CaseStudy#7 สิทธิในสัญชาติไทยตาม ม.7 ทวิ วรรคสองฯ


หนึ่งใน 26 กรณีศึกษาเพื่อการทำความเข้าใจสถานการ์ณ์ปัญหาการเข้าถึงและใช้สิทธิในสถานะบุคคลของประชาชนอาเซียนที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทย

การพิสูจน์และพัฒนาสิทธิในสัญชาติไทยโดยคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสองแห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 และฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 หรือการมีสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 และเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555

จากกลุ่มกรณีศึกษาที่ 7 นางสาวโม นางสาวโม และด.ญ.อะเว ไม่มีนามสกุล รวมถึงกรณีของนายนิวรา หรือโพปี่

นางสาวโม นางสาวโม และด.ญ.อะเว ไม่มีนามสกุล รวมถึงกรณีของนายนิวรา หรือโพปี่ซึ่งเป็นกรณีตัวแทนของคนที่อพยพรุ่นที่ 2 จากทั้งหมดที่ปรากฎตัวในเขตพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากจำนวนประมาณ 892 คน[1] ที่มีสถานะเป็นผู้ทรงสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประเด็นปัญหา  ภายใต้หลักเกณฑ์การให้สัญชาติไทยแก่บุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย และอาศัยอยู่เป็นเวลานาน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553[2] ไม่พบว่า มีหลักเกณฑ์ใดที่เป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการพัฒนาสิทธิอาศัยของกรณีศึกษาตัวแทนดังกล่าวได้ แต่ข้อจำกัดกลับเกิดจากทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎรที่กำหนดให้พยานบุคคลจะต้องเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการ เพื่อพิสูจน์ว่าผู้ยื่นคำร้องไม่มีสัญชาติของประเทศอื่น

 

[1]ข้อมูลจากอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ณ เดือนกรกฎาคม 2556 ดูเพิ่มเติม กรกนก วัฒนภูมิ, อ้างแล้ว, ดูเชิงอรรถ 23

[2]หลักเกณฑ์การให้สัญชาติไทยแก่บุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย และอาศัยอยู่เป็นเวลานาน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553

  1. รัฐบาลมีนโยบายให้สถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ถาวรในราชอาณาจักร
  2. ไม่ปรากฎหลักฐานการมีและการใช้สัญชาติอื่น
  3. เป็นบุคคลที่เกิดและมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรต่อเนื่อง โดยมีชื่ออยู่ในเอกสารทะเบียนราษฎรและมีเอกสารทางราชการแสดงว่าเกิดในประเทศไทย
  4. ได้รับการศึกษาตามหลักสูตรที่ทางราชการไทยกำหนด หรือสามารถพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ ยกเว้นกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี
  5. มีความประพฤตดี ไม่เคยรับโทษคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาท หรือลหุโทษ ทั้งนี้หากได้รับโทษในคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง
  6. ประกอบอาชีพสุจริต ยกเว้นพระภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่นๆ ซึ่งต้องปฏิบัติกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
หมายเลขบันทึก: 554809เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท