ช่วยน้อยไป___เสี่ยงเสียชื่อประเทศ


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "ช่วยเหลือต่างประเทศน้อยไป___ ทำร้ายภาพพจน์ประเทศ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

ภาพที่ 1: เมืองทาโคลแบน ฟิลิปปินส์ ก่อนพายุถล่ม

วิกิพีเดียรายงานว่า ปี 2010/2553 เมืองนี้มีประชากร 221,174 คน, เมืองนี้มีคนมากในพื้นที่จำกัด แถมยังมีลูกดกอีกต่างหาก

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า น่าจะเสียชีวิตจากประมาณ 10,000 คน = 22-23 คน จะพบคนตาย 1 คน

.

ภาพที่ 2: ภาพซ้ายเป็นแผนที่เอเชีย

ภาพขวาขยายฟิลิปปินส์ จะเห็นเมืองทาโคลแบนอยู่ทางตะวันออก เป็นเมืองที่พายุใหญ่ถล่มด้วยความเร็วประมาณ 300 กม./ชั่วโมง

.

ทะเลจีนใต้เป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งด้านอาณาเขตสูง ทั้งระหว่างญี่ปุ่น-จีน, ญี่ปุ่น-เกาหลี, จีน-กลุ่มอาเซียน (เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน ฯลฯ), ญี่ปุ่น-ไต้หวัน

พายุไฮ่ยันทำสถิติพายุความเร็วสูงสุดลูกหนึ่ง คือ วิ่งขึ้นฝั่งด้วยความเร็วประมาณ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง (คนตายประมาณ 10,000 คน) สูงกว่าพายุอื่นๆ เช่น นาร์กิส ขึ้นฝั่งเร็วประมาณ 200 กม./ชม. (คนตายประมาณ 120,000 คน)

.

ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการติดตาม-ประกาศข่าวพายุ-อพยพคนออกเร็ว จนทำให้ยอดคนตายจากพายุ ประมาณ 120,000 คน (10+ ปีก่อน) เหลือไม่เกิน 100-200 คน (ปี 2555-2556) และได้รับคำชมจากทั่วโลก คือ บังคลาเทศ + อินเดีย

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ถ้าฟิลิปปินส์ทำแบบอินเดีย-บังคลาเทศ น่าจะลดยอดคนตายได้มากกว่านี้อย่างน้อย 10-100 เท่า

.

ผู้เชี่ยวชาญประมาณการณ์ความเสียหายจากพายุถล่มฟิลิปปินส์รอบนี้ประมาณ 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ = ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท และจะทำความเสียหายประมาณ 4% GDP (รายได้จากบริการ+ผลผลิตประเทศทั้งหมดรวมกัน)

แน่นอนว่า ความเสียหายครั้งนี้ จะทำให้ดุลอำนาจในทะเลจีนใต้เปลี่ยนไปเล็กน้อย ทำให้ฟิลิปปินส์พัฒนากำลังรบได้น้อยลง และช้าลง (ยังมีสหรัฐฯ หนุนหลังอยู่ แต่จะอ่อนแอลง)

.

ประเทศที่รู้จักพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ให้ความช่วยเหลือทันที คือ สหรัฐฯ ช่วยทันที 600 ล้านบาทในขั้นแรก แล้วส่งเรือรบ 4 ลำ - เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ, ส่งคนเข้าไปหลายพันคน เป็นขวัญใจฟิลิปิโน (ชาวฟิลิปปินส์)

ญี่ปุ่นก็ระดมทุนในประเทศไปช่วย ซึ่งน่าจะทำให้ภาพพจน์อดีตจอมโหดยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ดูดีขึ้นได้มาก (ถ้าทำจริง ช่วยจริง)

.

รัฐบาลจีนบอก จะช่วย 1.5 ล้านบาท และให้ผ่านกาชาดอีก 1.5 ล้านบาท

ญี่ปุ่นบอกจะให้ 150 ล้านบาท ส่งทีมกู้ภัยไปช่วย ทั้งทหาร ทั้งทีมหมอ

.

ออสเตรเลียให้ 288 ล้านบาท

ศ.โจเซฟ เฉิง จากมหาวิทยาลับซิที ฮ่องกง กล่าวว่า จีนพลาดโอกาสในการแสดง "ภาวะผู้นำแห่งเอเชีย" ไปอย่างน่าเสียดาย

.

อาจารย์ท่านหนึ่งในไทย ให้ความเห็นไว้ดีมากๆ (นสพ.ข่าวหุ้น) คือ ประเทศที่มีของขลังที่เป็นพลังมากเป็นพิเศษตอนนี้ คือ พี่ไทย

เพราะพี่ (ไทย) มีข้าวเก็บไว้ในโกดังแยะ นำไปช่วยฟิลิปปินส์ ซึ่งธรรมดาก็ปลูกข้าวได้ไม่พอกิน ต้องนำเข้าทุกปี ได้แบบสบายๆ

.

ภัยพิบัติแบบฟิลิปปินส์ ทำให้เรารู้ว่า เมืองทาโคลแบน ตอนกลางฟิลิปปินส์ ต้องการอะไรด่วนหลังพายุ

(1). น้ำดื่ม

(2). ไฟฟ้า

(3). อาหาร โดยเฉพาะข้าว น้ำมันพืช เกลือ ถั่ว   

(4). ที่พัก เช่น เต๊นท์สนาม ฯลฯ

.

ตรงนี้ถ้ากองทัพเรือไทย เตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า เช่น เตรียมเรือที่มีเครื่องปั่นไฟ เครื่องทำน้ำสะอาดจากน้ำทะเล (หรือเครื่องกรองน้ำแบบทำได้มาก และเร็ว) 

ไทยจะมีโอกาสฝึกภาคสนามด้วย ช่วยกู้ภัยพิบัติ ทั้งใน-นอกประเทศด้วย สร้างมิตรภาพได้ทั่วอาเซียน

.

ประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ประเทศไทยช่วยพม่าค่อนข้างมาก ช่วยศรีลังกา(ตอนซึนามิ)ค่อนข้างน้อย

อาจเป็นเพราะเราอยู่ใกล้พม่า พึ่งพาอาศัยพม่ามาก ทั้งแก๊สธรรมชาติ แรงงาน การท่องเที่ยว และเมดิคัลทัวร์ (ตอนนี้ชาวพม่าที่มีฐานะดี เข้ามารักษาโรคในไทยมากเป็นอันดับ 2)

.

สมัยก่อนคนพม่าเกลียดคนอังกฤษกับญี่ปุ่นมาก (เป็นเมืองขึ้น)

ชาวญี่ปุ่นฉลาดทำ คือ ส่งรถใช้แล้วไปช่วยคลังเลือดพม่า ส่งอาสาสมัครไปช่วย ทำให้ได้ใจชาวพม่า

.

ท่านทูตอังกฤษท่านหนึ่ง ฉลาดทำ คือ บริจาคเลือดให้ชาวพม่า 1 ครั้ง

คนชมไปทั่วแผ่นดิน ทำให้ชาวพม่าหันมามองญี่ปุ่นกับอังกฤษในแง่ดี (มาก) แทบจะทันที

.

พายุถล่มฟิลิปปินส์เป็นโอกาสในการสร้างมิตรภาพสำคัญ

กราบเรียน เรียนเสนอรัฐบาลช่วย และขอให้ช่วยทั้งของ เช่น ข้าว ฯลฯ ทั้งแรง เช่น ส่งทีมไปช่วยทำน้ำดื่มสะอาดแจกทั่วเมือง ฯลฯ

.

ศักยภาพหนึ่งของประเทศในอนาคต คือ การเตรียมพร้อม - ป้องกัน - และรับมือกับภัยพิบัติ

นี่เป็นโอกาสทองของไทย... ประเทศที่มีข้าวในโกดังมาก และชาวฟิลิปปินส์ก็กำลังหิวพอดี

.

ประเทศไทยมีคุณครูชาวฟิลิปปินส์ เข้ามาสอนภาษาอังกฤษ เป็นพลังขับเคลื่อน ให้ไทย (พูดอังกฤษ) แข่งขันกับนานาชาติได้

ไม่ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหนเลย เป็นครูที่เข้ามาสอนเด็กไทยแท้ๆ

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

                                                                                                                                         

Thank Reuters > http://www.reuters.com/article/2013/11/12/us-china-philippines-aid-idUSBRE9AB0LM20131112

หมายเลขบันทึก: 553535เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2013 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2013 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท