บทสาขาที่ 2 เรื่องที่ 2.2 การประยุกต์ใช้ดนตรีร่วมสมัย music contempt application (ต่อ)


บทที่ 2. .ในเนื้อหา

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

 

แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยเพลงไทยสากลแนวสังคีตสัมพันธ์

 

ผู้ดำเนินการวิจัย ได้ค้นคว้าด้านแนวคิด ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวิจัย และตำราทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมแนวเพลงไทยสากล สังคีตสัมพันธ์ ของวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาดังเสนอต่อไปนี้   

 

ประวัติความเป็นมาของเพลงไทยสากล

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกหัดทหารตามแบบยุโรป ซึ่งมีการใช้ดนตรีบรรเลง ประกอบการฝึกทหาร โดยใช้ดนตรีประเภทแตรวง จากบันทึกของ เทาเซนต์ แฮรีส ทูตชาวอเมริกัน ที่เข้ามาเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2536 คนไทยเริ่มได้รับค่านิยมคุ้นกับแตรวงหรือแตรฝรั่งตั้งแต่นั้น จนในรัชสมัยรัชกาลที่ 5  (Jacop Feit คือบิดาของ พระเจนดุริยางค์) นักดนตรีชาวอเมริกัน    เชื้อสายเยอรมันเข้ามารับราชการเป็นครูแตรวงในพระราชสำนักของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สถาน              (วังหน้า) ปรับปรุงแตรวงทหารในปี พ.ศ. 2420 และในเวลาต่อมาได้รับการเรียกชื่อใหม่ว่า “วงโยธวาทิต”      (Military Band) 

 

 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ทรงเป็นผู้นำการแต่งทำนองเพลงตามมาตรฐานดนตรีสากลและในการประพันธ์เพลงสำหรับบรรเลงด้วยแตรวงโดยเฉพาะเพลง วอลซ์ปลื้มจิต ในปี พ.ศ. 2446 สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรกในประวัติศาสตร์ดนตรีของเมืองไทยเพลงต่าง ๆ เหล่านี้ทรงนิพนธ์โดยใช้โน้ตสากลและจังหวะแบบสากลเป็นค่านิยมจากชาวตะวันตก และจากพระปรีชาสามารถ ในการทรงประพันธ์เพลง    จึงทรงได้รับการยกย่องเป็น       “พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล”   ต่อมาละครร้องได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2451 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ซึ่งทรงดัดแปลงมาจากละครมาเลย์ที่เรียกกันว่า “มาเลย์โอเปร่า” หรือ “บังสาวัน” และทรงตั้งชื่อละครคณะใหม่นี้ว่า “ปรีดาลัย” ลักษณะของเพลงมีเนื้อร้องมากเอื้อนน้อยและให้ลูกคู่เป็นผู้เอื้อนแทนนักแสดง ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงนั้น จนในปี พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้วงดนตรีสากลในราชสำนักเรียกว่า “วงเครื่องสายฝรั่งหลวง” และโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนดนตรีทุกประเภทที่ชื่อ โรงเรียนพรานหลวง ที่สวนมิสกวัน นอกจากนั้นทรงโปรดให้สร้างร้านชื่อ “กาแฟนรสิงห์” บริเวณมุมถนนศรีอยุธยาลานพระราชวังดุสิต ให้ประชาชนพักผ่อน มีสถานที่ขายอาหาร และยังจัดบรรเลงดนตรี       วงดุริยางค์สากล และวงปี่พาทย์ให้ประชาชนฟังโดยใช้นักดนตรีราชการในทุกๆวันอาทิตย์ เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 น.จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ดนตรีตะวันตกเริ่มแพร่หลายเข้าสู่ประชาชนอย่างกว้างขวางตามลำดับ ทรงส่งเสริมให้มีการฝึกดนตรีสากลตะวันตกเกิดความนิยม ขึ้นในหมู่ข้าราชการบริพารและนักดนตรีไทย ซึ่งมีนักดนตรีที่เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องเช่น พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) และอีกบุคคลหนึ่งในวงเครื่องสายฝรั่งหลวง เป็นหัวหน้าวงกรมโฆษณาการคือเอื้อ สุนทรสนาน   ในฝ่ายเพลงไทยเพลงไทย

 

ในปี พ.ศ. 2470 จวงจันทร์ จันทร์คณา (พรานบูรพ์) ผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงของคณะละครศิลป์สำเริง ซึ่งเป็นคณะละครของแม่เลื่อนและ ประวัติ โคจริก มีแม่แก้วร่วม อีกทั้งเป็นผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงของคณะละครนครบันเทิง ของคณะละครของแม่บุญนาค และสมประสงค์ รัตน์ทัศนีย์ (เพชรรัตน์) แห่งคณะละครปราโมทย์นคร  ของคณะละครของแม่เสงี่ยม ได้พัฒนาเพลงประกอบละคร โดยการดัดแปลงจากเพลงไทยเดิมที่มีทำนองสองชั้น มาใส่เนื้อร้องแทนทำนองเอื้อน ใช้ดนตรีคลอฟังทันหูทันใจเป็นที่นิยมของประชาชน ซึ่งเรียกกันว่าเพลงเนื้อเต็มหรือเนื้อเฉพาะแต่ยังคงใช้ปี่พาทย์บรรเลงเหมือนเช่นเดิม

 

  เพลงไทยสากล ในสมัยของพรานบูรณ์ (2470-2472)ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงไทยในยุคนั้น พรานบูรณ์ได้แต่งเพลงลักษณะนี้อีกเป็นจำนวนมาก และในปี พ.ศ. 2474 พรานบูรณ์และเพชรรัตน์แห่งละครคณะศรีโอภาส ได้นำดนตรีสากล  ประเภทเพลงแจ๊ส (Jazz Band) หรือ หัสดนตรี เป็นส่วนประกอบละครเรื่อง “โรสิตา” และนำทำนองเพลง   “วอลซ์ปลื้มจิต” มาใส่เนื้อร้อง ได้รับความนิยมอย่างมาก มีการเผยแพร่บทเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ 7 พี.เจ. ที่ศาลาแดง และมีการบันทึกแผ่นเสียง โดยห้างนายต.เง็กชวนในปีเดียวกัน พรานบูรณ์ร่วมงานกับคณะละครจันทโรภาสก็โด่งดังถึงขั้นระดับสูงสุด ด้วยละครร้องเรื่อง”จันทร์เจ้าขา” เป็นเพลงแรก จากการกล่าวของครูจงรัก จันทร์คณาาผู้เป็นบุตร ซึ่งมีสถิติการนำออกแสดงถึง 49 ครั้ง ติดต่อกันแทบทุกโรงมหรสพที่มีในพระนครและธนบุรี โดยพรานบูรณ์แต่งเพลงไทยสากล มีลีลาทำนองอ่อนหวาน อาทิ เพลงจันทร์เจ้าขา จันทร์สวาท จันทร์ลอย จันทร์จากฟ้าจันทร์แฝงหมอก ขวัญเรียม ในช่วงนั้นบทเพลงประกอบละครร้อง เป็นที่นิยมแพร่หลายโดยทั่วไปตราบจนกระทั่งความนิยมละครร้องลดน้อยลงไป ในขณะที่ภาพยนตร์พูดเสียงในฟิล์ม เข้ามาได้รับความนิยมแทน ซึ่งมีบทขับร้องประกอบด้วย

 

ในสมัยรัชกาลที่ 7 ความนิยมในภาพยนตร์ตะวันตกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ มีการสร้างศาลาเฉลิมกรุงในปี พ.ศ. 2474 นายสกุล วสุวัต ซึ่งมี นายมานิต วสุวัต หลวงกลการเจนจิต  (เภา วสุวัต) นายกระเศียร วสุวัต และนายการะแส วสุวัต แห่งศรีกรุงภาพยนตร์ทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มหรือภาพยนตร์พูดได้เป็นครั้งแรกชื่อเรื่องว่า “หลงทาง” ดนตรีประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ดนตรีสากลบรรเลงเพลงไทยในยุคพ.ศ.2474 มีเนื้อร้อง ทำนองที่มีเอื้อนเพียงเล็กน้อย ซึ่งได้แก่เพลงพัดชา บัวบังใบ ในแนวนี้ เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์เรื่อง “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” โดยมี ขุนวิจิตรมาตรา กำกับการแสดงและเรือโทมานิต เสนะวีณิน ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อว่า    “เพลงกล้วยไม้” ซึ่งนับเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรก ในการแต่งทำนองตามหลักใช้โน้ตสากลในประวัติศาสตร์เพลงของเมืองไทย ขับร้องโดย องุ่น เครือพันธ์ และ มณี บุญจนานนท์ ขับร้องหน้าเวทีสลับการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่เรียกว่าเพลงไทยสากล น่าจะเพราะ เป็นเพลงไทยที่มีคำร้องภาษาไทยแต่มีท่วงทำนองวัฒนธรรมตะวันตกและใช้จังหวะสากล

 

ในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงกลาโหมสร้างภาพยนตร์ “เลือดทหารไทย” มีเพลงประกอบ 3 เพลงคือ “มาร์ชไตรรงค์” “ความรักในแม่น้ำเจ้าพระยา” และ “มาร์ชเลือดทหารไทย” ประพันธ์โดยเรือโทมานิต เสนะวีณิน และยังมีภาพยนตร์อีกหลายเรื่องที่ประพันธ์โดย เรือโทมานิต และขุนวิจิตรมาตรา เช่น ตะวันยอแสง จากเรื่อง“เลือดชาวนา” เพลงบวงสรวงจากเรื่อง “เมืองแม่หม้าย” หลังจากเรือโทมานิต เสนะวีณิน ถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ. 2479 ได้เกิดนักแต่งเพลงคนใหม่ คือครู นารถ ถาวรบุตร ได้มีเพลงเป็นที่นิยมมากมาย เช่น พลับพลึงไพร ชื่นชีวิต แสนอาลัย ใจสนองใจ เป็นต้น

 

ในปี พ.ศ. 2478 ทางราชการทหารบกได้แต่งเพลงขึ้นอีก 2 เพลง คือเพลงชาติ และเพลงเถลิงรัฐธรรมนูญ ยังมีเพลงที่สำคัญ เช่น เพลงรักเมืองไทยเพลงเลือดสุพรรณ  เพลงศึกถลาง เพลงแหลมทอง  ส่วนเพลงเพื่อกองทัพ เช่นเพลงสามทหารนั้น ได้รับความนิยมสูงมากจนถึงกับนำไปเป็นเพลงสัญลักษณ์ก่อนการฉายภาพยนตร์ และเมื่อสงครามระหว่างไทยกับอินโดจีนเกิดขึ้นเพลงปลุกใจก็มากขึ้น เช่นเพลงแนวรบแนวหลัง ทหารไทยแนวหน้า มณฑลบูรพา

 

ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้าง  “เพลงหวานใจ” โดยมีขุนวิจิตรมาตราเป็นผู้แต่งบทภาพยนตร์ คำร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และกำกับการแสดง นารถ ถาวรบุตร เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และในปีเดียวกัน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หัวหน้าวงดนตรีที่มีนักดนตรีอยู่ในวงเช่น เอื้อ สุนทรสนาน เวส สุนทรจามร สังเวียน แก้วทิพย์ จำปา  เล้มสำราญ คีติ คีการกร (บิลลี่) มีเพลงที่ได้รับความนิยมอย่าง “ลมหวล” และ “เพลิน” จากภาพยนตร์เรื่อง “แม่สื่อสาว”

 

ในปี พ.ศ. 2482 มีการจัดตั้งกรมโฆษณาการโดยมีนายวิลาศ โอสถานนท์ เป็นอธิบดีคนแรกและมีการตั้งวงดนตรีของกรมโฆษณาการ เพื่อบรรเลงเพลงส่งไปกระจายตามสถานีวิทยุตามสถานที่ต่าง ๆ โดยมี ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นหัวหน้าวง เวส สุนทรจามร เป็นผู้ช่วย นักร้องรุ่นแรก  ที่สำคัญ เช่น  ครูล้วน ควันธรรม   จุรี โมรากุล (มัณฑนา โมรากุล) รุจี อุทัยกร สุภาพ รัศมีทัต  ชวลี ช่วงวิทย์  โดยมีนักแต่งเพลงประจำวงที่สำคัญ คือครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูเวท สุนทรจามร ครูล้วน ควันธรรม และครูแก้ว อัจฉริยะกุล ร่วมกันแต่งเพลงออกมาจำนวนหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2482 เช่นกัน และต่อมาได้ตั้งวงดนตรี “สุนทราภรณ์” ขึ้น ลักษณะของวงดนตรีสุนทราภรณ์ เป็นแบบสากล  เป็นวง Big Band  การกำเนิดวงดนตรี สุนทราภรณ์ อย่างนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของค่านิยมเพลงไทยสากลในยุคปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 551546เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2013 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2013 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท