Self Musical Behavior พฤติกรรมดนตรีส่วนตน (1)


 Self Musical Behavior

       พฤติกรรมดนตรีส่วนตน

0.1 Self – Music

ดนตรีส่วนตัว

เป็นชั่วโมงของการเรียนวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ โดยมีหัวหน้าภาควิชา รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์อาลี พันธ์มณี  เป็นผู้เข้าสอนกระผม  ที่มหาวิทยาลัยเกษมบัน ฑิตเรื่อง พฤติกรรมการจูงใจผลสัมฤทธิ์และผลสัมพันธ์

ที่มา

โลกทางสุนทรียะนี้ กว้างใหญ่นัก ดังเช่นกลอนบทนั้นกล่าวไว้ว่า “แม้จับโลกมาทำปากกา แล้วเอานภามาแทนกระดาษ นำน้ำในมหาสมุทรมาแทนหมึกวาด หาประกาศความมีจินตนาการ ของมนุษย์ ไม่พอ” (คงใช่)

ท่านอดีตนายกสมาคมจิตวิทยารองอธิการบดีหัวหน้าฝ่ายวิชาการรองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ประสาน มาลากุล ณ อยุธยา ได้ลงชั่วโมงสอนกระผมและอธิบายพร้อมยกตัวอย่างคำว่า behavior r ด้วยอารมณ์ 5 ประการ – motive – temptation – และพาดพิงเจ้าสำนัก behavior ( )  เป็นระยะ...ระยะ..   ครับกระผมก็นำดนตรีแถมใส่ลงไป

 ดนตรี ส่วนตัวSelf – Music เป็นเพลงที่อยู่ในทัศนคติ ถือเป็นส่วนตัวอันพึงประสงค์ มาจากความชอบ โดนใจ ได้มาจาก Object แต่เมื่อผ่านกระบวนสรีระวิทยา Physiology in mind แล้ว เพลงนั้นย่อมเป็น Subject ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลไม่ครบเพลงก็ตาม

วัตถุประสงค์

0.1 เพื่อรู้จักดนตรีส่วนตัว Self – Music

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

0.1ได้รับรู้ความเป็นดนตรีส่วนตัว Self – Music

 

เนื้อหา 0.1 

พฤติกรรมดนตรีส่วนตนSelf Musical Behavior

 มนุษย์ ได้สร้างพฤติกรรมดนตรีในตนไว้ มีหลักฐานออกเป็นเพลงปรากฏจากการบันทึกโน้ต   Note song เพื่อได้รับรู้เล่าขานในสายการบันเทิงวิเคราะห์ จากส่วนนี้ถือเป็นพฤติกรรมภายนอก ในรูปการผลิต produc เป็นชนิดโสตทัศนวัศดุแล้ว เพื่อการอุปโภคเช่น เพลงแนวต่างๆที่ศิลปินเล่นบรรเลงออกแสดงให้ชมและเช่น เพลงใน CD VCD MP3 ในรูป Media จนถึง คาราโอเกะ การบันทึกดนตรีระบบ DVD เพลงประเภทนี้จัดอยู่ใน Object song เป็นนามธรรม ฝากคงรูปไว้ในวัศดุ

 

สังเกตุได้ด้วยมนุษย์ทุกชน รับรู้จากพยานการสร้างพฤติกรรมดนตรีนั้น ไม่ว่าจะเป็นการผลิตดนตรีกรรม จากนักศิลปินดนตรีท่านใดก็ดี  รับสิ่งนี้ได้ด้วยหูก็ดี และมนุษย์สามารถสร้างพฤติกรรมดนตรีภายในตนได้ Subject แล้วยังสันนิษฐานได้ด้วยความแน่ใจ กับไม่แน่ใจ เป็นด้วยพฤติกรรมซ้อนจากการคุมสติรับครองจริยะความขัดแย้งนี้ ด้วยกระบวนการอารมณ์ผสมกิเลส ชนิดเห็นพ้องต้องกัน ในการเห็นดีเห็นงามต่อการสร้างดนตรีนั้น

           

          Motive แรงจูงใจ ได้ส่งความคาดหมาย ซึ่งมีเป้าประสงค์รองรับทางนวตกรรมดนตรี Music innova เป็นพลังชนิดหนึ่ง ชนิดนี้มีแรงขับ Drive ผลักดันให้ก่อเกิดพฤติกรรมดนตรี Music Behavior ได้หลายอย่างวิธี กำหนดทิศทางตั้งเป้าหมายด้วยความพยายาม ซึ่งหมายถึงการดิ้นรนด้วยกระบวนการคาดหวัง

 

แรงจูงใจ Motive ได้หาทางในเรื่องสุนทรีที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่นี้ ให้เป็นสิ่งใหม่จากยังไม่เป็น เช่นกำลังสร้างจินตนาการดนตรีทางความคิดให้เป็นสิ่งที่เป็น กับเป็นไปได้ หรือควรจะเป็นพฤติกรรมแนวดนตรีในทางหนึ่ง สู่บรรลุเส้นทางแห่งความคาดหวังในสิ่งที่ต้องการทางสายนั้น Maintain ทำให้มีภาวะbeing ตื่นตัวต่ออาการ อันประสงค์

 

            Temptation สิ่งล่อใจ จิตวิทยาการดนตรีถือเป็นกระบวนการ ทำให้เกิดภาวะสุขด้านอารมณ์ดังกล่าว well - being เกิดเห็นดีเห็นด้วยในกวีบทนั้น เพราะเป็นศิลป์ประเภทกระบวนการ ด้วยวิธีโน้มน้าวแนะแนวชี้ กำหนดกวีบทดนตรีโดย ให้แรงจูงใจ Motive ละทิ้งสิ่งนั้นหันมาทำสิ่งนี้ ไปสั่งการพฤติกรรมดนตรีดังคาดหวังไว้ ได้จากความคิดรู้ภายใน จากตัวอย่าง Sample Motif ด้วยกระบวนการระลึกรู้  

 

 

กระบวนการจูงใจต่อศิลปการดนตรี จัดไว้มีสองประเภท

  1. กระบวนการจูงใจต่อศิลปการดนตรีในตน  Intrinsic motivation of music เป็นความต้องการสุนทรียะภาพดนตรีแห่งตน Subject Music เช่น เพลงฮิตที่ได้ติดเข้าไปในหูแล้ว เพลงแห่งความหลังครั้งอดีตเรื่อง เมื่อสองเราอันแสนหวานที่รับมาแล้ว เพลงโดนใจ   ดังคำกล่าวไว้ประโยคว่า “คนมีดนตรีอยู่ในหัวใจซะอย่าง”  

 

  1. กระบวนการจูงใจต่อศิลปการดนตรีนอกตน Extrinsic motivation of music เป็นความต้องการสุนทรียะภาพดนตรีนอกตน Object Music เช่นได้จากภาพประทับใจที่ได้เห็นคนรักนั่งฟังเพลงอยู่ใกล้เราอย่างมีความสุข โดยมีเพลงที่เขาชอบนั้นสนับสนุนอารมณ์เขาไว้ แล้วเราก็มีความสุขต่ออาการฟังเพลงของเขาด้วย โดยที่เรามิได้ชอบเพลงแนวนั้น ดั่งเช่น เรากำลังถ่ายภาพคนรักอยู่ แล้วถูกเพื่อนแอบถ่ายภาพเราอีกทอดหนึ่ง 

 

 

สรุปกระบวนการจูงใจต่อศิลปการดนตรี   

 Music Behavior Temptationสิ่งแฝงแทนและรับไว้ คือดนตรีแห่งภารดรภาพ Musicpictuer    หมายถึงเกิดอิทธิพลดนตรี เข้าสู่กระบวนการจูงใจต่อศิลปการดนตรีนอกตน Object Music กับหวนเข้าสู่กระบวนการจูงใจต่อศิลปการดนตรีในตน Subject Music รวมเป็นภาพเสียงรายด้าน ในความรู้สึก Emotional

      

 

เพลง

คือ ผลผลิตจากดนตรีโดยมีผู้ประพันธ์กำหนด มี 3 องค์ประกอบได้แก่คำร้อง Words ทำนองMelodies จังหวะ Rethumic Pattrun เป็นองค์ประกอบเข้าด้วยกันอย่างมีเจตนานำใช้ เพื่อประกอบกริยาการแสดงอย่างเช่น เพลงหน้าพาทย์ เพลงประเภณี พิธีกรรม ประกอบการศาสนา และเพื่อความคิดอย่างมีอารมณ์ในเหตุผลต่อจิตจินตนาการ จากต้นกำเนิดการใฝ่รู้ด้วยแรงจูงใจ ถึงระดับขั้นสูงเสมอพาหะยาน รับใช้ปัญญาญาณได้ กำหนดไว้ 5 ประเภทคือ  

 

  1. เพลงคาดได้จากผลสัมฤทธิ์ เป็นเพลงที่หวังผลสำเร็จในตน Self – Perfect คำร้องได้บอกความหมายถึงสิ่งดีมีประโยชน์ เพื่อนำใช้ร่วมเป็นประสบการณ์ สื่อการเรียนรักรู้ ย้ำเตือน  เสมือนบทเรียนแห่งการดำรงชีวิตเพื่ออนาคต นำตัวอย่างคำร้องชนิดคาดหวังผลสำเร็จในตน มาปฏิบัติกับทำนองอย่างเหมาะสม ดำรงฝากไว้กับตัว พร้อมกับจังหวะที่โอนอ่อนผ่อนใจ และหรือตามเจตนาอารมณ์ของผู้ประพันธ์เพลงเช่น

 

 

เริ่มรู้รัก

เริ่มจะรู้ความรักเป็นเช่นนี้ ความสุขในฤดีเหลือที่บรรยาย

นำรักมา พาให้เก้อเขินอาย แอบฟ้องใจแล้วใฝ่นิยม

สมในอารมณ์ จนเหลือข่มเหมือนมีพลัง สร้างใจ สุขสม

ทุกข์อื่นใดหายล่มแทรกจมพื้นดิน

เริ่มจะรู้ความรักเป็นเช่นนี้ ความสุขในฤดีมิมีใครหมิ่น

ความรักเอยเจ้าใช้ปีกสีนิล ท่องเคล้าบินเหิรถิ่นวิมาน

สมในฤทัย ปองฝันใฝ่หา ใดเทียมปาน

สู่แดน สำราญ ครองถิ่นทิพย์พิมานสวรรค์ในใจ

หมายเลขบันทึก: 551888เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2013 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2013 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เมื่อรู้ตัวว่ากำลังเดินอยู่ในแดนนรก.....เดินต่อไป...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท