CaseStudy#26 คนไทยตามม.7ทวิ ว.2 กับการถูกปฏิเสธลงสมัครเป็นอบต.


หนึ่งใน 26 กรณีศึกษาเพื่อการทำความเข้าใจสถานการ์ณ์ปัญหาการเข้าถึงและใช้สิทธิในสถานะบุคคลของประชาชนอาเซียนที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทย

กรณีศึกษาที่ 26  นายณรงค์ ลุงคำ คนไทยโดยผลของมาตรา 7 ทวิวรรคสองฯ ซึ่งถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งอำเภอเชียงดาวชี้ว่าขาดคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว ได้มีคำสั่งแจ้งต่อนายณรงค์  ลุงคำ ว่า “เป็นผู้ไม่มีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้ง” เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว  เนื่องจากนายณรงค์ “ไม่มีสัญชาติไทยโดยการเกิดตามความใน มาตรา 44 (1) ของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือบริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544” เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงว่านายณรงค์มีสัญชาติไทยโดยคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2535

อย่างไรก็ดี เมื่อนายณรงค์ ได้ทำหนังสืออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ในเวลาต่อมาสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่ได้มีวินิจฉัยว่า “ผู้ร้องได้เกิดในราชอาณาจักรไทย ย่อมถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด..จึงมีคำสั่งให้รับสมัครผู้ร้องและดำเนินการประกาศรายชื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง”

ประเด็นสำคัญ  กรณีศึกษานี้มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นการบังคับใช้กฎหมายของโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่ โดยตีความว่าสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 ถือได้ว่าเป็นการมีสัญชาติไทยโดยการเกิด เหตุผลที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่นำมาใช้สนับสนุนเป็นประเด็นที่ควรต้องศึกษาลงลึกต่อไป

หมายเลขบันทึก: 554813เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท