การป้องกันอันตรายจากรังสีด้วยแผ่นบิทมัส


แผ่นบิทมัส เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีชนิดหนึ่ง ที่ผลิตขึ้นมาใช้ เพื่อช่วยลดปริมาณรังสีจากการตรวจ แต่อาจมีผลต่อคุณภาพของภาพที่ปรากฏได้

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ผู้ป่วย ด้วยการใช้แผ่นบิทมัส ในการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการวินิจฉัยต้องใช้ปริมาณรังสีในการตรวจในปริมาณที่มาก เนื่องจากมีฉายรังสีเอกซ์อย่างต่อเนื่องผ่านร่างกายผู้รับบริการ แล้วคอมพิวเตอร์จะสร้างออกมาเป็นภาพตัดขวางของอวัยวะที่ทำการตรวจ

ในการตรวจวินิจฉัยนั้น อวัยวะหลายๆส่วน เช่น ตา ต่อมไทรอยด์ เต้านม เป็นอวัยวะที่ไวต่อรังสี เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณรังสีที่อวัยวะดังกล่าวได้รับ โดยเฉพาะการตรวจวินิจฉัยในผู้รับบริการที่เป็นเด็ก ได้มีการนำแผ่นบิทมัส (bismuth shiled) มาวางคลุมเหนืออวัยวะต่างๆในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

 

 

ซึ่งมีการศึกษา วิจัย และนำมาใช้ในหลายๆหน่วยงาน

ข้อด้อยของการใช้แผ่นบิทมัสมาใช้งานประกอบการตรวจ คือ คุณภาพของภาพที่ปรากฏ อาจจะเกิดสัญญาณรบกวนและภาพรบกวน (noise and artifacts) มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้แผ่นบิทมัส

 

เอกสารเพิ่มเติม สามารถ download ได้นะครับ

Bismuth_shield.pdf 

หมายเลขบันทึก: 553383เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ ที่นำความรู้มาแบ่งปัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท