บทวิพากษ์นวยิยาย เรื่อง "โทรทัศน์" ของซะห์นูน อะหมัด


ความย้อนแย้งระหว่างสิ่งที่เรียกว่า “ศาสนา” กับ “ความเป็นสมัยใหม่”

บทวิพากษ์นวยิยาย เรื่อง "โทรทัศน์" ของซะห์นูน อะหมัด

 

ดย เหมือนขวัญ เรณุมาศ

13/11/2013       

 

นวนิยายเรื่อง โทรทัศน์ เป็นนวนิยายสะท้อนปัญหาสังคมของมาเลเซีย โดยนักเขียนชาวมาเลเชียชื่อ ซะห์นูน อะหมัด เผยแพร่ครั้งแรกในปี 1995 และได้รับการแปลโดย อับดุล ราซัค พิมพ์เผยแพร่ฉบับภาษาไทยในปี 2552 โดยสำนักพิมพ์บ้านหนังสือ

         เมื่อพูดถึงนวนิยายเรื่องโทรทัศน์แล้ว หลายทัศนะมักจะบอกว่า โทรทัศน์ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงอารมณ์ความตกต่ำเสื่อมเสียทางด้านจริยธรรมและศีลธรรมของชาวมลายูมุสลิมที่กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นสมัยใหม่” ได้อย่างถึงแก่นและเห็นภาพมาก แต่ในอีกแง่หนึ่งที่ปรากฏในหนังสือโทรทัศน์และมักจะโดนมองข้ามไปคือ ประเด็นความย้อนแย้งระหว่างสิ่งที่เรียกว่า “ศาสนา” กับ “ความเป็นสมัยใหม่” ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้สะท้อนออกมาให้เห็นค่อนข้างชัดเจนจากพฤติกรรมที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปของตัวละครที่ชื่อว่า จะห์ ซึ่งเป็นตัวละครหลักของเรื่อง อาทิเช่น การตัดขาดจากการปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาอิสามของจะห์และมะอีซาห์ {พ่อ} การแต่งกายที่สละจากการปกปิดเรือนร่างมาสู่การแต่งกายที่เข้ากับยุคสมัยใหม่ นุ่งสั้น รัดกระชับหรือแม้แต่เสื้อที่โชว์บ้าง โป๊บ้าง การร่วมประหัตประหารกามอารมณ์ระหว่างจะห์กับผู้เป็นพ่อ ฯลฯ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของจะห์นั้นเกิดขึ้นนับตั้งแต่ที่จะห์ได้เข้ามาทำงานในโรงงานผลิตสกูร์ในตัวเมือง และเสพสื่อจาก "โทรทัศน์" บ่อยครั้งจนนำมาซึ่งการลอกเลียนแบบพฤติกรรม          

          ทั้งนี้ผู้เขียน คือ ซะห์นูน อะหมัดจงใจจะให้ "โทรทัศน์" เป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้ศีลธรรมและความดีตามศาสนาอิสลามของตัวละครในเรื่องต้องตกต่ำลง ตกต่ำชนิดว่า ผู้อ่านเองก็เผลอเอือมระอากับพฤติกรรมของตัวละครหลักอย่างรุนแรงก็ว่าได้ และแล้ว ในท้ายที่สุดนั้น ผู้เขียนจึงทำให้เรื่องราวจบสิ้นด้วยการให้ธรรมชาติลงโทษครอบครัวของจะห์ทั้งหมด ตัวละครหลักของเรื่องจึงต้องเสียชีวิตอย่างน่าอนาจใจ ซึ่งในแง่นี้สามารถสะท้อนได้สองแบบ (1) คือ ศาสนากับความเป็นสมัยใหม่ไม่สามารถเข้ากันได้ และ (2) คือ การละเลยศาสนาทั้งไม่ยึดมั่นในคำสอน (ศาสนาอิสลาม) และไม่ปฏิบัติศาสนกิจอย่างเป็นนิจ จะทำให้ชีวิตต้องพินาศ ซึ่งอย่างที่ 2 นี้ แน่นอนว่า คงไม่ถูกใจกลุ่มที่ลุ่มหลงในลัทธิเสรีนิยมนัก และอาจเป็นที่ถกเถียงต่างๆ นานา

        แต่จะว่าไปแล้วนวนิยายเรื่อง "โทรทัศน์" ก็เปรียบเสมือนนวนิยายที่สะท้อนทั้งปัญหาสังคมของมาเลเซียและเป็นทั้งนวนิยายที่เป็นคติสอนใจคนรุ่นใหม่ให้หันกลับมาใส่ใจคุณธรรม จริยธรรมให้มากขึ้น ซึ่งการเน้นในเรื่องการทรอกแทรกคติสอนใจตรงนี้ อาจเป็นทั้งเรื่องที่ดีและเป็นผลลบของนวนิยายเรื่อง "โทรทัศน์" ให้ขาดความบันเทิง คุณค่าด้านอื่นๆ และอาจไม่เป็นที่สนใจของเยาวชน

        แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ใครที่ยังไม่เคยอ่านนวนิยายเล่มนี้ หรือมีความสนใจ ทั้งอาจสนใจนักเขียน เรื่องราวหรืออะไรก็ตามที่อยู่ในเรื่อง "โทรทัศน์" ก็ขอแนะนำให้อ่าน เพราะถึงแม้บางทัศนะจะบอกกล่าวว่า นวนิยายเล่มนี้ไม่ต่างอะไรกับนวนิยายเชิงคุณธรรม คติสอนใจ บลาๆ ก็ตาม แต่จริงๆแล้ว นวนิยายเล่มนี้ถ้ามองในเชิง ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การแทรกซึมหรือผลของระบบทุนนิยม และความเป็นจารีตของชาวมลายูมุสลิมในประเทศมาเลเซีย ก็จะพบข้อมูลเหล่านี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว หนำซ้ำภาษาเขียน (ฉบับภาษาไทย) ก็ยังอ่านง่าย คมคายและมีความเป็นวาทศิลป์อยู่ไม่น้อยด้วย

 

 

หมายเลขบันทึก: 553312เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 03:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 03:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท