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอนหรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์  เช่น  ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง  เท่ากันทุกวิชา  ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียนเป็นปี  ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน  บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ  แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น  นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
  4. ประสิทธิภาพในการเรียน  การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคม  ทำให้มีสิ่งต่างๆ  ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก  แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก  นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 554838เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท