การเรียนการสอนด้วยโครงงานคอมพิวเตอร์


ตลอด 2 ปีการศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงงานคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้น ม.3 เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อมเพื่อได้นำไปประกอบอาชีพและศึกษาต่อได้ในเวลาเดียวกัน สำหรับเด็กนักเรียนที่จะไปเรียนต่อ ปวช จะได้เข้าใจกระบวนการทำงานแบบกลุ่มและเตรียมความพร้อมเพื่อไปเรียนในรูปแบบภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี และนักเรียนที่เรียนต่อ ม.4 จะได้เข้าใจการทำงานแบบกลุ่มและการทำรูปเล่มแบบ 5 บท ที่นับวันตอนนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ เพราะได้จัดให้มีการเรียน IS อย่างจริงจัง

การสอนโครงงานมีปัญหาหลายด้าน เช่น นักเรียนในทีมไม่สามัคคีกัน เกี่ยงกันทำงาน เวลาอธิบายไม่ฟัง แต่พอใกล้ส่งก็จะมาถาม คนรับผิดชอบงานจริง ๆ มีไม่กี่คน ตอนใกล้ส่งก็จะเร่งทำกันหามรุ่งหามค่ำ ทั้งที่จริง ๆ ให้เวลา 2 เดือน พอถึงกำหนดส่งงานแต่ละเฟสก็จะมักไม่ค่อยมีงานส่ง ผัดผ่อนไปก่อนเสมอ ทำให้พอใกล้เวลาส่งงานจะเยอะมาก ทำให้ครูผู้สอนหนักใจมาก เพราะเด็กโดยส่วนใหญ่คิดเองไม่เป็น เนื่องจากชินกับการคัดลอกงานอยู่ตลอด การสอนให้คิดเป็นจึงเป็นเรื่องที่ยากน่าดู บางคนก็คิดได้ คิดเป็น บางคนก็คิดไม่เป็น แถมยังทิ้งงานอีกต่างหาก บางทีก็เครียดเหมือนกัน เจอนักเรียนแบบนี้ อีนนี้ก็คงไปว่าไม่ได้ เพราะเป็นพื้นฐานนิสัยมาตั้งแต่เกิด เกิดจากการเลี้ยงดู 

กระบวนการทำงาน คือ ในเทอมที่ 2 ของ ม.3 เราจะให้เด็กเรียนการออกแบบงาน โดยโปรแกรม โปรเดสทอป ในครึ่งเทอมแรก เป็นเวลา 2 เดือน หลังจากนั้นจึงเข้าสู่เฟสโครงงาน จะให้นักเรียนกลุ่มละประมาณ 10 คน ช่วยกันคิดว่าเราจะสร้างชิ้นงานอะไรด้วยโปรแกรมโปรเดสทอปบ้าง นักเรียนแต่ละกลุ่มก็จะคิดไปและมานำเสนอ พร้อมแบบเสนอโครงงาน(ต้องวาดแบบงานมาส่งพร้อมความสูงกว้างยาวโดยคร่าว ๆ) เมื่อผ่านจึงแบ่งทีมการทำงานออกเป็น 3 ทีม คือ คนออกแบบในโปรแกรโปรเดสทอป คนทำรูปเล่ม 5 บท และคนสร้างชิ้นงาน แบ่งงานกันไปตามความถนัด โดยมีหัวหน้ากลุ่มที่จะคอยประสานงานกับครู เมื่อทำโครงงานเสร็จนักเรียนต้องทำบอร์ดและพาวเวอร์พอยท์นำเสนอมาส่ง เพื่อนำเสนองานหน้าชั้นเรียนเป็นอันเสร็จกระบวนการ

ถึงการสอนโครงงานคอมจะค่อนข้างหนักสำหรับคนเป็นครู แต่เรารู้ว่านักเรียนก็จะได้อะไรจากการทำโครงงานอย่างมากมาย เช่น ได้รู้จักลักษณะของสังคมอย่างแท้จริงเมื่อออกไปทำงานที่ต้องมีทั้งคนที่รับผิดชอบงานมากมาย และคนไม่รับผิดชอบงานใด ๆ เลย ซึ่งจะมีนักเรียนมาฟ้องอยู่เสมอว่าคนนี้ไม่ทำงาน คนนั้นไม่ทำงาน เราก็ได้แต่บอกว่า แล้วเราอยากประสบความสำเร็จไหม ถ้าอยากสำเร็จก็ทำ ถ้าเราลงมือทำแล้ว คนไม่ทำงานจะรู้สึกอายไปเอง แต่ถ้าไม่ช่วยเลยจริง ๆ ก็จำเป็นต้องคัดออกจากกลุ่มให้ทำเป็นเดี่ยวไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มี เพราะเมื่อเราเรียกนักเรียนมาคุยด้วยก็จะกลับมาช่วยเพื่อนทำงานมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ว่าจะคิดได้หรือไม่ นักเรียนบางคนได้เห็นพลังของความสามัคคีในสัปดาห์เดียวที่มุ่งมั่นช่วยกันทำงานจนเรียบร้อย นักเรียนได้ปฏิบัติงานเป็น ทำรูปเล่ม 5 บทเป็น และรู้จักการแจกจ่ายงาน เข้าใจกระบวนการทำงานเป็นทีม และสามารถนำไปใช้ต่อในอนาคตและชีวิตจริงได้ เพราะได้บูรณาการศาสตร์หลายแขนงเข้ามา ทั้ง เทคโนโลยี งานช่าง คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ วิศวกรรม บวกกับคุณธรรม จริยธรรม เกี่ยวกับการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งแน่นอนว่าในอนาคตนักเรียนจะได้นำไปใช้อย่างแน่นอน

 

หมายเลขบันทึก: 553548เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2013 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2013 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท