สื่อประสมเพื่อการศึกษา


MULTIMEDIA หรือสื่อประสมเพื่อการศึกษา

       

      ปัจจุบันการพัฒนาการศึกษาในสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่บวกและลบอันมีผลมาจากการเชื่อมโยงจากบริบทสังคมโลก ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการพัฒนาคนนั้นระบบการศึกษานั้นมีผลสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถตลอดจนคุณลักษณะต่างๆ ของคนที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง แนวคิดในการพัฒนาการศึกษาจึงจำเป็นต้องปรับเพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยการให้การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองในรูปแบบและวิธีการหลากหลาย โดยเน้นการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาการศึกษา ให้โอกาสผู้เรียนมีบทบาทในการพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

       เทคโนโลยีทางการศึกษา จึงมีส่วนในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องต่อการพัฒนาตัวเองให้มีประสิทธิภาพตามการพัฒนาการศึกษาในปัจจุบัน โดยที่เทคโนโลยีทางการศึกษา มีบทบาท ในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อออกแบบและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าจะยึดเนื้อหาวิชา

     

        โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ มี่ใช้ในการเรียนการสอนได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาตนเอง สื่อ (MEDIA) เป็นตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้เหตุการณ์แนวความคิด สถานการณ์ ฯลฯ ที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับสารสื่อการสอน (INSTRUCTION MEDIA) เป็นตัวกลางที่ช่วยนำ และถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้การเรียน การสอน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์มัลติมีเดียหรือสื่อประสม (MULTIMEDIA) เป็นการนำเอาตัวกลางหลายๆ ชนิดที่ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ มาสัมพันธ์กัน ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณค่าส่งเสริมซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ป้องกันการเข้าใจความหมายผิดเป็นการให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันสามารถตอบสนองจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนได้อย่างสมบูรณ์ การนำเสนอเนื้อหาของสื่อแต่ละชนิด เพื่อให้คำตอบที่ชัดเจนเป็นประโยชน์และน่าสนใจแก่ผู้เรียน องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบการจัดระบบสื่อประสมนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแต่การใช้เครื่องมือทางโสตทัศน์มากกว่า 2 ชนิด ขึ้นไปเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการประสานความสัมพันธ์ของสื่อที่ใช้ เพื่อใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและความสามารถ หรือศักยภาพของสื่อแต่ละชนิดนั้นให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ทำให้สื่อแต่ละชนิดที่ใช้นั้นอำนวยประโยชน์แก่กันและกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 553338เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท