ความมีประโยชน์ของชนิดของภาพในการประเมินผลการรักษา


การเปรียบเทียบความมีประโยชน์ของชนิดของภาพในการประเมินผลการรักษา

Utilization comparison of image type in clinical outcome evaluation

กฤตญา สายศิวานนท์ วท.บ.รังสีเทคนิค

วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์ วท.บ.รังสีเทคนิค

สุรชาติ การประเสริฐ วท.บ.รังสีเทคนิค

ไพรัตน์ มุณี วท.บ.รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

กฤตญา สายศิวานนท์, วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์ และสุรชาติ การประเสริฐ. การเปรียบเทียบความมีประโยชน์ของชนิดของภาพในการประเมินผลการรักษา . วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2556; 7 (1): 7-13

บทนำ

ในการประเมินผลการรักษา ภาพอ้างอิง( Reference image) มีความสำคัญที่จะบ่งบอกถึงความสำเร็จของหัตถการ (technical success) ในขณะที่ภาพควบคุม (control image) ที่ได้จากการตรวจติดตามอาการ จะช่วยยืนยันผลลัพธ์ของการรักษา (clinical outcome) ในทางเทคนิคแล้วจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเทียบภาพทั้งสองครั้งเพื่อหาความแตกต่างที่จะช่วยในการระบุและประเมินผู้ป่วยว่า รักษาหายหรือจะต้องทำการรักษาซ้ำ ดังนั้นภาพอ้างอิง และภาพควบคุมจึงจำเป็นจะต้องได้ภาพที่อยู่ในท่าเดียวกัน และพิจารณาในชนิดของภาพเดียวกัน สามารถช่วยให้รังสีแพทย์เปรียบเทียบภาพได้ง่ายขึ้น รวมทั้งแปรผลการรักษาได้แม่นยำมากขึ้น

วัสดุและวิธีการ

เปรียบเทียบภาพอ้างอิง ( Reference image) และภาพควบคุม (control image) จากหัตถการรังสีร่วมรักษา ด้วยวิธี non probable sampling-cluster sampling จำนวน 15 ราย โดยแยกข้อมูลออกเป็น Treatment of aneurysm จำนวน 10 ราย และ treatment of AVM จำนวน 5 ราย โดยนำภาพมาใช้เปรียบเทียบเพื่อดูความแตกต่างในการรักษา ภาพชุดที่ 1 เรียกว่า ภาพ Control image ที่กระทำเพื่อตรวจติดตามอาการ และภาพชุดที่ 2 คือภาพอ้างอิง (Reference image) ที่กระทำเมื่อจะจบหัตถการ โดยเปรียบเทียบในทุกชนิดภาพทั้ง Subtraction, Non subtractionและ 3D image และกำหนดการเกณฑ์การเปรียบเทียบเป็น 2 ลักษณะได้แก่ ภาพทั้งสองมีความแตกต่างจัดเป็น Adequate และภาพทั้งสองไม่มีความแตกต่างจัดเป็น Inadequate

คำจำกัดความ

ภาพ Subtraction image หมายถึง ภาพหลอดเลือดที่เห็นชัดเจนขึ้นหลังการฉีดสารทึบรังสี หลังจากผ่านโปรแกรมการซ้อนทับภาพ ซึ่งช่วยให้เห็นภาพการตรวจที่รวดเร็วขึ้น เป็นเทคนิคที่นำเอาเทคนิคการซ้อนทับเพื่อลบภาพด้วยพลังงานและเทคนิคการซ้อนทับเพื่อลบภาพแบบสำเนาต้นฉบับมารวมกันเพื่อนำส่วนที่ดีมาใช้ประโยชน์ได้ คือ ภาพที่มีส่วนรบกวนจากการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยถูกขจัดไปด้วยการลบภาพด้วยพลังงานที่ต่างกัน และภาพรบกวนที่เกิดจากกระดูกถูกขจัดด้วยการลบภาพแบบสำเนาต้นฉบับ

ภาพ Non Subtraction image / Positive image หมายถึง ภาพที่แสดงลักษณะตรงกันข้ามกับภาพเนกาทีฟ เพื่อให้เห็นภาพ bone หรือ วัสดุที่ใช้อุดได้ ภาพที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา Non Subtraction image ช่วยในการดูรายละเอียดได้

ภาพ 3D image หมายถึง ภาพหลอดเลือด 3 มิติเป็นภาพที่มองเห็นรูปร่างของหลอดเลือดทั้งสามด้าน ในลักษณะเป็นสามมิติทั้งความกว้าง ความยาว และความลึก จึงเป็นภาพที่ให้รายละเอียดของหลอดเลือดได้ดี และชัดเจน สามารถหมุนในมุมต่างๆ ได้ เพื่อให้เห็นภาพทางรังสีที่ต้องการ ผลการศึกษา (Results) การพิจารณาภาพจากภาพอ้างอิง (Reference image) และภาพควบคุม (Control image) จากชนิดภาพ Subtraction, Non subtractionและ 3D image ดังตารางที่ 1

สรุปผลการศึกษา (Conclusion)

Treatment of aneurysm ชนิดภาพ Subtraction, Non subtractionและ 3D image= Adequate โดยคิดเป็น60 , 80 และ 90 % ตามลำดับ ส่วน Treatment of AVM ภาพ subtraction และ non subtraction = Adequate คิดเป็น 80 และ 100 % ส่วนภาพ 3D image = Inadequate คิดเป็น 80 % แสดงว่าใน Treatment of aneurysm ภาพทั้ง 3 ชนิดมีความสำคัญในการที่จะต้องทำให้มีคุณภาพเพื่อใช้ในการแสดงความแตกต่าง แต่สำหรับ Treatment of AVM จำเป็นต้องเก็บภาพเฉพาะ subtraction และ non subtraction สำหรับภาพ 3D image นั้นถือได้ว่ามีประโยชน์ไม่มากนัก

อภิปราย

จากการศึกษาข้อมูลการรักษาย้อนหลังพบว่า ในขั้นตอนการติดตามผลการรักษานั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดภาพที่สร้าง ท่าที่ใช้ถ่ายภาพ (position)หรือมุมต่างกัน(rotation and angle) และเทคนิคการสร้างภาพเมื่อนำภาพดังกล่าวมาใช้ติดตามผลการรักษาอาจทำให้การแปรผลไม่ชัดเจน หรือเกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้นภาพเอกซเรย์และชนิดของการสร้างภาพ(Subtraction, Non subtractionและ 3D image) ในขั้นตอนการติดตามผลการรักษาถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ หลังการรักษาควรมีขั้นตอนการปฏิบัติที่เหมือนกัน เพื่อให้ได้ภาพ Control image ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด ซึ่งก็คือ ท่าที่ใช้ถ่ายภาพ (position)หรือมุมเดียวกัน(record rotation and angle) และสร้างภาพชนิดเดียวกันเมื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกันเพื่อ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการติดตามผลการรักษาได้สูงขึ้น ในการพิจารณาผลลัพธ์ทางการรักษา บทบาทของ Radiological Technologist ที่สำคัญ คือการสร้างภาพทั้งภาพอ้างอิง (Reference image) และภาพควบคุม (Control image) ที่มีคุณภาพจะช่วยบ่งบอกถึง resolution และ position ที่มี Adequate ในการพิจารณาผลลัพธ์ และติดตามผลการรักษาซึ่งมีความสำคัญที่จะบ่งบอกถึงความสำเร็จของหัตถการรังสีร่วมรักษา (Technical success)

 

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของเครื่องเอกซเรย์ DSA เกือบทุกบริษัท ล้วนนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานประมวลผล โดยการเพิ่มโปรแกรมต่างๆ ทำให้เครื่องเอกซเรย์มีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้นทั้งในด้านของเทคนิคการสร้างภาพที่ต้องการรายละเอียดของหลอดเลือดเพียงอย่างเดียว หรือวัสดุที่ใช้ในการอุด โดยอาศัยโปรแกรมการซ้อนทับเพื่อลบภาพ (Subtraction Technique) หรือ (Non Subtraction Technique) หรือ ภาพ3มิติ (3D image) พัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจวินิจฉัยหรือการรักษาโรคต่างๆ มีความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น ดังนั้นเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานจึงควรศึกษา และเรียนรู้ในโปรแกรมต่างๆ ของเครื่องเอกซเรย์ DSA เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฎิบัติงาน

บรรณานุกรม

  1. จุฑา ศรีเอี่ยม,คง บุญคุ้ม,วสันต์ ปันเขื่อนขัตย์, วาทิต คุ้มฉายาและเอนก สุวรรณบัณฑิต.ขดลวดสำหรับอุดหลอดเลือดรังสี.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2552; 3(1): 53-61
  2. จุฑา ศรีเอี่ยม,สมจิตร จอมแก้ว,คง บุญคุ้ม,เอนก สุวรรณบัณฑิตและเสาวนีย์ หอมสุด.การรักษาโรคเส้นเลือดขอดในสมองโดยการอุดกาว.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2550; 1(1): 43-50
  3. ตองอ่อน น้อยวัฒน์, วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์, สมจิตร จอมแก้วและอภิชาติ กล้ากลางชน.โรคหลอดเลือดในสมองโป่งพอง: คลินิคและภาพทางรังสี.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2552; 3(1): 48-52
  4. วิธวัช หมอหวัง,อเนก สุวรรณบัณฑิต,สมจิตร จอมแก้ว,จุฑา ศรีเอี่ยมและตองอ่อน น้อยวัฒน์.ภาพทางรังสีของการรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพองด้วยการอุดด้วยเส้นเลือด.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2550; 1(1): 58-63 
  5. เอกลาภ มานะกิจไพบูลย์, กฤตญา สายศิวานนท์, ชัยวัฒน์ เชิดเกียรติกุลและวิธวัช หมอหวัง. เทคนิคการซ้อนทับเพื่อลบภาพทางรังสีหลอดเลือด.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2553; 4(1): 28-33
หมายเลขบันทึก: 553985เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2013 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท